มารู้จัก “หนอนห่อใบข้าว” ที่ข้าวทุกแปลงต้องเจอ - ICPLADDA

มารู้จัก “หนอนห่อใบข้าว” ที่ข้าวทุกแปลงต้องเจอ

6821 จำนวนผู้เข้าชม

หนอนห่อใบข้าว
หนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder)
   ในช่วงข้าวระยะแตกกอ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนห่อใบข้าว หรือหนอนม้วนใบข้าว ที่พบระบาดมากในช่วงฤดูฝน หรือในแปลงนาที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหรือปุ๋ยยูเรียมากเกินไป พบมากในนาเขตชลประทาน สังเกตการเข้าทำลายได้จากใบข้าวเป็นรอยสีขาวเป็นทางยาว ใบข้าวแต่ละใบอาจพบรอยกัดกินหลายรอย ใบที่ถูกทำลายเสียหายมากจะแห้งตายต้นข้าวเหี่ยวฟุบ ในแปลงที่ถูกเข้าทำลายมากข้าวจะชะงักการเจริญเติบโต ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง
18-2-64 หนอนห่อใบข้าว-02
   หนอนห่อใบข้าว Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสีน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น  ระยะดักแด้ 4-8 วัน ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนบนต้นข้าวและวัชพืชตระกูลหญ้าในเวลากลางวัน
หนอนห่อใบข้าวทำลายใบข้าว
การป้องกันกำจัด
 1.ไม่หว่านข้าวหนาแน่นจนเกินไป รวมทั้งระมัดระวังการใช้ปุ๋ยยูเรียหรือสูตร
 2.ทำการกำจัดวัชพืชที่เป็นที่อาศัยของหนอนห่อใบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง หญ้าไซ หญ้าชันกาด และข้าวป่า
 3.การใช้ป้องกันกำจัดแมลงแมลงประเภทดูดซึม เช่น ฟิโปรนิล หรือคาร์โบซัลแฟน เป็นต้น
อ้างอิง : http://www.ricethailand.go.th/Rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=50.htm
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า