หน้าแ... > ความร... > บทควา... > โรคผล... > โรคผลเน่าในทุเรียน 9626 จำนวนผู้เข้าชม ในช่วงอากาศร้อนและมีฝนตก จะพบระบาดของโรคผลเน่าของโดยพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อน จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน และหลังการเก็บเกี่ยวในระหว่างการบ่มผลทุเรียนให้สุก ถ้าอาการรุนแรงมาก ผลทุเรียนจะเน่าและร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยว โดยอาการเริ่มแรกจะพบเปลือกผลทุเรียนเกิดแผลจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลดำ ต่อมาจุดแผลจะลุกลามขยายใหญ่ตามการสุกของผลทุเรียน ถ้าสภาพอากาศมีความชื้นสูงอาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคเจริญบริเวณแผล แปลงปลูกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผลเน่า จะเป็นแปลงที่มีต้นทุเรียนเป็นโรครากเน่าและโคนเน่าและมีฝนตกชุกหรือมีความชื้นสูงในช่วงที่ทุเรียนใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต อาการโรคบนผลแก่ เกิดแผลสีน้ำตาลบนผล จุดแผลจะขยายใหญ่ลุกลาม ในสภาพที่มีความชื้นสูงอาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคบนแผล เชื้อรา Phytophthora palmivora บนอาหาร PDA นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบโรคผลเน่าของทุเรียนจากเชื้อรา Lasiodiplodia sp. อาการส่วนมากเกิดบนผลแก่หลังการเก็บเกี่ยว มีเส้นใยสีเทา ฟูแน่นเจริญปกคลุมที่เปลือกทุเรียน การจัดการโรค การเก็บเกี่ยวผลทุเรียนต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับพื้นดินโดยตรงอาจส่งผลให้เชื้อสาเหตุโรคติดไปกับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการของโรค ให้เกษตรกรปูพื้นดินด้วยวัสดุหรือผ้าใบที่สะอาดเพื่อวางผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรควรหมั่นตรวจผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ให้เกษตรกรตัดผลทุเรียนที่เป็นโรคและเก็บผลทุเรียนเน่าที่ร่วงหล่นใต้ต้นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกการป้องกันด้วยใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อรา Trichoderma asperellum หรือเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis การพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา Phytophthora palmivora เช่น fosetyl aluminum, bordeaux mixture, copper oxychloride, dimethomorph, pyraclostrobin และ myclobutanil + kresoxim methyl เป็นต้นการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา Lasiodiplodia sp. เช่น prochloraz, prochloraz+propiconazole และ azoxystrobin+tebuconazole เป็นต้น อ้างอิง : https://www.doa.go.th/leka/?p=3799 เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โรครากปมของข้าวโรคนี้พบเป็นปัญหามากกับข้าวที่ปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ… โรคดอกกระถินของข้าวโรคดอกกระถิน เป็นโรคที่ทำความเสียหายต่อเมล็ดข้าว โรคแส้ดำในอ้อยสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อโรครานี้ อาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของต… ประโยชน์นานาสายพันธ์ุข้าวไทย ข้าวหอมมะลิ มีถิ่นกำเนิดในไทย นิยมปลูกและทานกันอย่างแพร่หลายมีกลิ่นหอมคล้ายใบ…