สารชีวภัณฑ์ คืออะไร ??? - ICPLADDA

สารชีวภัณฑ์ คืออะไร ???

31572 จำนวนผู้เข้าชม

      ในยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และความปลอดภัยจากอาหารจึงเป็น 1 ในทางเลือกที่ผู้บริโภคมีความต้องการเป็นอันดับต้นๆ จะเห็นได้จาก พืช ผัก ผลไม้ ถ้ามีการโฆษณาหรือบรรจุภัณฑ์ที่บ่งบอกชัดเจนว่ามีวิธีการปลูกแบบอินทรีย์ ออร์แกนิก จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นพิเศษ

เมื่อเทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง เกษตรกรจึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรโดยไม่พึ่งพาสารเคมีมากขึ้น เน้นใช้ สารชีวินทรีย์ (สารชีวภัณฑ์)  ฯลฯ ในการควบคุมศัตรูพืช

หลายคนสงสัยสารชีวภัณฑ์คืออะไร ??? 

สารชีวภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ผลิตหรือพัฒนามาจากสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ แต่ไม่นับรวมสารที่สกัดหรือแยกได้จากสิ่งมีชีวิตที่เป็นสารเคมีเชิงเดี่ยว เช่น ไพรีทรอยด์ นิโคติน อะบาเม็กติน ฯลฯ

 ประโยชน์ของสารชีวภัณฑ์

1.สารชีวภัณฑ์มีความปลอดภัยสูงต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารพิษตกค้าง
2.มีความเฉพาะเจาะจงต่อศัตรูพืช
3.สารชีวภัณฑ์บางชนิดอยู่ได้คงทนในสภาพแวดล้อม
4.ใช้กับไร่นาด้วยวิธีการเดียวกันกับสารเคมี     

 

สารชีวภัณฑ์มีข้อจำกัดในการใช้นะรู้ยัง !!!

ข้อจำกัดในการใช้สารชีวภัณฑ์นั้น ผู้ใช้ควรรู้ไว้เลยว่าสารชีวภัณฑ์ไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวางเท่าสารเคมี เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความจำเพาะต่อชนิดของโรคและแมลง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเฉพาะอย่าง ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์จึงสามารถกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดเท่านั้น และมีปัจจัยด้านอื่นๆ อีกมากที่มีผลต่อการใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคนิคในการใช้ ระยะเวลาที่ใช้ อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น แสงแดด และการเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์หรือสารชีวภัณฑ์แต่ละชนิด

  คำถามต่อมาเมื่อสารชีวภัณฑ์มีความปลอดภัยสูงขนาดนี้ แล้วเรายังจะใช้สารเคมีได้อีกหรือไม่  ??? 

มอง 2 มุม สารเคมีถ้าใช้อย่างถูกวิธี ข้อดีก็มีเยอะ  

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและความสวยงามของสินค้า ผลผลิตทางการเกษตรที่ออกมาต้องมีความสวยงามและมีสภาพดี ดังนั้นเกษตรกรจึงใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดความเสียหายจากโรคพืชและแมลง  อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางเกษตรอีกด้วย

สารเคมีกำจัดวัชพืชถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางการเกษตร เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องความเสียหายจากศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะคุณภาพและความสวยงามของสินค้า ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และถ้ามองอีกแง่มุมหนึ่ง ผัก ผลไม้ ที่ผู้บริโภครับประทานเข้าไปก็ปราศจากเชื้อโรคและแมลง เพราะถูกกำจัดด้วยสารเคมี แต่ก่อนที่จะรับประทานเข้าไปต้องทำความสะอาดตามคำแนะนำอย่างถูกวิธี เพื่อให้ พืช ผัก ปราศจากสารเคมี และยังป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และเกิดการสะสมในระยะยาว 

สำหรับเกษตรกรเมื่อต้องมีการใช้สารเคมี ควรอ่านฉลากให้เข้าใจอย่างละเอียดถูกต้องก่อนใช้ และปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

 

แล้วสารชีวภัณฑ์ของ ไอ ซี พี ลัดดา ล่ะ มีอะไรบ้าง ??? มาดูกันเลย

 

เป็นสารกลุ่ม Bacterium ออกฤทธิ์ในการควบคุมทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย โดยสามารถเข้าทำลายโดยตรงทั้งยังสามารถสร้างสารปฎิชีวนะได้หลายชนิด และสามารถแก่งแย่งธาตุอาหารได้ดีกว่าจุลินทรีย์อื่นๆ ในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลน และสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนโดยการสร้างสปอร์และทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นได้ดี สามารถผลิตสารพวก Toxic metabolite ที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้กระตุ้นการเกิดความต้านทานของพืชต่อเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ทำลาย

    ใช้ป้องกำจัด โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight) ในนาข้าว สาเหตุจากเชื้อรา Rhizotonia soloani Kuhn (Donk) และโรคขอบใบแห้ง

สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย

 

 

 

 เป็นสารกลุ่ม Bacterium สายพันธุ์ ไอซาวาย ออกฤทธิ์ทำลายระบบกระเพาะอาหารของหนอน ทำให้หยุดการกินและตายในที่สุด หนอนจะหยุดกินหลังรับสาร 1 วันและตาย ภายใน 2-3 วัน

    ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในผักคะน้า 

 

เป็นสารกลุ่ม Bacterium สายพันธุ์ ไอซาวาย ออกฤทธิ์ทำลายระบบกระเพาะอาหารของหนอน ทำให้หยุดการกินและตายในที่สุด หนอนจะหยุดกินหลังรับสาร 1 วันและตาย ภายใน 2-3 วัน 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า