เทคนิคการใช้สารชีวภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ - ICPLADDA

เทคนิคการใช้สารชีวภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ

2937 จำนวนผู้เข้าชม

เทคนิคการใช้สารชีวภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ
การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีคืออะไร ?
การลดปริมาณประชากรเชื้อโรคพืชหรือลดกิจกรรมของเชื้อที่ก่อโรคพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจกับพืชที่ปลูกโดยอาศัยสิ่งมีชีวิตหรือจุลินทรีย์ต่างๆ รวมถึงผลผลิตที่ได้จากสิ่งมีชีวิตหรือจุลินทรีย์ต่างๆ  
จุลินทรีย์ที่ใช้สำหรับการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
เรียกว่าเชื้อจุลินทรีย์ปฎิปักษ์คือจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูของเชื้อสาเหตุโรค ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคหรือขัดขวางกระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรคเพื่อไม่ให้ก่อโรคกับพืช  โดยตัวอย่างจุลินทรีย์ปฎิปักษ์ที่นิยมนำมาใช้ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช ได้แก่ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อแอคติโนมัยซีส หรือ เชื้อไวรัส เป็นต้น  ซึ่งในการนำเชื้อจุลินทรีย์ปฎิปักษ์ไปใช้ในการควบคุมโรคจะมีการนำไปผลิตเป็นสารชีวภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ชนิดผงแห้ง น้ำ เม็ด หรือรูปของเชื้อสด (เชื้อสดบนอาหารแข็ง, เชื้อสดแขวนลอยในน้ำ) เป็นต้น
สารชีวภัณฑ์
ในปัจจุบันการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีเป็นวิธีการที่เกษตรกรให้ความสนใจและนิยมปฎิบัติ เนื่องจากมีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค  ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่การควบคุมโรคโดยชีววิธีให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้
  1. เกษตรกรต้องเข้าใจว่าการควบคุมโดยวิธีชีวภาพเป็นวิธีที่ใช้สิ่งมีชีวิตควบคุมสิ่งมีชีวิต การออกฤทธิ์ในการควบคุมโรคจะไม่รวดเร็วเท่าการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช สภาพแวดล้อมที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมต่อชีวภัณฑ์ เช่น ไม่พ่นในช่วงที่มีอากาศร้อน แสงแดดแรง ฝนตกชุก หรือแล้งจัด เป็นต้น
  2. ความจำเพาะเจาะจง เนื่องด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฎิปักษ์แต่ละชนิดหรือสายพันธุ์มีความเจาะจงกับเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ต่างกันซึ่งจะมีการระบุไว้ที่ผลิตภัณฑ์ว่าสามารถควบคุมโรคพืชชนิดใดได้บ้าง การวินิจฉัยเชื้อสาเหตุโรคที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญที่จะทำให้เราสามารถเลือกใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฎิปักษ์ได้ตรงตามประสิทธิภาพ  
    ตัวอย่างเช่น เชื้อรา Trichoderma asperellum จะมีประสิทธิภาพดีกับเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดิน เช่น Pythium sp., Phytophthora sp., Rhizoctonia sp.หรือ Sclerotium sp. เป็นต้น
  3. ระดับความรุนแรงของโรคที่จะทำการควบคุมจะต้องมีความเหมาะสม  ถ้าอาการโรคมีความรุนแรงมากจะทำประสิทธิภาพของควบคุมโดยชีววิธีไม่ได้ผล  การควบคุมโดยชีววิธีจะต้องเน้นที่การใช้แบบป้องกันก่อนการเกิดโรคหรือที่มีอาการโรคไม่รุนแรงจึงจะมีประสิทธิภาพ และจะต้องมีความถี่ในการใช้ที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  4. วิธีการใช้ชีวภัณฑ์ต้องมีความสัมพันธ์กับนิเวศน์วิทยาของเชื้อสาเหตุโรคอยู่อาศัย หรือ ส่วนของพืชที่เข้าทำลาย เช่น
    4.1 เชื้อโรคเข้าทำลายที่ระบบรากหรืออาศัยอยู่ในดิน วิธีการใช้ได้แก่ การคลุกเมล็ด การราดดิน การคลุกดิน หรือการจุ่มราก เป็นต้น
    4.2 เชื้อโรคเข้าทำลายหรืออาศัยอยู่บริเวณผิวพืชอยู่เหนือดิน เช่น กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น วิธีการใช้ได้แก่ การทา หรือ การพ่น 
  5. ควรศึกษารายละเอียดของชีวภัณฑ์ที่ใช้เข้าใจก่อนนำไปใช้ เช่น อัตราการใช้ อายุในการเก็บรักษา วิธีการเก็บรักษา และความเข้ากันได้กับสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชหรือชีวภัณฑ์อื่น เป็นต้น
  6. แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ต้องเชื่อถือได้ เช่น จากหน่วยราชการ มหาวิทยาลัย หรือบริษัทเอกชนที่ผ่านการจดทะเบียนรับรองจากหน่วยราชการ มิฉะนั้นจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมโรคจะไม่ได้ผล
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า