4 โรคร้ายทำลายพืชตระกูลหอม - ICPLADDA

4 โรคร้ายทำลายพืชตระกูลหอม

4956 จำนวนผู้เข้าชม

โรคหอม
   พืชตระกูลหอม ไม่ว่าจะเป็น หอมแดง หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง กระเทียม และกุยช่าย ถือเป็นพืชที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นส่วนผสมของการทำอาหารมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น การนำไปทำเครื่องปรุงน้ำพริก ต้ม ยำ ผัด แกง
แต่รู้หรือไม่?? ว่าพืชตระกูลหอมที่เราชอบกินกันมากขนาดนี้ มีพื้นที่ ที่นิยมปลูกอยู่แค่ 3 ภูมิภาคตามจังหวัดเหล่านี้เท่านั้น ได้แก่..
ภาคเหนือ นิยมปลูกที่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกที่ ศรีษะเกส ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี 
ภาคกลาง นิยมปลูกที่ กาญจนบุรี เป็นต้น
อาการของโรคหอม
เนื่องด้วยพื้นที่ปลูกพืชตระกูลหอมมีไม่ค่อยมากนัก การปลูกหอมจึงต้องปลูกแบบพิถีพิถัน และดูแลอย่างดียิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ ที่สำคัญไม่ใช่เพียงแค่การรดน้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช เพื่อให้เจริญเติบโตเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการเฝ้าระวังป้องกันโรค ไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตอีกด้วย ซึ่ง 4 โรคร้ายที่ชอบเข้ามาทำลายแปลงหอมนั้น ได้แก่
  1. โรคหอมเลื้อย
  2. โรคใบจุดสีม่วง
  3. โรคใบไหม้ 
  4. โรคหัวเน่า-รากเน่า
อาการโรคหอมเลื้อย
อาการโรคหอม
อาการของโรคหอม
4 โรคร้ายทำลายพืชตระกูลหอม-07
   โรคเหล่านี้ หากติดเข้าไปในแปลงปลูกหอมแล้ว จะสามารถแพร่สปอร์เชื้อได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากพืชตระกูลหอมเป็นพืชที่ชอบความชื้นสูง และในความชื้นนั้นเองที่ทำให้สปอร์ของเชื้อราเหล่านี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ต้นหอมได้รับความเสียหาย ทำให้ขายไม่ได้ ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลหอมทั้งหลาย ควรหมั่นศึกษาตรวจดูแปลงหอมของท่านให้ดี และพยายามฉีดพ่นสารป้องกันโรค และเชื้อราต่างๆไว้ก่อน เพราะการป้องกันยังทำให้ท่านได้ผลผลิต แต่หากต้องรอถึงขั้นกำจัด นั้นหมายถึงท่านได้สูญเสียผลผลิตบางส่วนไปก่อนหน้านี้แล้ว
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า