ปัญหายอดฮิตที่มักพบในการเพาะกล้ามะเขือเทศ - ICPLADDA

ปัญหายอดฮิตที่มักพบในการเพาะกล้ามะเขือเทศ

7964 จำนวนผู้เข้าชม

ปัญหายอดนิยมที่มักพบในการเพาะกล้ามะเขือเทศ

หากพูดถึงพืชเกษตรที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจบ้านเรา หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “มะเขือเทศ” ด้วยความที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากมาย สามารถนำไปปรุงเป็นเมนูได้หลากหลาย

แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าการปลูกมะเขือเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความพิถีพิถันและความอดทนเป็นอย่างมาก

การปลูกมะเขือเทศประกอบด้วยหลายขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน และหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญก็คือ “การเพาะกล้า”

ไอ ซี พี ลัดดา มีความดีๆ เกี่ยวกับการเพาะต้นกล้า โรคที่จะเกิด และวิธีป้องกันมาฝากกันครับ

การเพาะกล้ามีความสำคัญอย่างไร?

การเพาะกล้าคือการนำเมล็ดมา เพาะปลูกเป็นต้นอ่อน โดยเป็นขั้นตอนที่จะตามมาหลังจากการเลือกสภาพดินที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกเรียบร้อยแล้ว

ในการปลูกมะเขือเทศ การเพาะกล้าจะมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่

นำเมล็ดไปแช่น้ำประมาณ 20 นาที วางเมล็ดที่ได้บนกระดาษเพาะเมล็ดและใช้ถุงพลาสติกห่ออีก 1 วัน
เตรียมถาดสำหรับเพาะกล้าให้พร้อมหยอดเมล็ดลงหลุมในถาดใช้วัสดุเพาะกล้าปูทับลงไปและรดน้ำ
ทิ้งไว้ประมาณ 25-30 วันจนต้นกล้าเริ่มแตกใบได้ประมาณ 4-5 ใบเป็นอย่างน้อย จากนั้นจึงค่อยย้ายปลูกในสถานที่ที่เตรียมไว้

อย่างไรก็ตาม การเพาะกล้านอกจากใช้ถาดหลุมดังที่กล่าวมาแล้วยังมีการนิยมใช้กระบะเพาะ หรือเพาะในแปลงอีกด้วย

ปัญหาที่มักพบในการเพาะกล้า มะเขือเทศ

1.โรคกล้าเน่า หรือโรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani Kuhn และเชื้อ Pythium aphanidermatum (Edson) Fitzp. โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะเพาะกล้า เกิดจากเมล็ดพันธุ์ไม่สมบูร ณ์ หรือมีเชื้อราติดมากับเมล็ด พันธุ์ และเมื่อกล้าต้นได้ 2-3 ใบมักจะทำให้ต้นหักพับในระดับผิวดิน
2.โรคสะแคป เกิดจากเชื้อ Xanthomonas compertris pv. vesicatoria โรคนี้ก็เป็นอีกโรคที่เชื้อสาเหตุติดมากับเมล็ดพันธุ์ ได้เช่นกัน สามารถแพร่กระจายไปพร้อมกับ เครื่องมือเกษตร ปลิวไปกับลมและฝนได้ อากาศร้อนและชื้นจะส่งผลให้มีการระบาดมากขึ้น
3.โรคเหี่ยว โรคนี้เกิดได้จากหลายเชื้อสาเหตุทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น Furarium oxysporum Schlecht Sclerotium rolfsii Sacc และ Ralstonia solanacearum (Yabuuchi al.) ซึ่งจริงๆแล้วโรคนี้จะไม่ค่อยพบในระยะเพาะกล้า แต่เมื่อย้ายกล้าไปแล้วพืชจะเริ่มแสดงอาการเหี่ยวตาย และไม่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคระยะนี้ได้ จึงต้องมาป้องกันและรักษาตั้งแต่ระยะเพาะกล้าจะช่วยป้องกันได้ดีกว่ามาก

วิธีการป้องกันในระยะเพาะกล้า

1.ใช้วัสดุปลูกที่ได้มาตราฐาน และถาดเพาะกล้าที่มีช่องระบายน้ำดี
2.โรงเรือนเพาะกล้าสะอาด อากาศถ่ายเทไ้ดี และแสงสามารถส่องผ่านได้ทั่วถึงทั้งโรงเรือน
3.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพได้มาตราฐาน และเชื่อถือได้
4.ใช้ไบออนแบค อัตรา 30 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ราดกล้ามะเขือเทศ 3 ครั้งห่างกัน 7 วัน จนถึงระยะก่อนย้ายกล้าจะช่วยให้รากมะเขือเทศแข็งแรง และสำคัญที่สุดคือจะช่วยป้องกันโรคเหี่ยวเข้าทำลายหลังย้ายกล้าได้ดีมากขึ้น

ไบออนแบค ดีอย่างไรกับกล้ามะเขือเทศ

1.ไบออนแบค ทำหน้าที่ในการกระตุ้นรากให้สามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้พืชแข็งแรง ใบเขียว และทนทานต่อโรค
2.ไบออนแบค ไปกระตุ้นให้พืชสร้างสาร antibiosis เช่น lturin, Surfactin และ plipastatin ทำให้พืชมีภูมิคุ้มกันกับเชื้อสาเหตุที่เข้าทำลายมากขึ้น
3.ไบออนแบค ช่วยเพิ่มผลผลิตให้พืชโดยการกระตุ้นให้พืชสร้าง amino acid, peptide และ enzymes ได้มากขึ้น
4.ไบออนแบค สามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย ปลอดภัยกับผู้ใช้และผู้บริโภค เหมาะกับกลุ่มผู้ปลูกมะเขือ เทศ พริก และมันฝรั่ง

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นแท้จริงแล้วโรคและศัตรูร้าย สำหรับมะเขือเทศยังมีอีกมากอย่างไรก็ตามก็ยังมีหนทางที่จะสามารถป้องกันสิ่งเหล่านั้นได้ คือผู้ปลูกต้องเลือกดินที่จะทำการเพาะปลูกให้ดี ต้องกำจัดวัชพืชให้แปลงสะอาด นอกจากนี้ผู้ปลูกยังสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับเป้าหมายใช้อัตราที่ถูกต้องและระยเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้เราได้มะเขือเทศที่มีคุณภาพ

สนใจสินค้าสามารถสั่งซื้อออนไลน์ ได้ที่:  https://lin.ee/Bs9m4Mv

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า