หน้าแ... > ความร... > บทควา... > เทคนิ... > เทคนิคเช็กโรคใบจุดสีน้ำตาลในช่วงข้าวเล็ก 1300 จำนวนผู้เข้าชม เทคนิคเช็กโรคใบจุดสีน้ำตาลในช่วงข้าวเล็ก ในช่วงสภาพอากาศร้อนนี้เกษตรกรอาจสังเกตุพบโรคใบจุดสีน้ำตาลเกิดขึ้นกับข้าวได้ตั้งแต่ระยะกล้า โดยถ้าเกษตรกรไม่ทำการป้องกันกำจัดตั้งแต่แรก เมื่อข้าวเจริญเติบโตอาจส่งผลต่อผลผลิตข้าวได้ โดยเชื้อสาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลจะทำให้เกิดโรคเมล็ดด่างในข้าวที่เป็นโรคตั้งแต่ระยะกล้าได้เร็วขึ้นหรือมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวเป็นอย่างมาก สาเหตุ: – เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.) เทคนิคในการเช็กโรคใบจุดสีน้ำตาล– แปลงข้าวขาดความอุดมสมบูรณ์ หรือขาดธาตุอาหาร ซิลิคอน โพแทสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม – แปลงข้าวมีอาการเมาตอซัง ทำให้ข้าวอ่อนแอต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล – แปลงนาข้าวเกิดความเครียดจากการขาดน้ำ ทำให้เกิดโรคได้ง่าย– แปลงข้าวที่มีวัชพืช เช่น หญ้าแพรก หญ้าตีนกา และหญ้าไซ ซึ่งวัชพืชเหล่านี้เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อราหากแปลงข้าวพบลักษณะเหล่านี้ โรคใบจุดสีน้ำตาลจะสามารถเข้าทำลายและสร้างความเสียหายได้แน่นอนการแพร่ระบาด – เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวมาตามลม และเชื้อสาเหตุติดไปกับเมล็ดพันธุ์ การป้องกันกำจัด– ปรับปรุงแปลงโดยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดิน หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค– คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ หรือคาร์เบนดาซิม+แมนโคเซบ อัตรา 3 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม– ใส่ปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ช่วยลดความรุนแรงของโรค– กำจัดวัชพืชในนา ดูแลแปลงให้สะอาด และใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม – ถ้าพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาลรุนแรงทั่วไป 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง เมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธงในสภาพฝนตกต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดโรคเมล็ดด่าง ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น อีดิเฟนฟอส แมนโคเซบ โพรพิโคนนาโซล ไดฟิโนโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โรคเมล็ดด่างในนาข้าวโรคเมล็ดด่างเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้า… โรคราดําของลำไยเชื้อราไม่ได้ทําลายต้นลำไยโดยตรงแต่จะไปขัดขวางการสังเคราะห์แสงของใบ ทำให้ชะงักกา… โรคเหี่ยวจากแบคทีเรียของมะเขือเทศและพริกช่วงแรกอาการเหี่ยวจะเกิดในช่วงกลางวันและต้นฟื้นเป็นปกติในช่วงกลางคืน แต่ต่อมาจะเ… โรคถอดฝักดาบในข้าวโรคถอดฝักดาบหรือโรคหลาว ปัจจุบันพบว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาและทำความเสียหายกับการปล…