ปัญหาที่สวนลำไยไม่ควรมองข้าม !! - ICPLADDA

ปัญหาที่สวนลำไยไม่ควรมองข้าม !!

3327 จำนวนผู้เข้าชม

โรคในลำไย สวนลำไย
โรคใบจุดสาหร่าย (algal leaf spot)
โรคใบจุดสาหร่าย (algal leaf spot)
สาเหตุ สาหร่าย Cephaleuros virescens
อาการ เริ่มจากใบเป็นแผลจุดขุยสีเทาอมเขียวฟูเล็กน้อย จากนั้นจุดขยายออกและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มหรือสีสนิมลักษณะค่อนข้างกลม ขนาด 3-5 มิลลิเมตร ต่อมาจุดจะแห้งและทำให้แผลบริเวณเนื้อเยื่อใบทั้งด้านบนและใต้ใบมีสีน้ำตาลดำ ใบที่เป็นโรคจะมีสีซีดเหลืองปนน้ำตาลและร่วงไปในที่สุด
การแพร่ระบาด เชื้อเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด สปอร์ของสาหร่ายสามารถปลิวไปกับลม ฝน และการให้น้ำมักระบาดมากในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะในฤดูฝน
การจัดการโรค
ตัดใบที่เป็นโรคออกไปทิ้งนอกแปลงปลูก และแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วถึง
ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สารผสมบอร์โด (bordeaux mixture) คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ (copper hydroxide) เป็นต้น
โรคราดำ (sooty mold)
โรคราดำ (sooty mold) 
เกิดจาก เชื้อรา  Meliola sp. หรือ Capnodium sp. 
อาการ ส่วนมากจะสัมพันธ์กับการเข้าทำลายของแมลง เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น หรือเพลี้ยอ่อน ที่มาดูดกินน้ำเลี้ยงและถ่ายมูลน้ำหวาน (honey dew) บนผิวพืช       สปอร์ของเชื้อราที่อยู่ในอากาศจะปลิวมาติดและเจริญปกคลุมผิวพืช  เป็นแผลจุดดำหรือคราบสีดําของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก หรือผลของลำไย  เชื้อราไม่ได้ทําลายต้นลำไยโดยตรงแต่จะไปขัดขวางการสังเคราะห์แสงของใบ ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต อาการถ้าปรากฎที่ช่อดอกรุนแรงจะทําให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ หรือถ้าเป็นช่วงติดผลก็จะทำให้ผลดูสกปรกขายได้ราคาต่ำ
การจัดการโรค
ควรหมั่นสำรวจและทำการป้องกันและกําจัดแมลงกลุ่มปากดูดข้างต้นไม่ให้เกิดการระบาด  โดยเฉพาะในช่วงแตกใบอ่อนหรือมีช่อดอก ควบคู่กับสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ (copper oxychloride) ตามอัตราที่แนะนำ เป็นต้น
โรคพุ่มไม้กวาดลำไย (Witches’ broom)
โรคพุ่มไม้กวาดลำไย (Witches’ broom)
สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา
อาการ ส่วนยอดหรือตาข้างมีการแตกออกมามากผิดปกติ ส่วนที่แตกออกมาใหม่มีลักษณะเป็นพุ่มแจ้ หนาแน่นเป็นกระจุกและไม่มีการเจริญเติบโต ลักษณะคล้ายไม้กวาด
การแพร่ระบาด เชื้อสามารถแพร่ระบาดไปกับกิ่งพันธุ์จากการติดตา การทาบกิ่ง หรือแมลงพาหะ เช่นเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด เป็นต้น
การจัดการโรค ขุดทำลายต้นที่เป็นโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงพาหะ
ไรกำมะหยี่ลำไย
ไรกำมะหยี่ลำไย
สาเหตุ ไร
อาการ ไรจะเข้าทำลายดูดน้ำเลี้ยงที่ใบอ่อนทำให้ใบบิดม้วนงอ หรือเนื้อใบบุ๋มเป็นหลุมหรือปูดขึ้นจากผิวใบ  ด้านใต้ใบมีขนละเอียดสีน้ำตาลปกคลุม สังเกตบริเวณขนจะพบไรตัวเล็กๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
การจัดการ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจลำไยในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบมีการระบาดให้ตัดแต่งกิ่งและยอดที่ถูกไรทำลายนำไปเผาทิ้งนอกแปลงปลูกเพื่อลดการระบาด
ทำการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดไร เช่น กำมะถันผง (sulfur) อามีทราซ (amitraz) หรือ โพรพาร์ไกต์ (propargite) เป็นต้น
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า