5800 จำนวนผู้เข้าชม
เกษตรกรหลายๆท่านรู้อยู่แล้วว่า ผึ้ง มีผลต่อการผสมเกสรของพืชหลายๆชนิด เช่น แตงกวา แตงร้าน ฟักทอง มะม่วง ลำไย มะพร้าว และอีกมากมาย ยิ่งถ้าพื้นที่ไหนมีผึ้งเยอะ ก็จะสังเกตได้ว่า พืชพันธุ์จะสมบูรณ์ รูปทรงผลผลิตสวย ได้ขนาด และผลผลิตจะมีมากกว่าพื้นที่ที่มีผึ้งน้อย หรือไม่มีเลย
แล้ว “ผึ้ง” มีความสำคัญอย่างไร
• ช่วยผสมเกสรให้พืชหลายๆชนิด ทำให้ติดดอก ออกผลได้ตามปกติ
• ตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของพื้นที่ และปลอดภัยจากการใช้สารเคมี
• ผลิตเกสรผึ้ง และน้ำผึ้ง เพื่อให้คนได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
แล้วหาก “ผึ้ง” หายไป จะเกิดอะไรขึ้น!
• พืชหลายๆชนิดขยายพันธุ์ได้ยากขึ้น
• การติดดอก ออกผลของพืชจะลดลง
• น้ำผึ้งที่มีสารอาหารมากมาย ก็จะหาได้น้อยลง
หากพืชที่เราปลูกไม่มี “ผึ้ง” จะมีวิธีการอะไรให้ “ผึ้ง” กลับมา
• ผสมเกสรโดยใช้คน เช่น การปลูกเมล่อนในโรงเรือนปิด
• ปัดเกสรให้ตัวผู้ตัวเมียผสมกัน เช่น ในทุเรียน
• เลี้ยงผึ้งหรือชันโรงเองในแปลง เช่น การปลูกมะม่วงในเขต อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบฯ มีการเลี้ยงชันโรง เพื่อช่วยผสมเกสรของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นต้น
• ใช้สารล่อฟีโรโมนของผึ้ง และสร้างรังเทียมให้ผึ้งเข้ามาอยู่อาศัย
• งดการใช้สารเคมีในช่วงดอกบาน หรือบริเวณรอบๆ แปลงปลูกพืช
• อ่านฉลาก และคำแนะนำจากผู้จำหน่ายสารเคมีอย่างเครงคัด
คำถามแล้วกลุ่มสารเคมีชนิดไหนบ้างที่ส่งผลกับ “ผึ้ง” สูง
• กลุ่มนิโอนิโคลตินอยด์ เช่น อิมิดาโคลพริด อะเซทามิพริด ไทอะมีโทแซม ไดโนทีฟูแรน เป็นต้น เนื่องจากสารในกลุ่มนี้เป็นสารดูดซึม ตกค้างในละอองเกสร และดอกนาน ทำให้ผึ้งตาย หรือส่งผลต่อระบบประสาททำให้กลับรังไม่ได้และตายในที่สุด
• กลุ่มอะเวอร์เมกติน เช่น อะบาเมกติน ไอเวอร์เมกติน อีมาเมกตินเบนโซเอท เป็นต้น
• และสารกลุ่มอื่นๆ เช่น อะซีเฟต คาร์โบซัลแฟน คาร์บาริล โอเมทโทเอต ไดเมทโทเอต โพรฟีโนฟอส ไตรอะโซฟอส ฟีโปรนิล เบนฟูราคาร์ป ไบเฟนทริน ไซเปอร์เมทริน แลมป์ดา-ไซฮาโลทริน สไปเนโทแรม สไปโนแสด เป็นต้น
รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืม “ผึ้ง” นะ
ข้อแนะนำสำหรับการใช้สารเคมีให้ถูกต้อง
• การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชทุกครั้งต้องอ่านฉลากให้ละเอียด
• ควรดูฉลากด้วยว่าสารกำจัดศัตรูพืชมีผลต่อผึ้งหรือไม่ ถ้ามีควรเลือกช่วงใช้ให้เหมาะสม
• ควรใส่หน้ากากและถุงมือทุกครั้งในขณะผสมและใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัย