จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า "ตั๊กแตน" บุกไทย - ICPLADDA

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า “ตั๊กแตน” บุกไทย

7311 จำนวนผู้เข้าชม

 

ั๊กแตนปาทังก้า และ ตั๊กแตนทะเลทราย

แมลงร้ายที่ต้องเฝ้าระวังของเกษตรกรไท

 

 ตั๊กแตนปาทังก้า และ ตั๊กแตนทะเลทราย เป็นแมลงศัตรูพืชที่ทำให้ภาคการเกษตรของหลายๆประเทศ อยู่ในภาวะวิกฤต

 

ตั๊กแตนปาทังก้า 

ชื่อวิทยาศาสตร์                Patanga succincta  (Linnaeus) 
ชือสามัญภาษาไทย         :  ตั๊กแตนปาทังก้า 
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ    :  Bombay locust (บอมเบย์ตั๊กแตน)

 

ตั๊กแตนทะเลทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์                Schistocerca Gregaria
ชือสามัญภาษาไทย         :  ตั๊กแตนทะเลทราย 
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ    :  Desert Locust

 

 
 
                                                                                                 ภาพจาก https://sites.google.com/
 
วัฎจักรของชีวิตของตั้กแตน
ตั๊กแตนปาทังกา และตั๊กแตนทะเลทราย เป็นตั๊กแตนขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 6-8 ซม.โดย ตั๊กแตนปาทังก้า จะ  รูปหน้ายาว และส่วนของริมฝีปากบนใหญ่ ตาโตรูปไข่  ลักษณะเด่นชัด คือ ที่แก้มทั้ง 2 ข้าง มีแถบสีดำ พาดจากขอบตารวมด้านล่างถึงปาก  ส่วนอกตรงกลางจะคอดเข้าเล็กน้อย  ด้านข้างอกทั้ง 2 ด้าน มีแถบสีน้ำตาลดำ พาดเป็นทางยาว ต่อไปยังปีกหน้าจนถึงปลายปีก 1-2 แถบ  ด้านหลังมีแถบสีเหลืองอ่อน พาดจากส่วนหัวจนถึงปลายปีก    ปีกยาวคลุมปิดปลายปล้องท้อง   เมื่อกางปีกออก จะเห็นบริเวณโคนปีกคู่ที่ 2 เป็นสีชมพูอ่อน  ปีกและลำตัวมีสีน้ำตาลแดง  ขาเรียวยาว  ครีบหางลักษณะคล้ายกรวย  ตัวผู้เล็กเรียวกว่าตัวเมีย    ระยะเป็นตัวอ่อน  มีสีเขียว  สีเหลือง  แต่เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลเข้ม  
 
ส่วน ตั๊กแตนทะเลทราย  เป็นตั๊กแตนหนวดสั้นอยู่ในวงศ์ Arcrididae เมื่อออกจากไข่ใหม่ๆลำตัวจะมีสีเทา แต่เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มลำตัวจะเป็นสีเหลือง และเมื่อโตเต็มวัยจะมีลายจุดสีดำปรากฏอยู่บนสีเหลือง ตั๊กแตนทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ ตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายน  วางไข่ในดิน 1-3 ฝัก  1 ฝักมีไข่ 96-152 ฟอง  ไข่มีอายุ  35-41 วัน   ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน  ตัวอ่อนมีการลอกคราบ 7-8 ครั้ง ระยะตัวอ่อน 56-81 วัน  อายุตัวเต็มวัย 8-9 เดือน  ชั่วอายุขัย 1 รุ่นใน 1 ปี   พบทั่วไปในป่าต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปลูกพืชไร่ ในฤดูแล้งจะพักตัว (ธันวาคม-มีนาคม) และเกาะนิ่งตามหญ้า ไม่กินอาหาร เมื่อถึงเดือนเมษายนจะเริ่มผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ต่อไป 
 
ลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยกินผลและใบพืช กัดกินใบและผลทำให้ไม่ติดเมล็ด 
  
ืชอาศัย  
ข้าว, ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, มะพร้าว, อ้อย, ถั่วเหลือง, ส้ม ฯลฯ  
 
่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย  
ผล,ใบ 
 
การแพร่กระจาย  
พบในแหล่งปลูกพืชไร่ทั่วไป พบมีการระบาดทั่วประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506
 
ศัตรูธรรมชาติ 
เชื้อรา (Entomophaga grylli), เชื้อรา (Metarhizium anisopliae), เชื้อราขาว (Beauveria bassiana), แตนเบียน (Scelio hieroglyphi,Scelio facialis), ตัวห้ำ (Epicauta maclini,Epicauta waterhousei, Mylabris phalerata,Sphex viduatus)
 
วิธีการควบคุม 
ใช้วิธีกล ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ ใช้สารเคมีกำจัดแมลงในฤดูแล้ง และควรงดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงในช่วงฤดูเพาะปลูก 
 

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ 

 

เกรค 5 เอสซี 

 

 
เป็นสารกลุ่ม  Phenylpyrazoles (Fiproles) ประเภทดูดซึมจากล่างขึ้นบน ออกฤทธิ์ทั้งแบบกินตาย ถูกตัวตาย สารจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้ทำงานมากกว่าปกติจนแมลงเกิดอาการชักและตายในที่สุด 

 

อัตราการใช้
20 -30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรหรืออัตรา 80 – 120 ซีซีต่อไร่ พ่นเมื่อพบการระบาด

 

 

ข้อมูลจาก : http://ippc.acfs.go.th/pest/G001/T011/INS260 

               สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว 

 

มีข่าวว่า “ตั๊กแตนทะเลทราย” จะไม่มาไทย

 

ที่มา : คอลัมน์ หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 )
 
เกษตรกรไทยน่าจะโล่งอกไปได้ ฝูงตั๊กแตนทะเลทราย ศัตรูพืชร้ายแรงระดับโลก น่าจะไม่สามารถบินมาถึงประเทศไทย เพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ จากการที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เฝ้าจับตาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ตั๊กแตนทะเลทรายแพร่พันธุ์ได้เร็ว และเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตรใน 13 ประเทศ ตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกมาถึงทวีปเอเชีย ล่าสุดกำลังระบาดในภูมิภาคตะวันตกของอินเดีย จนเป็นที่หวั่นเกรงว่า อาจจะบินมาถึงประเทศไทยได้เหมือนหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด
 
กรมวิชาการเกษตรได้รับคำยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญด้านตั๊กแตนทะเลทรายของ FAO  ได้รับคำยืนยัน…โอกาสที่ตั๊กแตนจะแพร่ระบาดเข้ามาถึงไทยมีน้อยมาก เนื่องจากสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของบ้านเราไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการตั้งรกรากของตั๊กแตนที่ชอบสภาพอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย อีกทั้งกระแสลมตะวันออกจะพัดพาตั๊กแตนให้บินกลับไปทิศตะวันตกมากกว่าจะมาทางประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า