รู้จักหนอนทุเรียน ศัตรูตัวร้ายที่คอยทำลายผลผลิต! - ICPLADDA

รู้จักหนอนทุเรียน ศัตรูตัวร้ายที่คอยทำลายผลผลิต!

7919 จำนวนผู้เข้าชม

นอกจากโรคพืชแล้ว ปัญหาชวนปวดหัวอีกอย่างสำหรับคนปลูกทุเรียน ก็คงจะหนีไม่พ้นหนอนทุเรียนตัวร้าย!

ที่จริงแล้ว ปัญหาหนอนกัดกินนั้นสามารถพบได้กับพืชเศรษฐกิจเกือบชนิด แต่สำหรับทุเรียนแล้ว ถ้ามีหนอนมากัดกินคงไม่ใช่ความเสียหายธรรมดา แต่เป็นความเสียหายมหาศาล เพราะทุเรียนมีผู้นิยมบริโภคจำนวนมาก ให้ผลผลิตราคาแพง ปลูกยาก ดังนั้นถ้าปล่อยให้หนอนทำลายจนเสียหาย จะทำให้ผู้ปลูกเสียกำลังใจ เสียดายต้นทุน และเครียดที่ทุเรียนขายได้ราคาไม่ดี หรือขายไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น อย่าอยู่เฉยๆ! ปลูกทุเรียนแล้วก็ต้องดูแลทุเรียนให้ดี และที่สำคัญ…มารู้จักหนอนทุเรียนให้มากขึ้น ว่ามันคืออะไร และทำอันตรายต่อทุเรียนได้อย่างไรบ้าง

หนอนทุเรียนคืออะไร และทำไมถึงอันตรายสำหรับทุเรียน?

หนอนทุเรียนเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่ง มีชื่ออื่นๆได้แก่ หนอนใต้ หนอนมาเลย์ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์คือ Mudaria luteileprosa Holloway

หนอนชนิดนี้พร้อมเข้าโจมตีทุเรียนได้ทุกระยะการเจริญเติบโต แม้แต่ระยะที่ทุเรียนยังอายุได้เพียง 2 เดือน โดยจะเริ่มต้นด้วยการกัดกินเมล็ดทุเรียน และสามารถกัดลามไปได้ถึงผลและเนื้อ ทำให้เมื่อผลสุกแล้ว เนื้อจะเน่า มันสามารถวางไข่ได้มากถึง 200 ฟองต่อครั้ง โดยจะวางไข่บนผลอ่อนของทุเรียน และเมื่อตัวอ่อนฟักออกมาได้ก็จะเริ่มกระบวนการกัดกินเมล็ดทุเรียนทันที ซึ่งในช่วงแรกๆผู้ปลูกจะยังไม่สังเกตเห็นร่องรอยใดๆเนื่องจากตัวอ่อนมีขนาดเล็กมาก และรอยเจาะจะถูกเยื่อบนเปลือกทุเรียนบังอยู่

จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านไป หนอนจะอาศัยอยู่ในผลทุเรียนและโตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งไชเปลือกทุเรียนออกมา จากนั้นจะไปเป็นดักแด้อยู่ในดินประมาณ 1-9 เดือน จากนั้นจะกลายเป็นผีเสื้อเต็มวัย (ที่มีสีน้ำตาลหรือเหลืองเข้ม) ซึ่งมันยังกัดกินผลทุเรียนได้อยู่

หนอนทุเรียนมาจากไหน?

หนอนทุเรียนมีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย จากนั้นระบาดเข้ามาในไทยครั้งแรกเมื่อราวๆ 30 ปีก่อน ที่จังหวัดระยอง ปัจจุบันหนอนชนิดนี้พบได้มากในภาคตะวันออก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการปลูกทุเรียนของไทย

วิธีป้องกันและกำจัดหนอนทุเรียน

เพื่อป้องกันไม่ให้หนอนทุเรียนมาทำลายผลผลิต ผู้ปลูกจึงควรเฝ้าระวังทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ โดยไม่ควรรับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ เพราะไข่หนอนสามารถปะปนมากับเมล็ดทุเรียนได้

ต่อมา เมื่อเริ่มกระบวนการปลูกทุเรียนแล้ว ให้รอจนทุเรียนอายุประมาณเดือนกว่าๆ แล้วหาถุงพลาสติกมาห่อผลทุเรียน เพื่อเป็นด่านป้องกันไม่ให้หนอนเข้าไปยุ่งกับผลทุเรียนได้ ข้อควรระวังในการห่อคือ ให้เจาะรูเล็กๆที่ก้นถุงสำหรับระบายน้ำด้วย และอย่าเจาะรูใหญ่เกินไปจนหนอนสามารถลอดผ่านไปได้ หรือถ้าหากไม่อยากใช้ถุงพลาสติก ก็ให้ใช้ถุงตาข่ายที่มีรูเล็กมากๆ หรือถุงมุ้งจะดีที่สุด ห่อไปแทน

การหมั่นสำรวจต้นทุเรียนก็สำคัญ โดยผู้ปลูกควรแวะเวียนไปดูต้นทุเรียนบ่อยๆ คอยสังเกตความผิดปกติ เพื่อไม่ให้หนอนเข้าทำลายทุเรียนเสียหายจนเกินจะเยียวยา แต่ถ้าหากพบร่องรอยการถูกทำลายจากหนอนแล้ว ให้ใช้เส้นลวดแข็งๆเขี่ยตัวหนอนออกมา และคอยตัดแต่งผลทุเรียนไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป แล้วอย่าลืมหากิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวมาคั่นระหว่างผลทุเรียนด้วย เพื่อเป็นการปิดทางไม่ให้หนอนเข้าไปอาศัยในผลและทำลายผลอีกทาง

…อย่าลืมตัวช่วยสำคัญอย่าง “ไฮซีส” และ “แอสไปร์” สองคู่หูตัวเด็ดที่จะช่วยคุณปราบหนอนทุเรียนตัวร้ายแบบถอนรากถอนโคน!

