เคยเจอไหม มะม่วงสุกชอบเน่า ? เกิดจากสาเหตุใด - ICPLADDA

เคยเจอไหม มะม่วงสุกชอบเน่า ? เกิดจากสาเหตุใด

6835 จำนวนผู้เข้าชม

มะม่วงสุก
เคยเจอไหม มะม่วงสุก ทำไมชอบเน่า ?

     คงไม่มีใคร ไม่รู้จัก “มะม่วง” ผลไม้ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยเป็นกอบเป็นกำ ทั้งส่งออก และบริโภคภายในประเทศ หลายคนชอบทาน “มะม่วง” ด้วยรสชาติที่อร่อย หวาน มัน และยังมีคุณค่าทางอาหาร แต่จะมีใครรู้บ้างว่ามะม่วงที่เราได้ทานกันนั้น ต้องผ่านการปลูก การดูแล และการเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากเกษตรกรมืออาชีพ ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ หนึ่งในปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงต้องพบเจอ นั่นคือ โรคแอนแทรคโนส ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุ “อาการเน่าบนผลมะม่วง”
โรคของมะม่วง
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) เกิดจากสาเหตุใด ?
      เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า Colletotrichum gloeosporioides Penz. เข้าทำลายได้ตั้งแต่ระยะใบ ดอก และผล อาการบนใบอ่อนเริ่มจากการเป็นจุดชุ่มน้ําและเปลี่ยนเป็นสีดํา บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวเล็กลงจนดึงใบให้บิดเบี้ยว อาการที่ใบแก่ขนาดของแผลจะค่อนข้างคงที่และเป็นเหลี่ยม เมื่อมะม่วงแทงช่อดอกเชื้อจะเข้าทําลายที่ช่อดอก ทําให้ช่อดอกดำ แห้ง และร่วง
      สำหรับอาการเน่าบนผลมะม่วงจะมี 2 ลักษณะ คือ อาการผลเน่าบนต้น และ อาการแฝงบนผลมะม่วงที่กำลังพัฒนาหรือผลมะม่วงแก่ที่ยังดิบในระยะเก็บเกี่ยว (จะยังไม่แสดงอาการเป็นแผลหรือผลเน่า) เมื่อมะม่วงแก่หลังเก็บเกี่ยวและใกล้สุก เชื้อจะเริ่มพัฒนาใหม่และทำให้ผลมะม่วงเกิดอาการผลเน่าเสีย จึงจัดว่าเป็นโรคในระยะหลังการเก็บเกี่ยว (post-harvest disease) แต่เชื้อได้เข้าฝังตัวบนผิวเปลือกของผมมะม่วง ตั้งแต่ผลอยู่บนต้นก่อนเก็บเกี่ยวแล้ว อาการแฝงบนผลมะม่วงดิบนี้ อาจทำให้เกษตรกรเข้าใจว่า ผลมะม่วงสมบรูณ์ ไม่มีโรคได้
มะม่วงสุก โคราช
แล้วไม่อยากให้ “มะม่วงผลเน่า” ต้องทำอย่างไร ?
     เมื่อรู้ว่าโรคแอนแทรคโนสมีการเข้าทำลายตั้งแต่ระยะใบ จึงต้องมีการป้องกันตั้งแต่ระยะนี้ แต่ก่อนจะป้องกันต้องกลับไปจัดการแปลง คือ
1.การตัดแต่งทรงพุ่มให้ภายในโปร่ง อากาศถ่ายเท และแสงแดดส่องถึง จะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชได้ 
2.เลือกใช้สารเคมีป้องกันและรักษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้ตั้งแต่ระยะใบจนถึงผลแก่ ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ไหนไปไม่ได้เลย คือ โค-ราซ
ม่วงสุก
ทำไมเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงถึงเลือกใช้ “โค-ราซ” มานานแล้ว
     เนื่องจากมะม่วงเป็นไม้ผลที่มีช่อดอก และมีความอ่อนไหวต่อสารเคมีในบางชนิด ซึ่งหากเลือกใช้สูตรไม่ถูกต้อง อัตราการใช้ไม่เหมาะสม และพ่นในช่วงเวลาไม่ดีแล้วนั้น จะทำให้มะม่วงเสียหายมากกว่าเดิม จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ โค-ราซ ตอบโจทย์เกษตรกรในทุกด้าน นั้นคือ 
1.สารโพรคลอราซ สูตร EW ที่ปลอดภัยต่อช่อดอก สามารถพ่นผ่าดอกมะม่วงได้ ไม่ทำให้ช่อดอกดำ รัด หรือไหม้
2.ออกฤทธิ์แทรกซึม ทำให้ประสิทธิภาพดีและป้องกันโรคได้นาน
3.ละลายน้ำได้ง่าย ไม่ตกตะกอน สามารถผสมน้ำและพ่นได้ทันที
4.อัตราการ “ดื้อยาต่ำกว่า” สารตัวอื่นๆ ที่ใช้ในการป้องกันโรคแอนแทรคโนสด้วยกันเอง
20-1-64 มะม่วง-06
ข้อควรระวังในการใช้สารกำจัดศัตรูพืช
– ต้องสวมหน้ากากและถุงมือยาง ใส่เสื้อผ้าปิด ร่างกายให้มิดชิด 
– ควรต้องศึกษาทิศทางของลมก่อนการทำงาน 
– ห้ามสูบบุหรี่ขณะพ่นสารเคมี และควรล้างมือ ให้สะอาดก่อนการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
– เมื่อพ่นสารเคมีเสร็จแล้ว ควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำชำระล้างร่างกาย ฟอกสบู่และสระผมให้สะอาดทุกครั้ง แพทย์
– ภาชนะที่บรรจุสารเคมีฆ่าแมลง เช่น ขวด กระป๋อง ถุง ฯลฯ เมื่อใช้หมดแล้วให้ทำลายทิ้งเสีย โดยอาจจะใช้วิธีฝังกลบดินก็ได้ 
– เก็บสารเคมีปราบศัตรูพืชในที่ที่มิดชิด
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า