ข้อควรรู้ โดรนเพื่อการเกษตร - ICPLADDA

ข้อควรรู้ โดรนเพื่อการเกษตร

2737 จำนวนผู้เข้าชม

โดรนเกษตร
ข้อควรรู้ สำหรับเกษตรกรหรือผู้ให้บริการที่สนใจใช้โดรนเพื่อการเกษตร
ประเภทของโดรน
โดรนเพื่อการเกษตรมีหลายรูปแบบ ซึ่งในมิติของการใช้งานสามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
  1. โดรนสำรวจพื้นที่ (Data – mapping drone) ถูกออกแบบเพื่อใช้เก็บข้อมูลแบบ Real-Times และนำข้อมูลไปประมวลผลด้วยโมเดลทางการเกษตรโดยทั่วไปมักถูกนำไปใช้สำหรับสำรวจพื้นที่เพาะปลูก การตรวจสอบสุขภาพพืชตลอดจนวางแผนการเพาะปลูก โดยปัจจุบันโดรนชนิดนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างประเทศสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรผลค่าดัชนีพรรณพืช (NDVI) จากภาพถ่ายด้วยโดรน สำรวจพื้นที่ หรือภาพดาวเทียม รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการระบุพิกัดดาวเทียม เช่น สถานีภาคพื้นที่ และหมุดพิกัด เป็นต้น ซึ่งเอื้อต่อการนำเอาเทคโนโลยีโดรนสำรวจพื้นที่มาใช้
  2. โดรนฉีดพ่น (Spraying Drone) นำมาใช้พ่นสารเคมีหรือปุ๋ย และน้ำในแปลงเกษตร โดยปัจจุบันโดรนชนิดนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศกำลังพัฒนา เช่น ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งจากงานวิจัยของ Ipsos (2560) ชี้ให้เห็นว่า การใช้โดรนฉีดพ่นในการพ่นสารเคมี หรือน้ำให้กับพืชผลทาง การเกษตรจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสารเคมีถึง 30%-50% รวมทั้งมีประสิทธิภาพมากกว่าแรงงานมนุษย์ 40-60 เท่า
โดรนการเกษตรมีกี่กลุ่ม
สำหรับประเภทของโดรนเพื่อการเกษตรที่น่าเจาะตลาดมี 3 กลุ่ม คือ
  1. โดรนฉีดพ่นขนาดเล็ก (5 ลิตร) ให้กับเกษตรกรทั่วไปที่มีพื้นที่เกษตรอยู่ระหว่าง 21 -30 ไร่ รวมทั้งปลูกพืชไร่และข้าว เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุนสำหรับพื้นที่เกษตรขนาดดังกล่าว และเหมาะสมกับการใช้ในแปลงเพาะปลูกของพืชไร่ และข้าว นอกจากนั้น ผู้ประกอบการจากประเทศจีนอย่าง DJI ซึ่งเป็นรายใหญ่ของโลกยังไม่เข้ามาในตลาดโดรนฉีดพ่นขนาดเล็ก
  2. โดรนฉีดพ่นขนาดใหญ่ (10 ลิตรขึ้นไป) ที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จักในไทยให้กับกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะที่มีพื้นเกษตรอย่างน้อย 32 ไร่ เพราะสามารถช่วยตอบโจทย์ความต้องการในกลุ่มเกษตรกรที่ทำแปลงใหญ่ และสามารถลงทุนซื้อโดรนฉีดขนาดใหญ่ได้
  3. โดรนสำรวจพื้นที่ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลเพื่อใช้ในการจัดทำแผนที่ผลผลิต และวางแผนในการเพิ่มผลผลิต
ลงทุนซื้อโดรน
ต้นทุนการใช้สารเคมีที่ลดลงและราคาโดรนฉีดพ่นในปัจจุบันที่เข้าถึงได้ ทำให้ Krungthai COMPASS ประเมินว่า โดรนฉีดพ่นขนาด 5 ลิตรเป็นโอกาส สำหรับผู้ประกอบการเครื่องจักรกลเกษตร
  • การลงทุนโดรนฉีดพ่นขนาด 5 ลิตร จะมีความคุ้มค่าจากต้นทุนสารเคมีที่ลดลงเมื่อเกษตรกรมีที่ดินระหว่าง 21 ไร่ ถึง 30 ไร่ (โดรนฉีดพ่นขนาด 5 ลิตร สามารถฉีดพ่นได้สูงสุด 30 ไร่) ซึ่งเป็นขนาดพื้นที่ที่มีเกษตรกรถือครองมากถึง 1.2 ล้านครัวเรือน (21% ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมด)
  • ขณะที่โดรนฉีดพ่นขนาดตั้งแต่ 10 ลิตร ขึ้นไป เป็นขนาดที่คุ้มค่าสำหรับขนาดพื้นที่เกษตรตั้งแต่ 32 ไร่ขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดพื้นที่ที่มีเกษตรกรถือครองมากถึง 5.99 แสนครัวเรือน (10% ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมด)
การขอขึ้นทะเบียนโดรน
การขอขึ้นทะเบียนโดรนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.ขอขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ หรือ ขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรนกับสำนักงาน กสทช. (NBTC) เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
 
