17112 จำนวนผู้เข้าชม
การปลูกข้าวไม่สามารถเลี่ยงปัญหาแมลงศัตรูพืชได้อย่างแน่นอน เพราะพืชทุกชนิดต่างก็มีแมลงศัตรูเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของผู้ปลูกเองที่ต้องคอยเฝ้าระวังพืชที่ปลูกให้ดี อย่าให้มีศัตรูพืชมาย่ำกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว ที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของไทย ยิ่งต้องระวังมาก ศัตรูพืชในนาข้าวนั้นมีมากกว่าที่คิด เผลอไปเพียงนิดเดียว ก็สามารถทำให้ผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมาก มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืขในนาข้าว พร้อมด้วยวิธีกำจัดและป้องกัน ก่อนที่จะสายเกินไป
ตัวอย่างแมลงศัตรูพืชในนาข้าว
1.เพลี้ยไฟ
หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่ง มีสองสายพันธุ์คือมีปีกและไม่มีปีก แต่พอโตแล้วจะมีสีดำเหมือนกันทั้งคู่
เพลี้ยไฟจะวางไข่ในเนื้อเยื่อใบข้าว หลังจากนั้นจะใช้เวลาประมาณครึ่งเดือนจึงจะโตเต็มวัย อย่างไรก็ตาม เพลี้ยไฟสามารถเริ่มทำลายต้นข้าวได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อนอยู่ เนื่องจากจะคอยอาศัยอยู่ตามซอกใบ จึงอาจยากที่จะสังเกตเห็นแบบผิวเผิน และเมื่อสังเกตไม่ดี ปล่อยไว้เรื่อยๆ สุดท้ายใบข้าวก็จะเหี่ยว ม้วน และถ้ายังไม่ได้รับการสกัดกั้นการระบาดอีก ต้นข้าวก็จะตายได้ในที่สุด
2. เพลี้ยกระโดดหลังขาว
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sogatella furcifera (Horvath) เป็นแมลงปากดูดเช่นเดียวกับเพลี้ยไฟ ต่างกันตรงที่จะมีจุดที่ปีกและมีแถบสีขาวตรงอกด้วย นอกจากนี้ยังมีทั้งสีน้ำตาล ดำ และเหลือง มีทั้งแบบปีกสั้นและปีกยาว
เพลี้ยกระโดดหลังขาวจะวางไข่ทีละหลายร้องฟองในใบและกาบใบข้าว จากนั้นเมื่อฟักออกมาเป็นตัวอ่อน จนถึงตอนโตเต็มวัยแล้ว จะซ่อนอยู่ในกอข้าว และจะดูดกินน้ำเลี้ยงของข้าว ทำให้ใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มด่างๆ ซีดๆ ถ้าปล่อยไว้เฉยๆ ต้นข้าวจะแห้งตาย
3. หนอนกระทู้กล้า
หรือ Spodoptera mauritia (Boisduval) ตัวเต็ม…หรือผีเสื้อ จะวางไข่บริเวณยอดอ่อนของข้าว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะฟักออกมาเป็นหนอน และจะเริ่มกัดกินใบข้าว โดยส่วนมากจะเป็นเวลากลางคืน
เมื่อกัดกินใบข้าวจนแหว่งแล้ว หนอนก็จะกัดกินต้นกล้าลงไปเรื่อยๆ ถือเป็นการทำลายที่รวดเร็วมาก ส่วนใหญ่จะใช้เวลาแค่ 2 วันเท่านั้น มักพบระบาดในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ยังสามารถย้ายจากแปลงข้าวหนึ่งไปสู่อีกแปลงข้าวได้ภายในเวลาไม่นาน และจะไปเป็นกลุ่มเป็นกองทัพ
4. เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว
เป็นพาหะนำโรคใบส้ม ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ลักษณะของเพลี้ยชนิดนี้ คือตัวเต็มวัยจะมีสีเขียว มีสีดำที่ปลายปีก ส่วนตัวอ่อนจะมีลำตัวเป็นปล้องๆ และเป็นสีน้ำตาลใสๆ
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถเข้าทำลายต้นข้าวได้ โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ต้นข้าวจึงไม่เติบโต และสามารถแห้งตายได้ในที่สุด หรืออาจนำโรคใบส้มมา ทำให้ต้นข้าวโตไม่เต็มที่ เมล็ดข้าวไม่ออกรวงสวย
5. หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว
หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrellia spp. ตอนแรกจะเป็นหนอน แต่เมื่อโตไปแล้วจะเป็นแมลงวัน ปรกติมีสีเทาอ่อน วางไข่ประมาณ 100 ฟองภายใน 1 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะฟักออกมาจากไข่ภายในไม่เกิน 6 วัน หลังจากนั้นก็จะเป็นหนอนอยู่ประมาณ 12 วัน เป็นดักแด้ประมาณ 7-10 วัน และโตเต็มวัยในที่สุด
ตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นตัวหนอน ศัตรูข้าวชนิดนนี้ก็สามารถกัดกินใบข้าวอ่อนๆได้ในทันที จะสังเกตได้ว่ามีรอยแหว่ง มีสีซีด ปล่อยไปนานๆต้นข้าวจะแคระแกร็น ปัญหานี้มักจะเกิดกับต้นข้าวที่ให้ผลผลิตสูง และแปลงข้าวที่มีน้ำขังปริมาณมาก
6. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Nilaparvata lugens (Stål) ตัวเต็มวัยจะมีสีเหลืองอมน้ำตาล จัดเป็นแมลงปากดูด มีทั้งแบบปีกยาวและปีกสั้น มักวางไข่ที่กาบใบข้าวหรือเส้นกลางใบ และจะวางทีละเป็นกลุ่ม เมื่อวางไข่แล้ว จะใช้เวลาในการเป็นตัวอ่อนประมาณ 17 วัน และเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะทำลายต้นข้าวด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำท่ออาหาร ซึ่งอยู่บริเวณโคนต้นข้าวเหนือผิวน้ำ นานๆไปต้นข้าวจะเริ่มใบแห้ง มีรอยไหม้ และยังสามารถนำโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าวได้อีกด้วย ต้นข้าวจึงยิ่งแห้ง เหี่ยว ใบบิดผิดรูปทรง
วิธีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าว
- คอยสังเกตแปลงข้าวอย่างละเอียดอยู่เป็นประจำ
- หมั่นกำจัดวัชพืชที่อยู่บริเวณแปลงข้าว เพื่อไม่ให้มีแมลงใดๆมาซุกซ่อนได้
- เลือกปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน
- เลือก “พาซาแทป 4 จี” และ “นาแดน 6 จี” สองผลิตภัณฑ์ยาหว่าน กำจัดเพลี้ยและหนอนในนาข้าว คุณภาพสูง จาก ICP Ladda
รู้จักกับ “พาซาแทบ 4 จี” และ “นาแดน 6 จี”
พาซาแทบ 4 จี: จัดเป็นสารกลุ่ม Nereitoxin analogue ประกอบด้วย Cartab hydrochloride 4% GR มีลักษณะเป็นเม็ดทรายเคลือบ ใช้งานง่าย ไม่เป็นฝุ่นฟุ้งและไม่เหนียวติดมือ ออกฤทธิ์แบบดูดซึม เมื่อหว่านไปแล้วจะทำให้แมลงไม่สามารถกินต้นข้าวได้ จนตายในที่สุด สามารถใช้กำจัดหนอนได้หลายชนิด เช่น หนอนกอข้าว หนอนกอสีชมพู หนอนกอลาย ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งานได้ทันที โดยหลังจากหว่านเข้าไปแล้วประมาณ 20-30 วัน ให้หว่านพาซาแทบ 3-5 กก. ต่อพื้นที่ 1 ไร่ หว่านให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 30 วันแล้วหว่านซ้ำอีกรอบ
นาแดน 6 จี: เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำจัดได้ทั้งหนอนและเพลี้ย ตอบโจทย์และครอบคลุมที่สุด โดยนาแดนจะเป็นสารกลุ่ม Nereitoxin analogue + Carbamate ที่ประกอบด้วย Cartap hydrochloride 3% + Fenobucarb 3% GR เป็นเม็ดทรายเคลือบเช่นเดียวกับพาซาแทบ ใช้งานง่าย และไม่เป็นฝุ่นหรือคราบเหนียว ออกฤทธิ์ทั้งแบบดูดซึม สัมผัสตายและกินตาย
ใช้งานได้เลยทันที ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ 3-5 กก.ไปหว่านในพื้นที่ 1 ไร่ โดยให้หว่านหลังจากหว่านข้าวไปแล้วประมาณ 20-30 วัน หลังจากนั้นให้รอเวลาอีก 1 เดือน แล้วหว่านใหม่อีกครั้ง
ข้อแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์
- สวมถุงมือและหน้ากากป้องกันทุกครั้ง
- ล้างมือให้สะอาดหลังการใช้งาน
- ห้ามทิ้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หมดแล้วลงในแหล่งน้ำโดยเด็ดขาด ให้นำไปแยกทิ้งขยะให้เรียบร้อย
- เก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างไกลจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง