1968 จำนวนผู้เข้าชม

หนึ่งในปัญหาสำคัญของบรรดาเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หนีไม่พ้นแมลงศัตรูพืชแน่นอน ไม่ว่าจะเลือกปลูกข้าวชนิดไหนก็ตาม
ดังนั้น การทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชเหล่านั้น พร้อมด้วยวิธีการป้องกันและกำจัดที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของไทย จะได้ไม่เสียหาย ผลผลิตจะได้ออกมาดี จำหน่ายได้ในราคาดีๆ
แมลงศัตรูข้าวที่พบได้บ่อย
1.หนอนกอข้าว
หนอนกอข้าวที่พบในบ้านเราแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
– หนอนกอข้าวสีครีม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirpophaga incertulas (Walker)
-
หนอนกอแถบลาย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chilo suppressalis (Walker)
-
หนอนกอแถบลายสีม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chilo polychrysus (Meyrick)
-
หนอนกอสีชมพู ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesamia inferens (Walker)
ทำลายต้นข้าวได้ตั้งแต่ต้นอ่อนไปจนถึงข้าวออกรวง กระบวนการทำลายจะเริ่มจากการเจาะกาบใบ ในช่วงนี้จะเห็นใบเป็นสีเหลืองๆ และเมื่อโตขึ้น ก็จะกัดลำต้น และใบข้าวต่อไป ปล่อยไว้นานๆต้นข้าวจะยิ่งเสียหายหนักหรือตายได้
2. หนอนม้วนใบข้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ของหนอนชนิดนี้คือ Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) สาเหตุที่ทำให้ถูกเรียกว่าหนอนใบข้าว ก็เพราะว่าตัวหนอนจะมีการพ่นเส้นใยใส่ขอบใบข้าว แล้วดึงใบข้าวให้มาหุ้มตัวเอง
หนอนม้วนใบข้าววางไข่ครั้งละหลายร้อยฟองโดยวางที่ใบ จากนั้น เมื่อหนอนฟักออกมาก็จะเริ่มกินใบข้าว ทำให้ข้าวสังเคราะห์แสงได้ลดลง หากเป็นระยะออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ ซึ่งหนอนนั้นมีลำตัวสีขาวใส และหัวสีน้ำตาลอ่อน เมื่อโตไปแล้วจะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน
3. หนอนปลอก
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Nymphula depunctalis Guenee ลำตัวมีสีครีมๆ แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียจะวางไข่เรียงเป็นแถวใต้ใบข้าว ส่วนตัวผู้จะตายทันทีหลังจากผสมพันธุ์ และเมื่อหนอนฟักออกมาแล้ว ก็จะเริ่มกัดกินต้นข้าว พร้อมทั้งใช้ใยของตัวเองดึงใบข้าวมาเป็นปลอกหุ้มตัวด้วย เมื่อทำลายข้าวในบริเวณหนึ่งจนเสียหายแล้วก็จะใช้ปลอกเดิมลอยน้ำไปยังต้นข้าวต้นใหม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ
หนอนชนิดนี้สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ โดยจะมีเหงือกมากถึง 6 แถวสำหรับใช้หายใจใต้น้ำ
4. เพลี้ยไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Stenchaetothrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่ง ลำตัวมีขนาดเล็ก มีทั้งแบบมีปีกและไม่มีปีก เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะเป็นสีดำ
กระบวนการทำลายข้าวของเพลี้ยไฟเริ่มตั้งแต่การวางไข่ในเนื้อเยื่อใบข้าว จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นการดูดกินน้ำเลี้ยง ถ้าปล่อยไว้นานๆ ต้นข้าวจะแห้งเหี่ยว และตายได้ในที่สุด
จะป้องกันและกำจัดแมลงเหล่านี้อย่างไรดี?
เกษตรกรต้องหมั่นตรวจตราแปลงปลูกข้าวอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังควรคัดเลือกข้าวพันธุ์ที่มีความต้านทานสูง และเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรปะปนมา
ที่สำคัญ…อย่าลืมเลือก “แอสไปร์ และ ไฮซีส” สองผลิตภัณฑ์คู่หูปราบแมลงร้าย มาคอยดูแลต้นข้าวของคุณให้ปลอดภัยอีกแรง
ใช้คู่กัน เพื่อประสิทธิภาพเต็มเปี่ยม!
แอสไปร์ : เป็นผลิตภัณฑ์ยับยั้งการลอกคราบของหนอน ประกอบด้วย Lufenuron 5% W/V EC เมื่อใช้แล้วจะทำให้หนอนเจริญเติบโตต่อไปไปไม่ได้ จึงไม่สามารถทำลายข้าวได้ สามารถใช้กำจัดหนอนได้มากมายหลายชนิด เพียงแค่ใช้ผลิตภัณฑ์ 60 ซีซี พ่นในพื้นที่ 1 ไร่ จากนั้นให้เว้นไป 5 วันแล้วพ่นซ้ำอีก
ไฮซีส : ขาดไม่ได้สำหรับยาฆ่าหนอนตัวนี้ เพราะเป็นสารกลุ่ม Avermectin ประกอบด้วย Emamectin benzoate 2.0% W/V ME ออกฤทธิ์แบบดูดซึม กินตาย และถูกตัวตาย ซึมเข้าใบได้เร็วและออกฤทธิ์ได้เร็ว ใช้งานง่ายเพียงแค่ใช้ผลิตภัณฑ์ 60 ซีซี พ่นในพื้นที่ 1 ไร่ เพียงไม่กี่อึดใจหลังจากที่หนอนสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อก็จะถูกทำลาย ทำให้หยุดกินพืช และตายได้ในที่สุด
สามารถผสมใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งสอง ฉีดพร้อมกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนและเพลี้ยไฟในนาข้าวให้ดีมากขึ้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
ตายเรียบ ถอนเผ่าพันธุ์ ด้วยแอสไปร์ ไฮซีส
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm) เป็นแมลงศัตรูพืชที่อันตรายต่อข้าวโพด ที่…
-
หมดปัญหา "หนอนกระทู้"กวนใจข้าวโพด ด้วย ไฮซีส!
ปัญหาที่กำลังมาแรงในช่วงนี้คงหนีไม่พ้น “หนอนกระทู้” ที่กำลังระบาดหนักในข้าวโพด โ…
-
ทำไมต้องเลือกใช้ "ไฮซีส" สูตร ME ?
ทำไม... ต้องเลือกใช้ไฮซีส สูตร ME ? สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรนั้นมีอยู่มากมายหลายช…
-
โรคแส้ดำในอ้อย
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อโรครานี้ อาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของต…