หน้าแ... > ความร... > บทควา... > ปลูกท... > ปลูกทุเรียนต้องเจอโรคเหล่านี้ เตรียมป้องกันไว้เลย 26347 จำนวนผู้เข้าชม ปลูกทุเรียนต้องเจอโรคเหล่านี้ เตรียมป้องกันไว้เลย 1.โรคราสีชมพู สาเหตุโรค เกิดจากเชื้อรา Erythricium salmonicolor (Corticium salmonicolor) ลักษณะอาการ : พบอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายกับอาการกิ่งแห้ง และใบร่วง เริ่มแรกจะเห็นเส้นใยสีขาวที่ผิวเปลือก ขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป เมื่อเชื้อราเจริญเต็มที่จะเป็นสีชมพู เชื้อราเจริญเข้าไปในเปลือกและลุกลามไปยังลำต้น ทำให้เปลือกปริแตกและกะเทาะออก เส้นใยของเชื้อรามีลักษณะเป็นขุยสีชมพูปกคลุมกิ่งที่มีอาการ ใบเหลืองร่วง และจะทำให้กิ่งทุเรียนแห้งตายในที่สุด ใต้บริเวณที่มีเชื้อราจะมีการแตกยอดหรือกิ่งใหม่ขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเชื้อราจะพักตัวจากที่เคยปรากฏเห็นเป็นสีชมพูจะซีดลงจนเป็นสีขาว เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไปจะเริ่มเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค : โรคนี้พบมากในแหล่งปลูกที่มีความชื้น และปริมาณน้ำฝนสูง สวนที่ต้นทุเรียนมีทรงพุ่มหนาทึบ จำนวนต้นหนาแน่น เชื้อราแพร่ระบาดโดยอาศัยลมและน้ำฝน เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญเติบโตต่อในฤดูฝนปีถัดไป พืชอาศัยของเชื้อราชนิดนี้ ได้แก่ ยางพารา ชา กาแฟ โกโก้ มะม่วง ขนุน และ เงาะ เป็นต้น การป้องกันกำจัด : การตัดแต่งกิ่งก้าน ทรงพุ่ม ให้แสงแดดส่องถึง ควรจะมีการตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวทุกครั้ง เพื่อกําจัดกิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และที่ทับซ้อนทิ้ง ต้นทุเรียนจะโปร่งได้รับแสงแดดทั่วถึงและอากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรค ถ้าเชื้อราเริ่มเข้าทําลายพื้นที่ไม่มาก ให้ถากเปลือกบริเวณที่เชื้อเข้าทําลายออกแล้วทาด้วยสารประกอบทองแดง เช่น บอร์โดมิกเจอร์ หรือ สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค เช่น ไมโครบิวทานิล หรือ ไมโครบิวทานิล+คลีซอกซิม-เมทิล 2.โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน สาเหตุโรคเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora ลักษณะอาการ : ต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่าใบไม่เป็นมันสดใส โดยจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดและใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบที่กิ่งใด จะพบว่าบริเวณลำต้น หรือระบบรากด้านที่ใบเป็นโรคจะแสดงอาการเป็นโรค ที่ลำต้นบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางน้ำไหลลงด้านล่างหรือมีรอยแตกของแผล ต้นที่เป็นโรครุนแรงมากจะมีน้ำยางไหลออกมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้น เชื้อราไฟท๊อปธอร่าสามารถแพร่กระจายโดยทางลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีลมพายุและความชื้นสูง จะเหมาะสมกับการแพร่กระจายและเข้าทำลายต้นทุเรียนได้ดี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค : สภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ฝกตกชุก การจัดการสวนไม่เหมาะสม เช่น การใช้สารกำจัดวัชพืชเป็นประจำ การระบายน้ำไม่ดี เป็นต้น การจัดการต้นทุเรียนที่ไม่เหมาะสม เช่น การไว้ผลดกเกินไป การบังคับให้ออกผลนอกฤดูเป็นประจำไม่พักต้น เป็นต้น การป้องกันและกำจัด : ติดตามสถานการณ์โรครากเน่าและโคนเน่า โดยหมั่นสำรวจต้น ตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงบำรุงดินโดยใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี และปูนขาว (ตามอัตราคำแนะนำหลังจากการตรวจวิเคราะห์ดิน) เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นดินดีทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมี (pH = 6.5) จัดทำร่องระบายน้ำในบริเวณสวนที่มีพื้นที่ต่ำ เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขัง ตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กที่เป็นโรคไปเผาทำลาย เก็บรวบรวมใบ ดอก และผลที่เป็นโรค และร่วงหล่นอยู่ในบริเวณสวนไปเผาทำลาย ถ้าพบอาการของโรคเพียงเล็กน้อยที่ลำต้นหรือกิ่ง ถากเปลือกขูดผิวบริเวณที่เป็นโรคออกแล้วทาแผลด้วยปูนแดง ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค เช่น ฟอสอีทิล อะลูมิเนียม, ไดเมโทมอร์ฟ หรือ ไพราโคลสโตรบิน เป็นต้น 3.โรคใบติดหรือใบไหม้หรือใบร่วง สาเหตุโรคเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani โรคนี้จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน ลักษณะอาการใบไหม้ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุก ทำให้ใบร่วงเป็นจำนวนมาก ใบที่ติดกันเป็นกระจุกเกิดจากเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคที่ทำให้ใบไหม้คล้ายน้ำร้อนลวกมาติดกันเป็นกระจุก อาการใบไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งเชื้อสามารถสร้างโครงสร้างในการอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม สเคอโรเทีย (sclerotia) เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากพืช และแพร่ระบาดเข้าทำลายพืช ระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงในตกชุก การป้องกันกำจัด : ทำการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และรวมรวมใบที่เป็นโรคออกนอกแปลงนำไปเผาทำลาย การพ่นด้วยสาร โพรพิโคนาโซล หรือ อะซอกซีสโตรบิน เป็นต้น 4.โรคกิ่งแห้ง สาเหตุโรคเกิดจากเชื้อรา Fusarium solani โรคกิ่งแห้งทุเรียน เมื่อเข้าทำลายบริเวณกิ่ง จะทำให้ท่อลำเลียงน้ำและอาหารถูกทำลาย น้ำจากรากที่ถูกลำเลียงขึ้นมาไปเลี้ยงกิ่งและใบไม่ได้ ทำให้กิ่งแห้ง ใบเหลืองและแห้ง ร่วง และต้นตายในที่สุด มีการแพร่กระจายไปทางอากาศ ดิน และน้ำ แม้ไม่มีการระบาดตามเส้นทางการไหลของน้ำแบบเชื้อราไฟทอปธอร่า พาลมิวอร่า แต่ความรุนแรงของโรคในสภาพแปลงรุนแรงไม่แพ้กัน การป้องกันและกำจัด : การตัดแต่งกิ่งก้าน ทรงพุ่ม ให้แสงแดดส่องถึง ควรจะมีการตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวทุกครั้ง เพื่อกําจัดกิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และที่ทับซ้อนทิ้ง ต้นทุเรียนจะโปร่งได้รับแสงแดดทั่วถึงและอากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรค ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ ไพราโคลสโตรบิน เป็นต้น 5.โรคใบไหม้ สาเหตุโรคเกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp. หรือ Colletotrichum sp. อาการใบไหม้ซึ่งพบมากในกล้าทุเรียน มักพบอาการในใบแก่ ทำให้ใบมีลักษณะเป็นแผลไหม้ ลุกลามเข้าไปทำให้ใบร่วงได้ และถ้ามีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้กล้าทุเรียนตายได้ เท่าที่สังเกตุมักเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม มักเจอในกล้าทุเรียนที่อยู่สภาพที่มีอากาศร้อน (แดดจัด) และมีความชื้นหรือฝนตก การป้องกันและกำจัด :1.วางกล้าในที่ร่มมีการพรางแสงที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าพบต้นเป็นโรคให้แยกออกตัดแต่งใบเป็นโรคออก2.การพ่นสารกำจัดเชื้อราป้องกัน เช่น แคปแทน หรือ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ เป็นต้น 6.โรคใบจุดสาหร่าย สาเหตุโรคเกิดจากสาหร่าย Cephaleuros virescens เป็นโรคเข้าทำลายพืชได้หลายชนิดโดยเฉพาะกลุ่มไม้ผล เช่น ลองกอง เงาะ ลำไย มะม่วง เป็นต้น เข้าทำลายพืชที่ส่วนต่างๆ เช่น ใบ ลำต้น กิ่งก้าน แต่ส่วนมากพบบนใบเกิดเป็นแผลจุดคล้ายกำมะหยี่ ทำให้พื้นที่สังเคราะห์แสงของใบลดลง ใบซีดเหลือง และหลุดร่วงในที่สุด โรคจะระบาดในสภาพที่มีความชื้นสูงโดยเฉพาะฤดูฝน โดยสปอร์จะปลิวไปตามลมและการกระเซ็นของน้ำฝน การป้องกันกำจัด : เน้นการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น ถ้ามีโรคระบาดควรงดการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ และในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สารกลุ่มสารประกอบทองแดง เป็นต้น เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โรคผลเน่าในทุเรียนในช่วงอากาศร้อนและมีฝนตก จะพบระบาดของโรคผลเน่าของโดยพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อน จนถึง… โรคใบติดของทุเรียนโรคใบติดของทุเรียน สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Rhizoctonia s… โรคราแป้งในทุเรียนโรคราแป้งเป็นโรคที่เกิดในทุเรียนส่งผลกระทบต่อผลผลิตของทุเรียนถ้าเกษตรกรขาดการเอา… สินค้าใหม่ไอซีพี ลัดดาไอซีพี ลัดดา ขอแนะนำสินค้าใหม่ที่จะมาแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร จะมีสินค้าอะไร…