869 จำนวนผู้เข้าชม
อาการ แผลที่ใบข้าว พบมากในระยะแตกกอมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก(โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือกทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรกเสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย
การแพร่ระบาด เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลมและติดไปกับเมล็ด “การปลูกข้าวแบบต่อเนื่อง ไม่พักดินและขาดการปรับปรุง บำรุงดิน เพิ่มการระบาดของโรคอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบ
การป้องกันกำจัด คุณสมบัติและ ประโยชน์
เป็นสารกลุ่ม Imidazole+Triazoles ออกฤทธิ์แบบดูดซึม ทั้งป้องกันและรักษาควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้หลายชนิด
ใช้ป้องกันกำจัด โรคกาบใบแห้ง โรคกาบใบไหม้ โรคกาบใบเน่า โรคใบขีดใบจุดสีน้ำตาลโรคเมล็ดด่าง โรคถอดฝักดาบ โรคดอกกระถิน โรคเน่าคอรวง
อัตราแนะนำ
อัตราการใช้ 80 ซีซีแต่อไร่ ฉีดพ่นได้ตั้งแต่ข้าวแตกกอไปจนถึงข้าวตั้งท้อง และเริ่มออกรวง 5%