1272 จำนวนผู้เข้าชม
กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศออกมาแล้วว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนเรียบร้อยแล้ว แต่สภาพอากาศนั้นแทนที่จะมีฝนตกมาตลอด กลับกลายเป็นฝนบ้าง แดดออกบ้างสลับกันไป เมื่อสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงเชื้อราในนาข้าว ซึ่งก่อให้เกิดโรคต่างๆในนาข้าว วันนี้ ไอซีพี ลัดดา จะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับโรคที่มักเกิดเป็นประจำในนาข้าว
โรคใบจุดสีน้ำตาล
เกิดจากเชื้อรา Bipolaris oryzae ชื่อเดิม Helminthosporium oryzae (Breda de Haan.) Shoemaker, 1959 มักเป็นโรคที่พบเสมอในนาข้าว โดยจะแสดงแผลรูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกจะมีสีเหลือง อีกทั้งแผลยังสามารถเกิดบนเปลือกข้าวเปลือกทำให้เป็นโรคเมล็ดด่าง
โรคใบขีดสีน้ำตาล
เกิดจากเชื้อรา Cercospora oryzae I. Miyake เป็นโรคที่พบทั่วไปในนาข้าว โดยจะแสดงอาการารที่ใบข้าว มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลขีดๆ ไปตามแนวเส้นใบข้าว มักเกิดในระยะข้าวแตกกอ และจะเป็นรุนแรงในข้าวระยะออกรวง สามารถพบได้ทั้งนาน้ำฝน และนาน้ำชลประทาน
โรคเมล็ดด่าง
เกิดจากเชื้อราหลักๆ 6 ชนิดได้แก่
1.Curvularia lunata (Wakk) Boed.
2.Cercospora oryzae I.Miyake.
3.Bipolaris oryzae Breda de Haan.
4.Fusarium semitectum Berk & Rav.
5.Sarocladium oryzae Sawada.
6.Trichoconis padwickii Ganguly. ชื่อเดิมคือ Alternaria padwickii (Ganguly) M.B. Ellis
จะพบอาการในระยะออกรวง เนื่องจากมีเชื้อราหลายชนิดเข้าทำลาย ทำให้เกิดแผลแตกต่างกันไป เช่นเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ หรือมีลายสีน้ำตาลดำ หรือสีเทาปนชมพูที่เมล็ดบนรวงข้าว การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่างจะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
โรคกาบใบเน่า
สาเหตุ เชื้อรา Sarocladium oryzae Sawada
อาการ ข้าวแสดงอาการในระยะตั้งท้องโดยเกิดแผลสีน้ำตาลดำบนกาบห่อรวง ตรงกลางแผลมีกลุ่มเส้นใยสีขาวอมชมพู แผลนี้จะขยายติดต่อกันทำให้บริเวณกาบหุ้มรวงมีสีน้ำตาลดำและรวงข้าวส่วนใหญ่โผล่ไม่พ้นกาบหุ้มรวง หรือโผล่ได้บางส่วน ทำให้เมล็ดลีบและมีสีดำ
โรคกาบใบแห้ง
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)
โรคนี้มักพบระบาดในเขตปลูกข้าวระบบนาชลประทานที่ปลูกข้าวตลอดทั้งปี เชื้อสามารถมีชีวิตรอดอยู่ในตอซังข้าว วันพืชและในดินข้ามฤดูปลูกได้ มีอาการแผลสีเขียวปนเทา ปรากฏตามกาบใบบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถ ลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง
แก้ปัญหาเชื้อราในนาข้าว ด้วยรีโนเวท
สาร Prochloraz 40% + Propiconazole 9% EC
ออกฤทธิ์แทรกซึมและดูดซึม สามารถป้องกันและกำจัดโรคใบจุด ใบขีด โรคกาบใบแห้ง โรคกาบใบเน่า และโรคเมล็ดด่างในนาข้าว เพิ่มปริมาณเมล็ดดีในรวงมากขึ้น ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
อัตราแนะนำ 80cc/ไร่ หรือ 1L ใช้ได้ 12ไร่ สามารถฉีดพ่นได้ตั้งแต่ข้าวแตกกอ ตั้งท้อง ควรหลีกเลี่ยงฉีดช่วงข้าวตากเกสร
แหล่งข้อมูล
-กรมการข้าว
-ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
โรคราสีชมพูในทุเรียน
โรคราสีชมพูเป็นโรคที่มีความสำคัญโรคหนึ่งในทุเรียนที่ทำความเสียหายให้กับทุเรียนได…
-
โรคกาบใบแห้งของข้าว
โรคกาบใบแห้ง (sheath blight disease) เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งในข้าว โรคนี้จะระบาด…
-
อาการเมาตอซังของข้าว
อาการเมาตอซัง เกิดจากการย่อยสลายของตอซังที่ไม่สมบูรณ์เมื่อทำการปลูกข้าวลงไปในพื้…
-
ประโยชน์นานาสายพันธ์ุข้าวไทย
ข้าวหอมมะลิ มีถิ่นกำเนิดในไทย นิยมปลูกและทานกันอย่างแพร่หลายมีกลิ่นหอมคล้ายใบ…