22472 จำนวนผู้เข้าชม
ภาวะอากาศในช่วงนี้นั้น เอื้ออำนวยต่อการระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เพลี้ยไฟ, ไรแดง, หนอนกัดใบ, หนอนเจาะช่อดอก, หนอนควั่นต้น
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักลักษณะวงจรชีวิตเพลี้ยไฟ การป้องกัน และการกำจัดเพลี้ยไฟที่เป็นปัญหาของพี่น้องชาวสวนกันกันนะครับ
รูปร่างลักษณะของเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟมีขนาดเล็กมาก มีลําตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีลําตัวสีเหลือง มีปีก 2 คู่ลักษณะแคบยาวประกอบดวยขน เป็นแผง เพศเมียตัวใหญ่กว่าเพศผู้ วางไข่ในเนื้อเยื่อบนใบอ่อน ใกล้เส้นกลางใบ ยอดอ่อนและผลอ่อน ไข่มีขนาดเล็กมาก สีขาวใส ขนาดยาว 0.2-0.3 มิลลิเมตร ระยะไข่ 2-4 วัน และฟักเป็นตัวอ่อน มีสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเขี ยวเข้มขึ้น ตัวโตเต็มที่ประมาณ 0.7-1 มิลลิเมตร ระยะตัวอ่อน 4-7 วัน ต่อมาเป็นดักแด้ มีลักษณะเหมือนตัวอ่อนแต่มี แผ่นปีกข้างลําตัว ระยะนี้ไม่กินอาหาร ไม่เคลื่อนไหว ระยะดักแด้ประมาณ 1-2 วัน และเจริญตัวเต็มวัย ตัวเมียสามารถวางไข่ได้โดยไม่ต้องผสมกับตัวผู้หรือผสมก็ได้ ตัวเต็มวัยมีอายุยืนนาน 7-30 วัน วางไข่ได้หลายสิบฟอง
การทําลายทุเรียน ในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ําเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยูตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ําตาล ทําให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทําให้ใบอ่อนร่วงได้ ในระยะดอกอ่อนและดอกบานจะพบเพลี้ยไฟตามดอก ถ้าดอกบานจะอาศัยอยูตามเกสร กลีบดอก ทําให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ และดอกร่วง ระยะห้างแย้ไหม้-ผลอ่อน จะพบตามซอกหนามทุเรียนทําให้หนามทุเรียนติดกัน เมื่อลูกโตจะเป็นทุเรียนหนามจีบหรือหนามติด ส่งผลให้ราคาตก
การแพร่กระจายและฤดูการระบาด
พบการระบาดของเพลี้ยไฟในช่วงที่อากาศร้อน มีแสงแดดจัด ในระยะทุเรียนแตกใบอ่อน ออกดอก และติดผลอ่อน โดยระบาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
การป้องกันและกําจัด
1. หมั่นสํารวจเพลี้ยไฟโดยการเดินสำรวจในแปลงทุกๆ 3 วันโดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ออกดอก และติดผลอ่อน
2. ใช้ระบบน้ำเหวี่ยงพ่นน้ำ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน หรือเครื่องฉีดพ่น พ่นน้ำในฤดูแล้งให้ใบเปียกโชกทั่วทรงพุม เพื่อช่วยลดปริมาณของเพลี้ย ไฟให้อยูในระดับต่ำ วิธีการนี้ยังชวยเพิ่มความชื่นให้ศัตรูธรรมชาติสามารถดำรง ชีวิตอยู่และเพิ่มปริมาณสูง ขึ้นในช่วงแล้ง ซึ่งจะช่วยควบคุมประชากรของ เพลี้ยไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย
3. สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟที่ แนะนำ ได้แก่ อิมิดาโกลด์70, เกรค 5 เอสซี, ไฮซีส ,โบร์แลน