ไฮซีสและแอสไปร์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการกำจัดหนอนคุณภาพเยี่ยมจาก ICP Ladda เพียงใช้คู่กัน ก็มั่นใจได้เลยว่าจะไม่มีหนอนตัวไหนกล้าเข้ามาวุ่นวายกับทุเรียนของคุณอีกอย่างแน่นอน

ไฮซีส

ไฮซีสจัดอยู่ในสารกลุ่ม Avermectin ประกอบด้วย Emamectin benzoate 2.0% W/V ME ออกฤทธิ์แบบกินตายและถูกตัวตาย ดูดซึมไวด้วยความที่เป็นสูตรยาเย็นและมีอนุภาคขนาดเล็ก ออกฤทธิ์ได้ในชั่วอึดใจ เมื่อยาไปโดนหนอนแล้ว หนอนจะหยุดกินผลทุเรียนและตายเกือบทันที

ผลิตภัณฑ์นี้นอกจากออกฤทธิ์ได้ไวแล้วยังออกฤทธิ์ได้นาน และทนทานต่อฝนด้วย แม้จะฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ในช่วงนั้น ก็จะไม่ถูกน้ำล้างออกไปง่ายๆอย่างแน่นอน

นอกจากหนอนทุเรียนแล้ว ไฮซีสสามารถใช้กำจัดหนอนได้อีกนับไม่ถ้วนชนิด เช่น หนอนกระทู้ หนอนเจาะผล ฯลฯ และสามารถใช้กับพืชชนิดอื่นๆนอกจากทุเรียนได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพืชผล พืชฝัก หรือผักใบเขียว 
การใช้ นำผลิตภัณฑ์ 10-20 ซีซี ไปผสมกับน้ำ 20 ลิตร ให้เข้ากัน ก็สามารถนำไปฉีดพ่นได้ทันที

แอสไปร์

เหตุผลที่ควรใช้ทั้งสองผลิตภัณฑ์คู่กัน ก็เพราะว่าแต่ละตัวมีการทำงานที่แตกต่างกันแม้จะใช้กำจัดหนอนเหมือนกัน โดยไฮซีสจะทำหน้าที่ฆ่าหนอน ส่วนแอสไปร์นี้จะทำหน้าที่ยับยั้งการลอกคราบของหนอน ถือเป็นการป้องกันและกำจัดตั้งแต่เนิ่นๆ

สามารถใช้กำจัดหนอนได้หลายชนิด ออกฤทธิ์อย่างปลอดภัยต่อผลทุเรียน

การใช้ นำผลิตภัณฑ์ 20 ซีซีไปผสมกับน้ำ 20 ลิตร สำหรับใช้พ่นตั้งแต่ช่วงที่ทุเรียนเริ่มแตกใบ รออีก 5 วัน จึงค่อยพ่นอีกครั้ง

วิธีใช้ทั้งสองผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

  1. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์หากผลิตภัณฑ์อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์
  2. แม้ว่าผลิตภัณฑ์จะไม่อันตรายต่อทุเรียน แต่ก็เป็นอันตรายต่อคนได้ ดังนั้นในทุกขั้นตอนของการใช้งาน ห้ามลืมสวมถุงมือและหน้ากากป้องกันเด็ดขาด โดยหน้ากากต้องปกคลุมตา จมูก และปากอย่างมิดชิด เพื่อที่ละอองผลิตภัณฑ์จะได้ไม่กระเด็นเข้าไปสัมผัสโดน ส่วนถุงมือนั้นควรเป็นถุงมือยาง เพราะผลิตภัณฑ์จะได้ไม่ซึมเข้าไปถึงมือ ห้ามถอดอุปกรณ์ป้องกันออกโดยเด็ดขาดถ้ายังใช้งานไม่เสร็จ
  3. ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด
  4. ห้ามนำผลิตภัณฑ์ไปผสมกับอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในวิธีใช้
  5. ควรเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในตู้ที่มิดชิด มีอุณหภูมิกลางๆ เก็บให้ไกลจากอาหาร เด็ก และสัตว์เลี้ยง ไม่แนะนำให้เก็บในห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก เนื่องจากเป็นห้องที่ถูกใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน อาจเป็นอันตรายกับคนที่เข้าไปใช้ห้องได้ ทางที่ดีที่สุดคือควรเก็บในตู้นอกบ้าน หรือถ้ามีเรือนเพาะชำ หรือโรงเก็บอุปกรณ์เพาะปลูกโดยเฉพาะก็จะยิ่งดีมาก
  6. ห้ามนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เสร็จแล้วไปทิ้งตามแหล่งน้ำหรือแหล่งธรรมชาติทุกชนิด เพราะสัตว์และพืชอาจได้รับอันตรายได้
  7. หลังใช้ผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว ให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง อย่าประมาท
  8. ปิดฝาบรรจุภัณฑ์ให้สนิททุกครั้ง และควรตั้งเก็บในจุดที่บรรจุภัณฑ์จะไม่ล้ม หรือตกลงมาง่ายๆ
  9. ในการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ ควรเลือกใช้ถังฉีดที่ได้คุณภาพ แข็งแรง ไม่มีร่องรอยชำรุด และก่อนใช้งานควรตรวจสอบหัวฉีดก่อนว่าทำงานได้ปรกติหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรืออันตรายขณะฉีดพ่น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า