14976 จำนวนผู้เข้าชม
เกษตรกรหลายๆท่านคงเคยได้ใช้คำพูดนี้กับเวลาที่ไปซื้อสารกำจัดแมลงตามร้านจำหน่ายสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ ยาคุมไข่ ให้มากขึ้นกันครับ
ความเข้าใจของเกษตรกรคิดว่า คุมไข่ ก่อนที่จะเกิดเป็นตัวเต็มวัยไม่ว่าจะเป็นหนอนหรือแมลงปากดูดก็ย่อมดีกว่ามาฆ่าในช่วงตัวเต็มวัยซึ่งอาจจะต้องใช้ยาที่แรง และแพงขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตัวอ่อน กำจัด ง่ายกว่า ตัวแก่ นั่นเอง
ยาคุมไข่ ตามเอกสารวิชาการแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1.ใช้กับหนอนผีเสื้อ
2.ใช้กับแมลงปากดูด
3.สารคุมไข่ไร
ที่นี้ก็ดูว่าในพืชที่เราปลูกพบปัญหาแมลงศัตรูพืชตัวไหน
สารที่ใช้กำจัดก็จะมี 2 กลุ่ม (ที่รู้จักกันดี) คือ
1.กลุ่ม 15 ยับยั้งการสร้างไคติน ชนิด 0 เช่น สารลูเฟนนูรอน สารโนวานูรอน
2.กลุ่ม 16 ขัดขวางการทำงานของฮอร์โมน เช่น สารเมทอกซีฟีโนไซด์ และสารสไปนีโทแรม
สารที่ใช้กำจัดก็จะมี 3 กลุ่ม (ที่รู้จักกันดี) คือ
1.กลุ่ม 15 ยับยั้งการสร้างไคติน ชนิด 0 เช่น สารโลวารูรอน
2.กลุ่ม 16 ยับยั้งการสร้างไคติน ชนิด 1 เช่น สารบูโพรเฟซิน
3.กลุ่ม 23 ยับยั้งการสังเคราะห์ไขมัน เช่น สารสไปโรมิซิเฟน
สารที่ใช้กำจัดก็จะมี 3 กลุ่ม (ที่รู้จักกันดี) คือ
1.กลุ่ม 10 ยับยั้งการเจริญเติบโตของไร เช่น สารเฮกซี่ไทอะซอก
2.กลุ่ม 23 ยับยั้งการสังเคราะห์ไขมัน เช่น สารสไปโรมิซิเฟน
“ยาคุมไข่” ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแมลงศัตรูพืช เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการกำจัดมากที่สุด และหากต้องการปรึกษาเรื่องการใช้สารกำจัดศัตรูพืช หรือการเลือกใช้สารเคมี สามารถแอดไลน์@icpgroup ได้เลยครับ ยินดีตอบทุกคำถาม
อ้างอิงจากบทความ
อาจารย์สุเทพ สหายา
เพจควายดำทำเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
โรคกาบใบแห้งของข้าว
โรคกาบใบแห้ง (sheath blight disease) เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งในข้าว โรคนี้จะระบาด…
-
อาการเมาตอซังของข้าว
อาการเมาตอซัง เกิดจากการย่อยสลายของตอซังที่ไม่สมบูรณ์เมื่อทำการปลูกข้าวลงไปในพื้…
-
เตือนภัยเกษตรกร
เตือนภัยเกษตรกรเฝ้าระวัง โรคไหม้ระบาดในนาข้าว
-
โรคใบขีดสีน้ำตาล
โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot Disease) เป็นโรคข้าวที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ป…