โรคไหม้ (Blast Disease) - ICPLADDA

โรคไหม้ (Blast Disease)

8431 จำนวนผู้เข้าชม

โรคไหม้ (Blast Disease)-01 (1)
   โรคไหม้เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae ซึ่งสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว โรคไหม้จะเกิดขึ้น และแพร่ระบาดได้รุนแรง ถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ได้แก่ 
-ใช้พันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรค เช่น ขาวดอกมะลิ 105 หนียวสันป่าตอง กข6 และ กข 23 เป็นต้น
– สภาพแวดล้อมมีความชื้นค่อนข้างสูง มีเมฆปกคลุมเป็น ระยะเวลายาวนานติดต่อกันหลายวัน 
– มีฝนตกปรอยๆ เป็นประจำ ใบข้าวเปียกนานมากกว่า 10 ชม. อุณหภูมิกลางคืนค่อนข้างเย็น (20-30o ซ.)
– มีการหว่านปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียในอัตราสูง เช่น ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
-ใช้เมล็ดพันธุ์อัตราสูง เช่น 30 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยอัตราสูง 60-80 กิโลกรัม/ต่อไร่
โรคใบไหม้ในข้าว
โรคไหม้ (Blast Disease)-04
ลักษณะอาการ
    ระยะกล้า ที่ใบมีแผลจุดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล มีขนาดแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและพันธุ์ข้าว ความกว้างระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 15-20 มิลลิเมตร แผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบ ในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้ง และฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)
    ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบและข้อต่อของลำต้น ขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ ที่บริเวณข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ
   ระยะคอรวง เมื่อข้าวถูกเชื้อรานี้เข้าทำลาย จะทำให้คอรวงเสียหายเมล็ดลีบหมด แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
ในปัจจุบันในแหล่งที่มีการทำนามากกว่าปีละครั้งจะพบโรคนี้แพร่ระบาดเป็นประจำ โดยเฉพาะในแหลงที่ปลูกข้าวหนาแน่น อับลม ใส่ปุ๋ยอัตราสูง และมีสภาพร้อนในตอนกลางวัน อากาศชื้นในตอนกลางคืน
โรคไหม้ (Blast Disease)-05
โรคไหม้ (Blast Disease)-06
การป้องกันกำจัด
– เกษตรกรไม่ควรตกกล้าหรือหว่านข้าวหนาแน่นเกินไป อัตราที่เหมาะสมคือ 15 กก./ไร่  ในแปลงกล้าควรแบ่งแปลงย่อยให้มีพื้นที่พอเหมาะที่จะเข้าไปทำงานได้อย่างทั่วถึงและมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
-หมั่นตรวจดูแปลงเป็นประจำ  โดยเฉพาะแปลงที่มีประวัติการระบาดมาก่อน  ถ้าเกษตรกรพบโรคไหม้ในระยะแรกจำนวนไม่มากสามารถกำจัดโดยตัดใบหรือถอนต้นเป็นโรคออกจากแปลง
-การคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนนำไปเพาะปลูก เช่น คาซูกามัยซิน  ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม  โพรคลอราซ  ตามอัตราที่แนะนำ
-ถ้าเกษตรกรพบโรคไหม้ระบาด ให้ทำการฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกามัยซิน คาร์เบนดาซิม   อีดิเฟนฟอส  ไตรไซคลาโซล  ไอโซโพรไทโอเลน ตามอัตราที่แนะนำ
– เกษตรกรควรปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันโรคข้างต้นนี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า