โรคราเม็ดผักกาด - ICPLADDA

โรคราเม็ดผักกาด

14188 จำนวนผู้เข้าชม

โรคราเม็ดผักกาด จากเชื้อรา Sclerotium rolfsii
โรคจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii
   เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดิน (soilborne) เป็นสาเหตุโรคเน่าระดับดิน (damping off) ของกล้าพืช โรคเหี่ยว (wilt) และโรครากเน่าและโคนเน่า (root and foot rot) ของพืช มีพืชอาศัยมากกว่า 500 ชนิด
อาการของโรค 
   เชื้อราเจริญจะเริ่มเข้าทำลายรอบโคนต้น สร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมและทำให้โคนต้นเน่า เมื่อต้นพืชใกล้ตาย  เส้นใยเชื้อราจะขดตัวเป็นเม็ดกลมเล็กๆ มีสีขาวต่อไปเปลีี่ยนเป็นสีนํ้าตาล เรียกว่า sclerotium เป็นโครงสร้างที่ช่วยในการแพร่ระบาดมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และเป็นแหล่งของเชื้อตั้งต้นในฤดูกาลต่อไป
เชื้อรา Sclerotium rolfsii
การแพร่ระบาด
   เชื้อนี้อาศัยอยู่ในดินหรือติดไปกับวัสดุปลูก เช่น ฟางข้าวหรือกาบมะพร้าวสับที่นำมาคลุมผิวดิน เป็นต้น  เชื้อชอบดินที่มีสภาพเป็นกรด สภาพอากาศชื้น มีฝนตกปรอยๆเป็นละออง หรือพืชปลูกหนาแน่นแสงแดดส่องไม่ถึงโคนต้น
โรคที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii
การจัดการโรค
  • หมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อพบพืชที่แสดงอาการโรคให้ถอนทำลายก่อนที่เชื้อจะสร้างเม็ด sclerotium แล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณทีี่พบโรคและพื้นที่ใกล้เคียง
  • ไถกลบหน้าดินตากแดด และ ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าวโพด เป็นต้น
  • ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma asperellum) หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus subtilis) รดดินบริเวณที่พบอาการโรคก่อนปลูกพืชใหม่
  • ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์บ็อกซิน (carboxin) อีไตรไดอะโซล (etridiazole) เป็นต้น
ถั่วหรั่ง (ซ้าย) และโรคโคนเน่าของถั่วลิสง (ขวา)
โรคหัวเน่าของเผือก
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า