1703 จำนวนผู้เข้าชม
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย เกษตรกรจึงต้องใส่ใจในการปลูกมากเป็นพิเศษ ไม่อย่างนั้นจะได้ผลผลิตไม่เพียงพอ
ซึ่งการปลูกข้าวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทั้งเพราะสภาพดินฟ้าอากาศก็ไม่เป็นใจ บ้างก็แล้งจนนาข้าวแห้งเหือดหมด บ้างก็ฝนตกจนนาข้าวน้ำท่วมเสียหาย นอกจากนี้ยังมีโรคพืชมากมายที่พร้อมจะทำลายต้นข้าว และเท่านั้นยังไม่พอ ในนาข้าวมีแมลงศัตรูพืชมากมายอีกต่างหาก ที่ถ้าเผลอไปแค่แปบเดียว มันก็จะทำลายข้าวลุกลามเป็นวงกว้าง จนผลผลิตเสียหายหมด ทำให้เหนื่อยฟรี รายได้ก็เสีย
เพราะฉะนั้น เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชในนาข้าวให้มากๆ ว่ามีแมลงอะไรบ้าง และที่สำคัญจะปราบพวกมันได้อย่างไร
ลองมาดูสิ่งที่เราเลือกนำเสนอในบทความนี้กัน เริ่มต้นที่แมลงศัตรูพืชที่พบได้บ่อยในนาข้าวก่อน ดูว่ามีแมลงอะไรบ้าง จากนั้นมาดูวิธีกำจัดและป้องกันพวกมันกัน
แมลงศัตรูพืชในนาข้าวที่พบได้บ่อย
1. เพลี้ยไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีสีดำ ส่วนตัวอ่อนจะสีเหลืองอ่อน มีทั้งแบบมีปีกและไม่มีปีก แมลงชนิดนี้จะวางไข่ในเนื้อเยื่อของข้าว ส่วนการทำลาย ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงใบในช่วงที่ยังเป็นต้นกล้า ทำให้ถึงแม้ว่าข้าวอาจจะโตได้จริง แต่ก็จะโตมาแบบไม่สมบรณ์ ใบเหี่ยว แห้ง ลุกลามไปเรื่อยๆจนกระทั่งต้นข้าวตายยกแปลง
2. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Nilaparvata lugens (Stål) จัดเป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่ง มีทั้งแบบปีกสั้นและปีกยาว โดยตัวเต็มวัยของแบบปีกสั้นจะมีสีค่อนข้างเหลือง ในขณะที่แบบปีกยาวจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆปนเหลือง และสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลด้วยกระแสลม
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะวางไข่บริเวณกาบใบข้าวและเส้นกลางใบ ในช่วงนี้จะสังเกตได้ง่าย เพราะส่วนไหนของใบที่มีรอยช้ำ หมายความว่าจุดนั้นคือจุดที่เพลี้ยวางไข่อยู่ ส่วนการทำลายข้าว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงกิน ทำให้ใบแห้ง ซีด เหลือง บิด บิ่น และต้นข้าวไม่โต
3. หนอนแมลงวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hydrellia spp. ลำตัวเป็นสีเทา ชอบเลือกต้นข้าวที่เพิ่งปลูกใหม่ๆและมีน้ำขัง เพราะหนอนแมลงวันจะเกาะบนใบข้าวในส่วนที่อยู่ใกล้กับผิวน้ำ และจะกัดกินใบข้าวไปเรื่อยๆทั้งๆที่ใบข้าวยังอ่อนอยู่ สังเกตได้ไม่ยาก เพราะใบจะขาด แหว่ง ซีด
4. ผีเสื้อหนอนกระทู้กล้า
ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Spodoptera mauritia (Boisduval) พบเยอะมากในช่วงฤดูฝน จัดเป็นผีเสื้อกลางคืนชนืดหนึ่ง ตัวเต็มวัยจะมีปีกคู่หน้าสีเทา น้ำตาล ปีกคู่หลังจะสีขาว ส่วนตัวหนอนมีได้ทั้งสีเทา เขียว ดำ ตัวหนอนจะเข้าทำลายข้าวด้วยการกัดกินผิวข้าว จากนั้นจะพัฒนาไปกินใบจนเหลือแต่ก้าน
วิธีรับมือกับปัญหาแมลงศัตรูพืช
ขั้นแรกที่สุดคือต้องคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะนำเข้ามาปลูกอย่างดี และเลือกรับพันธุ์ข้าวจากแหล่งที่ทราบที่มาแน่ชัดเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีแมลงหรือเชื้อโรคปะปนมา
เมื่อเริ่มลงมือปลูกแล้ว ผู้ปลูกต้องหมั่นตรวจตราแปลงข้าวบ่อยๆ ว่ามีอะไรผิดปรกติบ้าง จะได้รีบแก้ไขแต่เนิ่นๆ ไม่ปล่อยให้ลุกลามจนผลผลิตเสียหายยกแปลง
และที่สำคัญ…ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ อย่าง “โฮป”
ทำไมต้องเป็นโฮป?
