45586 จำนวนผู้เข้าชม
การปลูกข้าวไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าจะได้ข้าวสารสวยๆใส่กระสอบมาขายให้เราได้เอาไปหุงทานเป็นมื้ออาหารอร่อยๆกัน ชาวนาต้องประสบกับปัญหายากลำบากในการปลูกข้าวมากมาย ทั้งสภาพอากาศ ทั้งเรื่องดิน ทั้งศัตรูพืช และแน่นอนที่สุดที่ลืมไม่ได้เลย…คือเรื่องวัชพืชตัวร้ายอย่าง “ข้าวดีด”
ทำไม “ข้าวดีด” ถึงถูกเรียกว่าเป็นวัชพืชตัวร้าย?
การระบาดของข้าวดีดในไทยถูกพบครั้งแรกในปี 2518 ที่จังหวัดสงขลา แต่ปัจจุบันพบการระบาดทั่วพื้นที่การปลลุกข้าว โดยความน่ากลัวของมันอยู่ตรงที่ว่าดูเผินๆแล้วมันเหมือนกับข้าวธรรมดามากจนแยกแทบไม่ออก ทำให้ชาวนาอาจไม่รู้ว่าในแปลงข้าวของตนเองมีวัชพืชอยู่ เลยไม่ได้เฝ้าระวังอะไร มารู้อีกทีก็ตอนที่ผลผลิตเสียหายไปแล้ว ยิ่งปล่อยไว้นานมากก็ยิ่งเสียหายมาก สูงสุดสามารถเสียหายได้ถึง 800 กก.ต่อไร่เลยทีเดียว
ข้าวดีดมีลักษณะอย่างไร?
ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าข้าวดีด แต่จริงๆแล้วมันมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี
1.ข้าวดีด, ข้าวเด้ง
เมล็ดมีเปลือกสีน้ำตาล ดำ หรือแดง และมีหาง
2. ข้าวแดง, ข้าวลาย
เปลือกสีน้ำตาลอมแดง เช่นเดียวกับสีเยื่อ และมักไม่มีหางที่เมล็ด
3. ข้าวหาง
หางยาว และมีเปลือกสีดำหรือน้ำตาล
วิธีป้องกันและกำจัดข้าวดีด
อย่าเพิ่งกลุ้มใจไป เพราะถึงแม้ว่าข้าวดีดจะเป็นวัชพืชที่แสนจะน่ารำคาญและสร้างความเสียหายมหาศาลให้กับนาข้าวได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่มีทางกำจัดมัน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ข้าวดีดนั้นเกิดจากการผสมกันระหว่างข้าวป่าและข้าวปลูกทั่วไป โดยปัจจัยในการระบาดนั้นมีมากมาย เช่น อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ที่ชาวนานำมาเพาะปลูก ติดมากับอุปกรณ์ทำนา หรือบางครั้งข้าวก็กลายพันธุ์เองได้ ดังนั้นในส่วนของการป้องกันอาจทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากต้องคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างดีที่สุดและรับมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ทำนาอย่าให้มีอะไรติด
ในส่วนของการกำจัด หนึ่งในวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดคือการปล่อยเป็ดลงนาประมาณ 300 ตัว ให้เป็นอยู่อย่างนั้นประมาณ 2 วัน เพราะเป็ดสามารถกินข้าวดีดได้จนหมด หรือถ้าหากใครไม่มีเป็ด ก็ให้แก้ด้วยการหยุดทำนาไปก่อนประมาณ 1-2 เดือน เพื่อทำเทือก ไถพรวน และเตรียมดินใหม่แทน เมื่อทำเสร็จแล้วระบายน้ำออกจากนา ข้าวดีดจะงอกหลังจากนั้น เมื่อเห็นว่างอกแล้วให้ทำอย่างเดิมซ้ำอีก 2 รอบ หลังจากนั้นข้าวดีดจะลดลง
หรือ…ทางเลือกที่สาม ที่ได้ผลชะงัด และประหยัดเวลามากกว่า เลือกใช้ “ทูโฟฟอส” จาก ไอซีพี ลัดดา ช่วยชาวนากำจัดข้าวดีดแบบถอนรากถอนโคน!
ทำไมต้องเป็นทูโฟฟอส?
เพราะทูโฟฟอสประกอบด้วย butyle (2,4-dichlorophenoxy)acetate+N-butoxymethyl-2-chloro-2’,6,-diethlacetanilide..……………….3.76%+1.5% GR ทำให้เป็นสุดยอดยาฆ่าวัชพืช ใช้งานง่าย เป็นแบบหว่าน ไม่ต้องผสมอะไรให้ยุ่งยาก หมดปัญหาข้าวดีดในนาข้าว ทั้งช่วยกำจัดและป้องกันไม่ให้ของใหม่งอกซ้ำด้วย
ที่สำคัญคือกระสอบใหญ่จุใจ โดย 1 กระสอบสามารถใช้หว่านได้ถึง 5 ไร่เลยทีเดียว(ขึ้นอยู่กับปริมาณในการหว่านแต่ละครั้งด้วย)
ทูโฟฟอสใช้อย่างไร?
- สำหรับนาหว่านน้ำตม ให้เริ่มหว่านทูโฟฟอสหลังจากหว่านข้าว 7-12 วัน
- สำหรับนาดำ ให้เริ่มหว่านทูโฟฟอสหลังจากหว่านข้าวประมาณ 5-7 วัน
ข้อแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์
- สวมถุงมือและหน้ากากทุกครั้งที่ใช้งาน
- หลังใช้งานเสร็จแล้วให้ล้างมือให้สะอาด
- หากใช้ผลิตภัณฑ์ไม่หมดหลังจากแกะกระสอบแล้ว ให้มัดปากกระสอบให้แน่น หรือเทเก็บในถังที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ
- เก็บผลิตภัณฑ์ในที่ที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เก็บให้มิดชิดจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ห้ามทิ้งกระสอบที่ใช้เสร็จแล้วตามแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเด็ดขาด
โปรดอ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด*