1438 จำนวนผู้เข้าชม

โรคเมล็ดด่าง หรือโรคเมล็ดลาย (Dirty panicle disease) ในนาข้าว มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายชนิด ที่พบมากมีเชื้อราประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Bipolaris oryzae, Fusarium semitectum, Trichoconis padwickii, Sarocladium oryzae ซึ่งสามารถพบการระบาดของโรคได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและทุกฤดูการเพาะปลูก เกษตรกรควรหมั่นเฝ้าสังเกตอาการของโรค หรือพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชป้องกันการระบาดของโรค
อาการจะพบในระยะออกรวง แผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
ในการป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่างจะต้องคำนึงถึงโรคข้าวที่เกิดขึ้นก่อนที่ข้าวออกรวง เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคไหม้ และโรคกาบใบแห้ง เป็นต้น ถ้าพบการระบาดของโรคต่างๆข้างต้น เราควรทำการพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันกำจัดตั้งแต่เบื้องต้น หรือโดยทั่วไปทำการพ่นในระยะข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง และระยะออกรวง 5-10% โดยสารป้องกันกำจัดเชื้อราต่างๆ มาแนะนำให้เกษตรกรเลือกใช้ดังตาราง

กลุ่ม 1 ขัดขวางการแบ่งเซลล์ของเชื้อรา มีฤทธิ์แบบป้องกันและรักษา เป็นสารประเภทดูดซึมเคลื่อนย้ายสู่ส่วนยอดได้
กลุ่ม 2 ยับยั้งการงอกของสปอร์และการเจริญของเส้นใยเชื้อรา เป็นสารประเภทดูดซึมที่เคลื่อนย้ายได้เล็กน้อยแบบ locally systemic
กลุ่ม 3 เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มไตรอะโซล ยับยั้งส่วนประประกอบของผนังเซลล์ของเชื้อรา มีฤทธิ์แบบป้องกันและรักษา บางชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสปอร์ เป็นสารประเภทดูดซึมที่เคลื่อนย้ายได้เล็กน้อยแบบ locally systemic
กลุ่ม 11 เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดดูดซึม โดยออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจง ป้องกันและกำจัดเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด สารประเภทดูดซึมที่เคลื่อนย้ายได้เล็กน้อยแบบ locally systemic ยกเว้นอะซอกซีสโตรบินเคลื่อนย้ายเคลื่อนย้ายสู่ส่วนยอดได้ สารกลุ่มนี้นิยมใช้ร่วมกับสารกลุ่ม 3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันการดื้อยากลุ่ม M03 ออกฤทธิ์ต่อเชื้อราหลายตำแหน่ง ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เป็นสารที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อควรใช้ก่อน เป็นสารประเภทสัมผัสไม่ดูดซึม การใช้ต้องพ่นให้ครอบคลุมต้นพืชจึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ถ้าข้าวเป็นโรคมากแล้วไม่แนะนำ
ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกใช้สารตามข้างต้นในการควบคุมโรค เพื่อป้องกันโรคเมล็ดด่างในข้าวโดยควรหมุนเวียนกลุ่มของสารไม่ใช้สารกลุ่มเดียวกันต่อเนื่อง หรือการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชต่างกลุ่มร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันเชื้อสาเหตุโรคดื้อยา

การแพร่ระบาด
– เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้
การป้องกันกำจัด
– ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1
– เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
– คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิมหรือแมนโคเซบ ในอัตรา 3 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
– ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการชองโรคใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง หรือโรคกาบใบเน่า และมีฝนตกชุก ให้ทำการป้องกันโดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โพรพิโคนาโซล โพรพิโคนาโซล +ไดฟีโนโคนาโซล หรือ โพรพิโคนาโซล+โพรคลอราซ หรือ คาร์เบนดาซิม+อีพ๊อกซี่โคนาโซล หรือ ฟูซิราโซล หรือ ทีบูโคนาโซล หรือ โพรคลอราซ+คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซบหรือ คาร์เบนดาซิม +แมนโคเซบ ตามอัตราที่ระบุ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
โรคเมล็ดด่างในนาข้าว
โรคเมล็ดด่างเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้า…
-
ฮอร์โมนพืชคืออะไร?
ฮอร์โมนพืชเป็นสารอินทรีย์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเจริญเติบโตของพืช ทั้งการ…
-
4 โรคควรระวังหากปลูกพืชตระกูลแตง
4 โรคควรระวังหากปลูกพืชตระกูลแตง โรคราแป้งขาวแตงกวา (Powdery mildew) โรคราน้ำค้า…
-
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน
โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน เป็นโรคที่สําคัญที่สุด ที่ทำความเสียหายต่อผลผลิต …