หน้าแ... > ความร... > บทควา... > มารู้... > มารู้จักโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยว 1410 จำนวนผู้เข้าชม เชื้อสาเหตุโรคพืชสามารถเข้าทำลายพืชในทุกๆระยะ ตั้งแต่งอก เจริญเติบโตจนกระทั่งผลิดอก ออกผล หรือเมื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เชื้อสาเหตุโรคยังคงสามารถเข้าทำลายผลผลิตทำให้เสียหายได้ ซึ่งโรคพืชที่เกิดกับผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว เราอาจเรียกว่า โรคพืชหลังการเก็บเกี่ยว โดยมีตัวอย่างโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวต่างๆ ดังนี้ โรคหลังการเก็บเกี่ยวของส้มที่พบได้เป็นประจำและทำความเสียหายกับผลผลิตส้ม เชื้อราจะเข้าทำลายผ่านทางบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยว เชื้อราเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 20-25 oC อาการเริ่มจากเปลือกส้มเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขยายออกเป็นวงกว้างขึ้นเนื้อเยื่อจะนิ่ม เชื้อราสร้างเส้นใยสีขาวและต่อมาสร้างสปอร์สีเขียวเจริญปกคลุมการจัดการโรค1.การทำความสะอาดโรงบรรจุ พื้นที่ปฏิบัติงาน และเก็บรวบรวมผลส้มที่เป็นโรคทิ้งนอกพื้นที่ปฏิบัติงาน2.การใช้สารเคมีในการแช่ผลผลิต เช่น prochloraz, imazalil, หรือ pyrimethanil เป็นต้น เชื้อราเข้าทำาลายขั้วหวีทางบาดแผลเกิดเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำ อาการเน่าลุกลามอย่างช้าๆ เกิดเส้นใยสีขาวบริเวณบาดแผลและต่อมาเชื้อราสร้างกลุ่มโคนิเดีย (conidia) สีส้มจำนวนมาก เป็นจุดแผลสีนำ้าตาลบนขั้วหวี แผลขยายลุกลามออกอย่างช้าๆ ต่อมาสร้างเส้นใยสีขาวปนส้มอ่อน อาการไม่รุนแรงมากนักการจัดการโรค ใช้มีดที่สะอาดในการตัดแต่งกล้วย รวมทั้งทำความสะอาดมีดทุกครั้งเมื่อตัดแต่งกล้วยเครือใหม่ การพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา กลุ่ม thiabendazole ช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว การแช่กล้วยในน้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที โรคที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora เป็นโรคที่รุนแรงที่สุดของทุเรียน โรคนี้เข้าทำลายทุเรียนทุกระยะการเจริญเติบโต รวมทั้งผลทุเรียนหลังจากการเก็บเกี่ยว เชื้อราระบาดในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง โดยเข้าทำลายผลทุเรียนได้ทุกช่วงของการเจริญเติบโต แต่ส่วนใหญ่จะมักเข้าทำลายตอนผลทุเรียนแก่จัด และส่วนมากจะเกิดกับผลทุเรียนที่อยู่ใกล้พื้นดิน อาการจะเกิดเป็นแผลสีน้ำตาล อาการเน่าลามเข้าไปในผิวเปลือกด้านในและทำให้เนื้อเน่าช้ำสีน้ำตาล อาการผลเน่าจากเชื้อ Lasiodiplodia theobromae แผลสีนำ้ตาล ลักษณะนิ่ม พบปรากฎเส้นใยเชื้อราสีเทาปนเขียวเจริญปกคลุมที่แผลการจัดการโรค เก็บรวบรวมผลเน่าที่ร่วงหล่นอยู่ในบริเวณสวนไปทำลายนอกสวน ไม่ทิ้งไว้ในสวนหรือกองใต้ต้น ในระหว่างเก็บเกี่ยวไม่ควรวางผลทุเรียนบนพื้นดินโดยตรง รวมทั้งระมัดระวังไม่ผลเกิดบาดแผลจากการเก็บเกี่ยว เชื้อราเข้าทำลายผลฝรั่งทุกระยะ แต่พบมากในระยะหลังการเก็บเกี่ยวจะทำให้ผลฝรั่งเกิดอาการจุดเน่าสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็กไม่กี่มิลลิเมตรจนถึงหลายเซนติเมตร ถ้าอาการเน่าลุกลามเข้าไปในเนื้อเสียหายทำให้ไม่สามารถบริโภคได้การจัดการโรค1.เก็บรวบรวมผลเน่าที่ร่วงหล่นอยู่ในบริเวณสวนไปทำลายนอกสวน ไม่ทิ้งไว้ในสวนหรือกองใต้ต้น2.การพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราในช่วงที่ต้นฝรั่งเริ่มมีผลผลิต เช่น carbendazim เป็นต้น เชื้อสามารถเข้าทำลายผลอ่อนแบบแฝงโดยยังไม่แสดงอาการของโรคและจะแสดงอาการเน่าดำเมื่อผลสุก โดยบนแผลเน่าดำจะพบกลุ่มของสปอร์เจริญอยู่ที่แผลการจัดการโรค1.ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูก ป้องกันการติดเชื้อโดยใช้ถุงห่อผลมะม่วง2.ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma asperellum) หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus subtilis)3.พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น mancozeb, propineb, prochloraz, azoxystrobin หรือpyraclostrobin เป็นต้น4.จุ่มผลมะม่วงในนํ้าร้อน 55 องศาเซลเซียส นาน 3-5 นาที เชื้อเข้าทำลายผลทำให้เกิดอาการเน่าเป็นจุดบุ๋มเมื่อผลสุก โดยบนแผลเน่าจะพบกลุ่มของสปอร์เจริญอยู่ที่แผลการจัดการโรค1.การไม่ใช้ไหลที่เป็นโรคมาปลูก ไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียมากเกินไป2.ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma asperellum) หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus subtilis)3.พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น azoxystrobin หรือpyraclostrobin เป็นต้น เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โรคเมล็ดด่างในนาข้าวโรคเมล็ดด่างเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้า… เฮียครับ เอา“ยาคุมไข่” ด้วยนะ เกษตรกรหลายๆท่านคงเคยได้ใช้คำพูดนี้กับเวลาที่ไปซื้อสารกำจัดแมลงตามร้านจำหน่ายส… ป้องกันและกำจัดเชื้อแอนแทรคโนส ตามแบบฉบับ ไอซีพี ลัดดา โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) เกิดจากอะไร โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคพืชที่ทําให้เกิ… หญ้าในนาไม่มีหลุด เก็บด้วยเลกาซี่ 20 + พานาสสภาพอากาศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เดี๋ยวก็แดดจัด เดี๋ยวก็ฝนตก ไม่รู้ว่าจะ…