4427 จำนวนผู้เข้าชม
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) เกิดจากอะไร
โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคพืชที่ทําให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ มีเชื้อราที่มีความสําคัญ เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส อยู่ในจีนัส Colletotrichum ทําให้เกิดความสูญเสียกับพืชเศรษฐกิจ ทั้งพืชตระกูลถั่ว หญ้า ผัก ไม้ผลและไม้ประดับ ทําให้ผลผลิตเน่าเสียอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่สามารถขนส่งระยะไกลได้ การระบาดของโรคเกิดขึ้นนรวดเร็วและรุนแรงในเขตที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง เชื้อราสามารถเข้าทําลายได้ทุกส่วนของพืชตั้งแต่ลําต้น ใบ ก้าน ดอก ผล และเมล็ด ทําให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลงถ้าเกิดกับต้นกล้าจะทําให้ต้นกล้าแห้งตายได้
เชื้อรา Colletotrichum spp.สามารถเข้าทําลายเซลล์พืชโดยตรงไม่ต้องผ่านช่องเปิดธรรมชาติหรือบาดแผล สามารถเข้าทําลายผลผลิต ตั้งแต่ระยะดอก ผลอ่อน โดยยังไม่แสดงอาการของโรค จัดเป็นการเข้าทําลายแบบแฝง(quiescent infection) จะแสดงอาการชัดเจนเมื่อผลผลิตแก่หรือเริ่มสุก ดังนั้น การเข้าทําลายจะเริ่มตั้งแต่อยู่ในแปลงปลูก โรคนี้พบกระจายอยูทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นจะพบการระบาดอย่างรุนแรง การระบาดของเชื้ออาศัยลม ฝน หรือแมลงที่บินมาเกาะบริเวณแผลทําให้สปอร์แพร่กระจายไปยังที่ต่าง ๆ เมื่อถูกความชื้นก็สามารถงอกเจริญได้
ลักษณะอาการของโรคแอนแทรคโนส
อาการของโรคแอนแทรคโนส เริ่มจากจุดแผลแห้งเล็ก ๆ สีน้ำตาลแล้วค่อย ๆ เข้มขึ้นขยายออกเป็นวงกลมหรือวงรีซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อาการของโรคจะเห็นชัดเจนในระยะที่ผลเริ่มสุกเมื่อมีความชื้นสูง จะพบการสร้างกลุ่มของสปอร์หรือ conidia สีส้มหรือสีชมพูเป็นหยดเหลวข้นบริเวณแผลโรคแอนแทรคโนสที่เกิดบนใบ ถ้าเกิดกับใบอ่อนทําให้ใบหงิกงออาการเริ่มจากจุดสีเทาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอยู่กระจัดกระจาย เนื้อเยื่อกลางแผลบางและฉีกขาดเป็นรู นอกจากนี้โรคแอนแทรคโนสยังสามารถเข้าทําลายกิ่ง ทําให้เกิดอาการไหม้ได้อีกด้วย
ดอก ใบ ใสสะอาด มั่นใจใช้ โคราซ ปราศจาก เชื้อแอนแทรคโนส
คุณสมบัติและ ประโยชน์
● เป็นสารกลุ่ม Imidazoles ออกฤทธิ์แบบกึ่งดูดซึม (translaminar) อยู่ในรูป EW มีความปลอดภัยต่อพืชสูงกว่ารูป EC สามารถแทรกซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อพืชได้ ออกฤทธิ์ทั้งป้องกันและรักษาควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
● ใช้ป้องกันกำจัด โรคแอนแทรสโนส โรคราแป้ง โรคใบจุดสนิท โรคช่อดอกดำ โรคสะแคป ผลเน่า
อัตราแนะนำ
ใช้อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่ว เมื่อพบการระบาดของโรคและพ่นซ้ำทุก 10-15 วัน
โปรดอ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด*
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
วิธีการกำจัดหนู ฉบับ ไอซีพี ลัดดา
วิธีการกำจัดหนู ฉบับ ไอซีพี ลัดดา
-
มาดู วิธีแก้ ข้าวดีด ข้าวเด้ง และวัชพืชดื้อยา ไอซีพี ลัดดา มีคำตอบ
เริ่มต้นทำนาข้าวฤดูนี้ ไอซีพี ลัดดา มีสินค้าสำหรับกำจัดข้าวดีดและวัชพืชดื้อยาที่…
-
กำจัดทั้งหญ้า ฆ่าทั้งข้าวดีด แบบฉบับไอซีพี ลัดดา
ข้าวดีด คือข้าววัชพืช ซึ่งแบ่งออกเป็น 3ชนิดคือ ข้าวดีด ข้าวหาง และข้าวแดง ซึ่งข้…
-
ปราบวัชพืชในนาข้าว
จบปัญหาหญ้าดอกขาวดื้อยาในนาข้าว ด้วยไดนาคลอร์ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากไอซีพลัดดาไดนาคลอ…