5541 จำนวนผู้เข้าชม
การปลูกพืชไม่ว่าชนิดไหนๆ ก็ต้องเจอกับปัญหาแมลงศัตรูพืชทั้งสิ้น อ้อยเองก็เช่นกัน ซึ่งถ้าพูดถึงการปลูกอ้อยแล้ว แมลงศัตรูพืชที่น่ากลัวที่สุดก็คงหนีไม่พ้น “หนอนกออ้อย และด้วงหนวดยาว”
หนอนกออ้อยเป็นอย่างไร?
หนอนกออ้อย หรือ Sugarcane Borer เป็นหนอนที่จะคอยกัดกิน ทำลายในส่วนผิวใบและลำต้นอ้อยได้แทบทุกระยะการเจริญเติบโตของอ้อย โดยที่พบในไทย มีอยู่ 5 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
- หนอนกอลายจุดเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chilo infuscatellus ตัวเต็มวัยหนอนกอลายจุดเล็กเป็นผีเสื้อกลางคืนสีฟางข้าว อายุตัวเต็มวัน 7-12 วัน วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวครีมวางซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลาอยู่ใต้ใบและบนใบอ้อย ระยะไข่ 3-6 วัน หนอนมีจุดขนาดเล็ก ๆ (ขนาดจุดดินสอดำปลายแหลม) สีน้ำตาลไหม้อยู่บนหลังปล้องละ 1 คู่ ระยะหนอน 30-35 วัน หนอนลอกคราบ 5 ครั้งจึงเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 5-8 วัน
2. หนอนกอสีชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Sesamia inferens ตัวเต็มวัยของหนอนกอสีชมพูเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาล อายุ 7-11 วัน ไข่เป็นเม็ดกลมสีชมพูเป็นกลุ่มเรียงกันอยู่ในกาบใบที่แนบอยู่กับยอดหรือใกล้ยอดใบ ระยะไข่ 6-7 วัน หนอนลำตัวสีชมพูมีขนาดใหญ่กว่าหนอนกอลาย ระยะหนอน 30-50 วัน และลอกคราบ 8-9 ครั้ง ระยะดักแด้ 10-12 วัน พบว่าสามารถทำลายอ้อยในระยะหน่อทำให้เกิดยอดอ้อยแห้งตายเหมือนการทำลายของหนอนกอลาย ในระยะย่างปล้องหนอนเจาะเข้าทำลายลำต้นน้อยกว่าหนอนกอลายและเข้าทำลายอ้อยได้มากในระยะที่อ้อยแตกกอเมื่ออ้อยอายุ 1.5-4 เดือน พบว่าสามารถเข้าทำลายอ้อยได้ในทุกเขตทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตที่มีการปลูกอ้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ
3. หนอนกอสีขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Scripophaga excerptalis ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีขาว อายุ 6-10 วัน ไข่แต่ละฟองเป็นเม็ดกลมสีขาวเป็นกลุ่มอยู่ใต้ใบอ้อยและมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ระยะไข่ 4-6 วัน ลำตัวของหนอนสีขาวซีด มีขนาดใหญ่ และยาวกว่าหนอนกอลาย ระยะหนอน 35-40 วัน ดักแด้สีขาวปนน้ำตาล ระยะดักแด้ 8-10 วัน หนอนเจาะเข้าเส้นกลางใบอ้อยที่เพิ่งคลี่ใบทำลายใบยอดที่กำลังเจริญเติบโต มีผลทำให้ใบยอดมีรูพรุนยอดสั้นและแห้งตาย ในอ้อยระยะย่างปล้องหนอนจะเข้าทำลายส่วนเจริญเติบโตทำให้ลำอ้อยแตกแขนงด้านข้างเรียกว่า ยอดพุ่ม ส่วนใหญ่หนอนจะเข้าทำลายมากในระยะแตกกอ แต่ถ้าปีใดฝนตกมากและสม่ำเสมอ หนอนจะสามารถเข้าทำลายได้ในระยะย่างปล้องมากเช่นกัน
4. หนอนกอแถบลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chilo sacchariphagus ลักษณะตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้มกว่าหนอนกอลายจุดเล็กมีแถบสีน้ำตาลไหม้เล็ก ๆ เป็นแนวนอนบนปีกคู่หน้าเห็นได้ชัด อายุตัวเต็มวัน 9-15 วัน ลักษณะไข่และระยะไข่เหมือนหนอนกอลายจุดเล็ก แต่ไข่สีขาวใสกว่า ระยะหนอนยาวกว่าคือ 30-40 วัน และลักษณะหนอนมีแถบสีน้ำตาลอมม่วงเป็นแถบใหญ่พาดตามยาวของลำตัวเห็นชัดเจน ระยะดักแด้ 9-15 วัน
5. หนอนกอลายจุดใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chilo tumidicostalis ลักษณะตัวเต็มวัยสีเข้มที่สุดในบรรดาตัวเต็มวัยของหนอนกอทั้งหมด กลางปีกคู่หน้าจะมีขีดสีน้ำตาลหนึ่งเส้นพาดไปตามแนวนอนของปีกเห็นได้ชัด อายุตัวเต็มวัน 5-10 วัน ไข่เป็นกลุ่มสีขาวครีมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลาอยู่ใต้และบนใบอ้อย ระยะไข่ 3-6 วัน ระยะหนอน 30-35 วัน ลักษณะหนอนคล้ายหนอนกอลายจุดเล็กมากเว้นแต่มีจุดด้านหลังของลำตัวกลมใหญ่กว่า (ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด) และมีสีน้ำตาลเข้มเห็นเด่นชัดกว่า ระยะดักแด้ 7-12 วัน เข้าทำลายในระยะหน่อทำให้อ้อยเกิดอาการยอดแห้งตาย เมื่ออ้อยอยู่ในระยะย่างปล้องหนอนจะเข้าลำต้นและยอดอ้อย หนอนกอลายจุดใหญ่ และหนอนกอลายจุดเล็กจะเข้าทำลายมากเมื่ออ้อยอายุ 1.5-4 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอ หรือเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหนอนกอลายใหญ่นั้นพบระบาดในหน้าฝน และพบมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
ด้วงหนวดยาวเป็นอย่างไร?
ด้วงหนวดยาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dorysthenes buqueti Guerin ลักษณะเป็นด้วงปีกแข็ง มีสีน้ำตาลอมแดง วางไข่ครั้งละหลาบร้อยฟองและจะอยู่เป็นไข่ประมาณ 20 วัน เมื่อเป็นหนอนจะอยู่ประมาณ 9 เดือนก่อนจะเป็นดักแด้ และสุดท้ายก็จะโตเต็มวัย
ด้วงหนวดยาว จัดเป็นแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญต่อการปลูกอ้อย โดยสามารถเข้าทำลายอ้อยตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยหนอนของด้วงหนวดยาวจะเข้าไปในส่วนของลำต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดิน ทำให้อ้อยแห้งตาย ในอ้อยปลูกหากพบด้วงหนวดยาวเข้าทำลายจะส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 13-43 % และน้ำตาลลดลง 11-46 % ส่วนอ้อยตอปีที่ 1 จะสูญเสียผลผลิตประมาณ 45 % และน้ำตาลลดลง 57 %
หยุดปัญหาแมลงศัตรูพืชตัวร้าย ปราบอย่างราบคาบ ด้วย “โฮป” !
ขอแนะนำ “โฮป” สุดยอดยาหว่านกำจัดแมลงคุณภาพ จาก ไอซีพี ลัดดา ที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องกลุ้มใจกับปัญหาแมลงศัตรูอ้อยมาทำลายผลผลิตของคุณอีกต่อไป
ทำไมถึงต้องเลือกโฮป?
เพราะโฮปเป็นสารกลุ่ม Phenylpyrazoles (Fiproles) ที่ออกฤทธิ์แบบดูดซึมจากล่างขึ้นบน กินตายและถูกตัวตาย โดยตัวยาจะไปทำลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อของแมลงให้ทำงานหนัก จนชักตายในที่สุด
ด้วยคุณสมบัตินี้ ทำให้โฮปสามารถกำจัดแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงในดิน เช่น หนอนกอ ด้วงหนวดยาว ปลวกอ้อย
วิธีใช้งานสำหรับอ้อย ให้นำผลิตภัณฑ์ 5 กก.ไปหว่านในพื้นที่ 1 ไร่ หรือโรยบนท่อนพันธุ์อ้อยหลังจากกลบดินแล้ว
โปรดอ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด*