โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน - ICPLADDA

โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

5646 จำนวนผู้เข้าชม

 
 
ผศ.ดร.อุดมศักดิ์  เลิศสุชาตวนิช
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
 
 
โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน เป็นโรคที่สําคัญที่สุด ที่ทำความเสียหายต่อผลผลิต และทำให้ต้นทุเรียนเสียหายถึงตายได้  โดยโรคจะระบาดในสภาพอากาศที่มีฝนและความชื้นสูง  เชื้อจะเข้าทำลายทางระบบรากทำให้รากเน่าและโคนเน่า ลุกลามไปตามลำต้นลักษณะอาการเป็นรอยช้ำฉ่ำน้ำ เมื่อลอกผิวเปลือก จะพบแผลฉ่ำน้ำเป็นลายริ้ว ๆ มีสีน้ำตาลเป็นทางตามเนื้อไม้ ต้นที่เป็นโรคจะให้ผลผลิตน้อย ใบหลุดร่วงและยืนต้นตายในทีสุด   เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรหมั่นตรวจแปลงเป็นประจำ เพื่อจะได้ทำการป้องกันและแก้ไขโรคได้อย่างทันเวลา

 

 

สาเหตุ
         เชื้อรา Phytophthora palmivora

 

 

ลักษณะอาการ
        เชื้อราจะเข้าทำลายระบบราก ทำให้รากต้นทุเรียนเน่าเป็นสีน้ำตาล ต่อมาส่งผลให้ใบทุเรียนเหนือบริเวณที่รากเน่ามีอาการซีดเหลือง  ต่อมาจะปรากฏอาการเน่าที่โคนต้น มีแผลฉ่ำน้ำและมีน้ำไหลออกมาจากแผล  เมื่อแผลเน่าลุกลามมาก จะทำให้ทุเรียนใบร่วงหมดต้น ยืนต้นตายในที่สุด

 

 

 
 
การแพร่ระบาด
            เชื้อแพร่กระจายโดยทางน้ำ ในสภาพดินที่มีน้ำขัง เชื้อราสร้างสปอร์ว่ายน้ำได้ เข้าทำลายระบบรากสู่โคนต้น  แต่ในฤดูฝนที่มีลมพายุและสภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อจะแพร่ระบาดไปกับทางลมฝน แล้วเข้าทำลายใบ กิ่ง และผลบนต้นได้ 

 

การจัดการโรค
           การจัดทำทางระบายน้ำในสวนไม่ให้มีน้ำท่วมขังโดยเฉพาะบริเวณรอบโคนต้น ลดการใช้สารกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้น   ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลง การป้องกันด้วยใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อรา Trichoderma asperellum หรือเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis  การพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น fosetyl aluminum, bordeaux mixture, copper oxychloride, dimethomorph, pyraclostrobin, myclobutanil + kresoxim methyl เป็นต้น

 

 

 

””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า