เพราะโฮปคือสุดยอดยากำจัดแมลงในดิน จัดอยู่ในกลุ่ม Phenylpyrazoles(Fiproles) และประกอบด้วย Fipronil 0.3% GR
โฮปออกฤทธิ์แบบดูดซึมจากล่างขึ้นบน แบบกินตายและถูกตัวตาย โดยตัวยาจะเข้าไปทำลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อของแมลงทันทีที่มันสัมผัสถูกแมลง แมลงจึงชักตายภายในชั่วอึดใจ
โดยโฮปสามารถกำจัดแมลงได้หลากหลายชนิด และที่สำคัญคือใช้กับพืชได้ทุกชนิด ไม่ใช่แค่ข้าวเท่านั้น
ข้อดีของโฮปคือไม่ต้องผสมน้ำก่อนใช้ เพราะผลิตภัณฑ์เป็นแบบผง มาเป็นกระสอบ ดังนั้นเวลาใช้ก็เพียงแค่นำไปโรยในแปลงข้าวเท่านั้น โดย 1 กระสอบ(15 กิโลกรัม) จะใช้ได้ 3-5 ไร่ และหลังจากเปิดถุงแล้ว ต้องมัดปากถุงให้สนิทเพื่อไม่ให้อะไรเข้าไปในถุงผลิตภัณฑ์ ดีที่สุดคือควรย้ายผลิตภัณฑ์ไปเก็บในกล่องที่มีฝาปิดมิดชิด
ข้อควรระวังในการใช้โฮป
- สวมหน้ากากและถุงมือป้องกันทุกครั้งเวลาจะใช้งาน และห้ามถอดออกเด็ดขาดจนกว่าจะใช้งานเสร็จ
- หลังใช้งานเสร็จให้ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง แม้จะสวมถุงมือตอนใช้ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน
- ในกรณีที่ไม่ได้ย้ายผลิตภัณฑ์ที่เหลือไปเก็บในกล่องมีฝาปิดแทน ต้องเก็บกระสอบไว้ในที่มิดชิดจริงๆ ที่ๆสัตว์เลี้ยงและเด็กไม่สามารถเล่นซน ที่ๆห่างไกลจากอาหาร แนะนำให้เก็บในตู้ หรือในเรือนสำหรับเก็บอุปกรณ์การเกษตรโดยเฉพาะจะดีที่สุด
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายอย่างเคร่งครัด
- กระสอบที่ใช้เสร็จแล้ว ห้ามนำไปทิ้งลงแหล่งน้ำหรือตามแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใดๆก็ตามโดยเด็ดขาด ควรนำไปทิ้งแยกประเภทขยะให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- หลีกเลี่ยงการสูดดมผลิตภัณฑ์โดยเด็ดขาด
- ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสถูกร่างกายแล้วเกิดการระคายเคือง เบื้องต้นให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นหรืออาการเป็นมากกว่าระคายเคือง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ในกรณีที่เห็นผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์มีความผิดปรกติ ไม่ควรใช้งาน และให้รีบปรึกษาผู้จำหน่ายในทันที