โรคไส้กลวงของพืชตระกูลกะหล่ำ (Black heart of crucifer) - ICPLADDA

โรคไส้กลวงของพืชตระกูลกะหล่ำ (Black heart of crucifer)

1182 จำนวนผู้เข้าชม

โรคไส้กลวงในกะหล่ำ
โรคไส้กลวงหรืออาการไส้กลวงที่พบในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  หรือ บล็อกโคลี่ เป็นต้น โดยที่พบและสังเกตุเห็นได้บ่อยๆ คือ บล็อกโคลี่  มีสาเหตุเกิดจากการขาดธาตุโบรอน  ซึ่งเป็นธาตุอาหารพืชมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ทำให้เซลล์มีความแข็งแรง การขาดธาตุโบรอนจะพบในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพืชตระกูลกะหล่ำอย่างต่อเนื่อง ในสภาพดินที่เป็นด่าง หรือการให้ธาตุไนโตรเจนสูงเกินไป เป็นต้น
อาการโรคไส้กลวง
ลักษณะอาการของโรค
   อาการของโรคไส้กลวงจะทำให้ภายในลำต้นของพืชตระกูลกะหล่ำเจริญเติบโตไม่เต็มที่  เนื้อเยื่อกลางลำต้นเกิดการแตกหัก  เปราะง่าย  เซลล์พืชตาย  (necrosis)  ทำให้เกิดเป็นช่องกลวงขึ้น  ถ้าเป็นมากใบจะเหลือง  ยอดบิดเบี้ยว  และแห้งตายไปในที่สุด  เมื่อเกิดอาการไส้กลวงเราอาจจะพบเชื้อแบคทีเรีย เช่น  Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum สาเหตุโรคเน่าเละ  (soft rot)  หรือ  Xanthomonas campestris  สาเหตุโรคเน่าดำ  (black rot)  เข้าทำลายซ้ำเติมได้
อาการของโรคไส้กลวงกะหล่ำ
การป้องกันแก้ไข
  1. การปรับสภาพของดินที่เพาะปลูกให้เป็นกลางด้วยปูนขาวหรือดินมาร์ล
  2. การให้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอน  ในอัตราตั้งแต่ 0.2 ถึง 2.5 กิโลกรัมต่อเนื้อที่หนึ่งไร่  
          ก่อนทำการปลูกพืช  ทั้งนี้อัตราที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและสภาพดินเป็นหลัก
  1. การใช้น้ำประสานทอง  (บอแรกซ์)  พ่นหลังจากพืชที่ปลูกเริ่มงอกแล้ว
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า