โรคแอนแทรคโนสมะม่วง - ICPLADDA

โรคแอนแทรคโนสมะม่วง

3352 จำนวนผู้เข้าชม

แอนแทรคโนสมะม่วง
   เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และจัดเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะม่วง ของประเทศไทย เชื้อราสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญของมะม่วงตลอดฤดูการปลูก ทำให้การควบคุมโรคยาก โดยความเสียหายที่สำคัญเมื่อเชื้อโรคเข้าทำลายในผลมะม่วงระยะใกล้สุกทำให้ผลเน่าเสีย โดยเฉพาะมะม่วงที่รับประทานแบบผลสุก เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ และมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดกว่าพันธุ์อื่นๆ
โรคแอนแทรกโนสในมะม่วง-02
   อาการ ใบอ่อนเกิดแผลสีนํ้าตาล ขอบแผลสีนํ้าตาลเข้ม ขนาดแผลไม่แน่นอน เมื่อแผลขยายติดกันจะเกิดอาการไหม้บิดเบี้ยว  เมื่อแทงช่อดอก เชื้อจะเข้าทำ ลายทำ ให้ช่อดอกเป็นแผลไหม้ แห้ง ดอกร่วง ช่อที่ติดผลอ่อนรวมทั้งผลแก่จะมีแผลจุดดำ เมื่ออากาศมีความชื้นสูงจะเกิดสปอร์สีชมพูขึ้นตามแผล เชื้อสามารถเข้าทำลายผลอ่อนแบบแฝงโดยยังไม่แสดงอาการของโรคและจะแสดงอาการโรคเมื่อผลสุกการแพร่ระบาด อาการโรคบนใบ กิ่ง และ ผล เป็นแหล่งสะสมเชื้อซึ่งแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ ได้ โรคจะระบาดมากในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นโดยอาศัยลมฝน เมื่อสปอร์ได้รับความชื้นจะสามารถงอกเจริญออกมาทำลายส่วนต่างๆ ของพืช
อาการของโรคแอนแทรคโนสมะม่วง
การจัดการโรค
  • ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูก ป้องกันการติดเชื้อโดยใช้ถุงห่อผลมะม่วง
  • ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma asperellum) หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus subtilis)
  • ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ ( mancozeb ) โพรพิเนบ ( propi neb ) โพรคลอราซ ( prchloraz ) อะซ็อกซีสโตรบิน ( azoxy strobin) ไพราโคลสโตรบิน (pyraclostrobin) เป็นต้น
  • จุ่มผลมะม่วงในนํ้าร้อน 55 องศาเซลเซียส นาน 3 – 5 นาที
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า