5742 จำนวนผู้เข้าชม
ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
จากสภาพอากาศหนาวเย็นของประเทศไทยในช่วงนี้ทำให้ข้าวที่ปลูกได้รับผลกระทบต่างๆ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกันตามปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ระยะการเจริญของข้าว พันธุ์ข้าว และช่วงความยาวนานของอุณหภูมิต่ำ เป็นต้น พันธุ์ข้าวที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ พันธุ์ กข29 กข41 กข47 สุพรรณบุรี 3 ชัยนาท 1 พิษณุโลก 2 และ ปทุมธานี 1 เป็นต้น ส่วนพันธุ์ กข31 จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศหนาวได้ดีกว่า
ลักษณะอาการของข้าวที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ มีดังนี้
1. ข้าวที่อยู่ในระยะกล้า และแตกกอ
-เมล็ดข้าวงอกช้า อัตราการงอกต่ำ การเจริญเติบโตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโตทั้งความสูงและการแตกกอ
-ต้นข้าวซีดเหลือง ใบมีสีเหลืองหรือสีส้ม และมีลักษณะเรียวตั้ง
-ใบแห้งตายจากขอบใบหรือปลายใบคล้ายอาการโรคขอบใบแห้ง และมักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลเข้าทำลายซ้ำเติมเนื่องจากต้นข้าวจะขาดธาตุอาหารในช่วงอากาศเย็นทำให้อ่อนแอต่อโรค
2. ข้าวที่อยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง
– ต้นข้าวซีดเหลือง ใบเหลืองหรือสีส้ม
– ใบแห้งตายจากขอบใบหรือปลายใบคล้ายอาการโรคขอบใบแห้ง และมักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลเข้าทำลายซ้ำเติม
– ออกรวงช้า รวงที่ออกไม่สม่ำเสมอ รวงโผล่ไม่สุด (ก้านช่อดอกหดสั้น) และพบโรคเมล็ดด่างร่วมด้วย
– เมล็ดในรวงข้าวไม่สามารถพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ (เมล็ดไม่เต็ม) ปลายรวงลีบฝ่อ มีเปอร์เซ็นต์การเป็นหมันสูง และเมล็ดสุกแก่ไม่พร้อมกัน
3. ข้าวที่อยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง
– ต้นข้าวซีดเหลือง ใบเหลืองหรือสีส้ม
– ใบแห้งตายจากขอบใบหรือปลายใบคล้ายอาการโรคขอบใบแห้ง และมักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลเข้าทำลายซ้ำเติม
– ออกรวงช้า รวงที่ออกไม่สม่ำเสมอ รวงโผล่ไม่สุด (ก้านช่อดอกหดสั้น) และพบโรคเมล็ดด่างร่วมด้วย
– เมล็ดในรวงข้าวไม่สามารถพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ (เมล็ดไม่เต็ม) ปลายรวงลีบฝ่อ มีเปอร์เซ็นต์การเป็นหมันสูง และเมล็ดสุกแก่ไม่พร้อมกัน
แนวทางการแก้ไข
- ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะลดลงเมื่อสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเกษตรกรควรการพ่นปุ๋ยทางใบให้กับข้าว เพื่อเร่งการฟื้นตัวของข้าวและชดเชยธาตุอาหารที่ข้าวไม่สามารถนำจากดินมาใช้ได้ในช่วงอากาศหนาวเย็น
- มีรายงานว่าการใช้ปุ๋ยในกลุ่มฟอสเฟตสามารถช่วยลดผลกระทบจากอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง และเพิ่มความสามารถในการทนต่ออากาศเย็น
- เกษตรกรควรเลือกพันธุ์ข้าวที่มีความทนทานต่ออากาศหนาว เช่น กข31 หรือหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะในช่วงข้าวออกดอก
- การพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โพรพิโคนาโซล เพื่อป้องกันโรคใบจุดสีน้ำตาล และเมล็ดด่าง ที่จะระบาดเมื่ออากาศคลายหนาว
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
โรคขอบใบแห้ง
โรคขอบใบแห้งข้าว ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช ภาควิชาโรคพืช…
-
โรคขีดใบโปร่งแสง
โรคขีดใบโปร่งแสง ในนาข้าว
-
โรคขอบใบแห้ง
โรคขอบใบแห้งข้าว ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช ภาควิชาโรคพืช…
-
โรคขอบใบแห้ง
โรคขอบใบแห้งข้าว ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช ภาควิชาโรคพืช…