กรณีบุคคลธรรมดา
  1. คำขอขึ้นทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคม สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ( แบบ คท.30 ) จำนวน 1 ชุด
  2. หนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด ( แบบ คท.26 ) จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ครอบครอง ( เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
  4. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ครอบครอง ( เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
  5. ภาพถ่ายโดรนเกษตร 4 มุม พร้อม ภาพถ่าย รีโมท 4 มุม ที่จะขึ้นทะเบียน
  6. ภาพถ่าย Serial number Drone และ รีโมท
 
กรณีนิติบุคคล
  1. คำขอขึ้นทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคม สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ( แบบ คท.30 ) จำนวน 1 ชุด
  2. หนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด ( แบบ คท.26 ) จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ครอบครอง ( เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
  4. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ครอบครอง ( เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
  5. ภาพถ่ายโดรนเกษตร 4 มุม พร้อม ภาพถ่าย รีโมท 4 มุม ที่จะขึ้นทะเบียน
  6. ภาพถ่าย Serial number Drone และ รีโมท
  7. หนังสือบริคณห์สนธิหรือหนังสือรับรองนิติบุคคล
2.ขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ กับกรมการบินพลเรือน (CAAT)  เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
 
กรณีบุคคลธรรมดา
  1. คำขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน จำนวน 1 ชุด
  2. หนังสือรับรองตนเองพร้อมลงนาม 
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ครอบครอง ( เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
  4. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ครอบครอง ( เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
  5. ประกันภัยบุคคลที่ 3 
  6. ภาพถ่าย Serial number โดรนเกษตรที่เห็นชัดเจน
 
กรณีนิติบุคคล
  1. เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (อายุไม่เกิน 6 เดือน) และรายชื่อกรรมการทุกคน โดยผู้แทนนิติบุคคลให้หมายถึงตัวบุคคลเหล่านี้
  2. แบบฟอร์มหนังสือรับรองตนเองพร้อมลงนาม (กรรมการทุกคน พร้อมผู้บังคับอากาศยานโดรน)
  3. คำขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน จำนวน 1 ชุด
  4. สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาให้ถูกต้อง (กรรมการทุกคน พร้อมผู้บังคับอากาศยานโดรน)
  5. ประกันภัยบุคคลที่ 3 
  6. ภาพถ่าย Serial number โดรนเกษตรที่เห็นชัดเจน
ข้อมูลจาก
กลยุทธ์พิชิตธุรกิจโดรนเกษตรไทย โดยธนาคารกรุงไทย คลิก https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_596Research_Note_01_09_63.pdf
โดรนเกษตรปัญญา คลิก https://xn--12cyazgwq4dd2d1eo7oya.com/
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า