1414 จำนวนผู้เข้าชม
เกษตรกรบางคนแค่ได้ยินคำว่าหนอนก็รู้สึกอย่างบอกไม่ถูกแล้วใช่ไหมครับ ถ้าเห็นตัวคงจะเหยียบให้แบนติดดินกันไปเลยทีเดียว โดยเฉพาะ “หนอนกออ้อย” ศัตรูร้ายในอ้อย
ไอ ซี พี ลัดดา นำความรู้การดูแลไร่อ้อยให้รอดพ้นเจ้าหนอนตัวอันตรายนี้กันครับ
รูปแบบการเข้าทำลายของหนอนกออ้อย
ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนกออ้อย คือ เมื่อหนอนกออ้อยฟักออกมาจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกัดกินอยู่บริเวณผิวใบหรือหน่ออ้อยเป็นระยะเวลาสั้นๆหลังจากนั้นจึงเจาะเข้าไปภายในลำต้นที่อยู่บริเวณผิวดินและอาศัยอยู่ภายใน หนอนกออ้อยมีลักษณะอุปนิสัย ชอบการเคลื่อนย้าย คือ หลังจากหน่ออ้อยที่หนอนกออาศัยอยู่ตายก็จะย้ายไปทำลายหน่อใหม่ ดังนั้นหนอนกออ้อย 1 ตัวจึงสามารถทำลายอ้อยได้ 3-4 หน่อ หลังจากนั้นก็จะเข้าดักแด้อยู่ภายในลำต้น หนอนกออ้อยสามารถเข้าทำลายอ้อยได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต คือ ทำลายหน่อเมื่ออ้อยยังเล็กอยู่ทำลายทุกส่วนของลำต้นรวมถึงส่วนยอดของลำต้น เมื่ออ้อยอยู่ในระยะย่างปล้องและระยะที่อ้อยเจริญเติบโตเต็มที่
ลักษณะต้นอ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยเข้าทำลาย
ผลของการทำลายของหนอนกออ้อย คือ เมื่อหนอนกอลงทำลายที่หน่อหรืออ้อยโตจะทำให้เกิดยอดแห้งตาย หากดึงยอดที่แห้งตายจะหลุดออกโดยง่ายและอาจจะมีกลิ่นเหม็นเน่าอ้อยแตกแขนง อ้อยแตกเป็นพุ่มที่บริเวณยอด หากหนอนเข้าทำลายที่บริเวณฐานหรือโคนลำจะมีรอยเจาะเป็น รู หากผ่าลำดูจะพบว่ามีหนอนอยู่ข้างในจะส่งผลให้ลำต้นอ้อยแตกและการเจริญเติบโตทางลำต้นถูกชะงักลง
ปัญหาศัตรูพืชที่เข้าทำลายช่วง การปลูกอ้อยระยะแรก เช่น หนอนกอ ปลวก ด้วงในดิน ซึ่งสามารถกำจัดได้โดยโฮป
อัตราการใช้ 3-5ไร่/กระสอบ15kg