โรครากเน่าโคนเน่า - ICPLADDA

โรครากเน่าโคนเน่า

8604 จำนวนผู้เข้าชม

โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน

ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์

สาเหตุโรค เชื้อรา Phytophthora palmivora

  ลักษณะอาการ

เชื้อราจะเริ่มต้นเข้าทำลายระบบรากทำให้รากต้นทุเรียนเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อรากเน่ามากขึ้นใบทุเรียนระดับปลายกิ่งจะแสดงอาการซีดเหลือง ชะงักการเจริญเติบโตและใบร่วงในเวลาต่อมา ใบระดับโคนกิ่งจะร่วงช้ากว่าบริเวณปลายกิ่ง  ลักษณะอาการเน่าที่โคนจะปรากฏจุดฉ่ำน้ำและมักมีน้ำเยิ้มออกมา เมื่อใช้มีดถากดูจะพบว่ามีน้ำไหลทะลักออกมา  เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มแสดงอาการเน่าลุกลามรอบโคนต้นทำให้ทุเรียนใบร่วงหมดต้น ยืนต้นตายในเวลาต่อมา  ในภาพที่มีความชื้นสูงและมีฝนตกชุก เชื้อราสามารถแพร่กระจายเข้าทำลายกิ่ง ใบ และ ผล บนต้นทุเรียนได้ 

การแพร่ระบาด

แพร่กระจายโดยทางลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล  โดยส่วนมากเชื้อราแพร่ระบาดทำลายผ่านทางรากในสภาพดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี มีน้ำขัง และลุกลามสู่โคนต้น  แต่ในฤดูฝนที่มีลมพายุและสภาพอากาศความชื้นสูงจะแพร่ระบาดทางลมเข้าทำลายใบ กิ่ง และผลได้  

ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรค

สภาพแวดล้อมเหมาะสม: สภาพอากาศมีความชื้นสูง ฝนชุก

ปลูกทุเรียนพันธุ์ทุเรียนอ่อนแอ: หมอนทอง

การจัดการสวนไม่เหมาะสม:

•      ต้นทุเรียนไม่สมบูรณ์

•      ใช้สารกำจัดวัชพืชเป็นประจำ โดยเฉพาะบริเวณรอบโคนต้น

•      การไว้ผลมากเกินไป

•      การบังคับให้ออกผลนอกฤดูบ่อย

•      แปลงปลูกมีการระบายน้ำไม่ดี

การป้องกันและกำจัด

1. หมั่นติดตาม สำรวจโรครากเน่าและโคนเน่าในสวน

2. ตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงบำรุงดินโดยใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี และปูนขาว (ตามอัตราคำแนะนำหลังจากการตรวจวิเคราะห์ดิน) เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นดินดีทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมี (pH = 6.5)

3. จัดทำร่องระบายน้ำในบริเวณสวนที่มีพื้นที่ต่ำ เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขัง

4. ตัดแต่ง กิ่ง ใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ออกนอกแปลงนำไปฝังกลบลึกๆ

5. เมื่อพบอาการของโรคในระยะเริ่มต้นหรือมีอาการเล็กน้อยให้รีบทำการรักษา

6. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค เช่น metalaxyl (เชื้อโรคส่วนมากดื้อต่อสารนี้แล้ว) (เมธามอร์ป), fosetyl aluminum (วอแรนต์), bordeaux mixture, copper oxychloride (คอปเปอร์-ไฮ), dimethomorph (โทมาฮอค), pyraclostrobin, myclobutanil + kresoxim methyl (เออร์กอน) เป็นต้น

โรครากเน่าโคนเน่า ไฟทอปธอร่า ไอซีพีลัดดา โทมาฮอค เมธามอร์ป วอแรนต์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า