เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown planthopper) ในข้าว - ICPLADDA

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown planthopper) ในข้าว

11505 จำนวนผู้เข้าชม

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
   ในปัจจุบันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown planthopper: Nilaparvata lugens) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศไทย การระบาดแมลงนี้ทำความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับต้นข้าว โดยทางตรงแมลงตัวแก่และตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว เมื่อแมลงจำนวนมากดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวทำจะทำให้ข้าวแสดงอาการใบเหลืองแห้งมีลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่าอาการ “ hopper burn” ถ้ารุนแรงมากจะทำให้ข้าวแห้งตายทั้งกอ แต่ถ้าไม่รุนแรงมากในระยะต่อมาจะปรากฏความเสียหายทางอ้อม โดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะของโรคไวรัสข้าว คือ โรคใบหงิก (rice ragged stunt) หรือที่ชาวนาเรียกว่าว่า “ โรคจู๋” เมื่อข้าวเป็นโรคจู๋จะทำให้ข้าวมีอาการเตี้ยแคระแกรน และไม่ออกรวง ถึงแม้ออกรวง รวงจะหดสั้น ใบธงจะมีลักษณะบิดม้วนงอ และรวงลีบ
เพลี้ยกระโดด-02
     เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลวางไข่ที่บริเวณเส้นกลางใบหรือกลางกาบใบ ไข่จะวางเป็นกลุ่มเรียงกันเป็นแถวในลักษณะเป็นแนวตั้งฉากกับกาบใบ การวางไข่ทำให้กาบใบเป็นรอยช้ำสีน้ำตาล มองเห็นได้ชัด ระยะไข่ใช้เวลา 7 วันจะฟักเป็นตัวอ่อนและผ่านการลอกคราบ 5 ครั้ง เป็นเวลา 16 วันก็จะเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเพศเมียมีชีวิตอยู่ได้ 15 วันเพศผู้ 13 วัน ตัวเมียวางไข่เฉลี่ย 48 ฟองต่อตัว การเพิ่มปริมาณของแมลงในนาข้าวจะมีปริมาณสูงสุดในชั่วอายุขัย (generation) ที่ 2-3 ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมปริมาณจะเพิ่มขึ้นตามอายุข้าวจากระยะกล้าถึงระยะออกรวง ระยะตั้งท้องและออกรวงมักเป็นระยะที่พบประชากรแมลงสูงที่สุด และอาการใบไหม้มักจะพบในระยะนี้
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
การแพร่ระบาด
       พบระบาดทั่วไปในแถบที่มีการปลูกข้าวในประเทศไทยพบทั่วประเทศ พบทำความเสียหายพบมากในภาคกลาง โดยการระบาดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งนาปีและนาปรัง
พืชอาหาร
        ข้าว ข้าวป่า หญ้าต่าง ๆ
การป้องกันกำจัด
  1. ไม่ควรปลูกข้าวหลายๆรุ่นติดต่อกันในแปลงนา ควรพักนาให้ว่างเปล่าเป็นระยะเวลาพอสมควรเพื่อตัดชีพจักรของแมลง หรืออาจปลูกพืชอื่นสลับกับข้าวแทนที่จะทำนาตลอดปี
  2. ในระยะต้นฤดูอาจใช้กับดักแสงไฟ ดักแมลงแล้วจับแมลงที่มาเล่นไฟทำลายทิ้งเสียวิธีนี้ควรทำโดยความร่วมมือจากชาวนาในละแวกใกล้เคียงทำโดยพร้อมเพรียงกัน
  3. หมั่นตรวจดูนาเสมอ ถ้าพบแมลงระบาดในระยะกล้าและเคยเป็นพื้นที่มีโรคใบหงิกระบาดมาก่อน ควรพ่นสารกำจัดแมลงทันที ควรกำจัดแมลงตามความมากน้อยของแมลงที่เกิด  โดยปกติควรพ่นสารกำจัดแมลงเมื่อพบแมลงเฉลี่ย 1 ตัวต่อต้น หรือ 5 – 10 ตัวต่อกอ ในระยะ 50 วันหลังจากปักดำ หลังจากนี้แล้วควรพ่นเมื่อมีแมลงประมาณ 10-20 ตัวต่อกอ
  4. งดการใช้ปุ๋ยยูเรีย เมื่อแมลงระบาด
  5. ไม่หว่านข้าวแน่นเกินไป ใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราที่แนะนำ คือ 10-15 กิโลกรัม/ไร่
  6. ไม่ขังน้ำในแปลงนาตลอดเวลา ควรปล่อยให้มีระดับน้ำพอทำให้ดินเปียกชื้น เพื่อให้สภาพนิเวศในแปลงนาไม่เหมาะสมต่อการขยายประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และยังทำให้มดสามารถขึ้นมากัดกินตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อีกทางหนึ่ง
  7. ในระยะก่อนข้าวตั้งท้อง เมื่อตรวจพบตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วัยที่ 1-2 จำนวนมากกว่า 1 ตัวต่อต้น ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น บูโพรเฟซิล หรืออีโทเฟนพรอกช์ หรือไอโซโปรคาร์บ
  8. ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวงเมื่อตรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ หรือ 1 ตัวต่อต้น และไม่พบมวนเขียวดูดไข่หรือพบน้อยมาก ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ไดโนทีฟูเรน หรือไพมิโทรซีน โดยใช้อัตราตามคำแนะนำที่ระบุในฉลาก
เพลี้ยกระโดด-04
อ้างอิงข้อมูล  https://www.ryt9.com/s/prg/3042302
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า