หน้าแ... > ความร... > บทควา... > โรคเห... > โรคเหี่ยวจากแบคทีเรียของมะเขือเทศและพริก 1749 จำนวนผู้เข้าชม สาเหตุโรค เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ลักษณะอาการของโรค เป็นโรคที่ระบาดมากในพืชวงศ์มะเขือเทศและขิง ทำให้ต้นพืชมีอาการเหี่ยวใบลู่ลงมาคล้ายอาการขาดน้ำทั้งต้นทั้งที่ใบยังมีสีเขียว ช่วงแรกอาการเหี่ยวจะเกิดในช่วงกลางวันและต้นฟื้นเป็นปกติในช่วงกลางคืน แต่ต่อมาจะเหี่ยวอย่างถาวรและทำให้ต้นตายภายในไม่กี่วันหลังจากเริ่มแสดงอาการ เมื่อนำต้นที่มีอาการเหี่ยวมาตัดตามขวางจะมีของเหลวสีขาวขุ่น (bacterial ooze) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียไหลออกมาจากรอยตัด การแพร่ระบาด เชื้ออาศัยอยู่ดินได้นานหลายปี และสามารถติดไปกับส่วนขยายพันธุ์พืชต่างๆ โดยเฉพาะส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น ท่อนพันธุ์ หัว แง่ง หรือ หน่อ เป็นต้น เชื้อจะแพร่กระจายได้ดีโดยน้ำฝนหรือระบบให้น้ำ เข้าทำลายพืชได้ดีผ่านทางบาดแผลบริเวณระบบราก พบมีความสัมพันธ์กับการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปม (root knot nematode) ซึ่งเข้าทำลายให้รากมีอาการปุ่มปม โดยเมื่อไส้เดือนฝอยรากปมจะทำให้รากพืชเกิดบาดแผลส่งผลให้ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อ R. Solanacearum และทำให้พืชเป็นโรคเหี่ยวตามมา การจัดการโรค ไถพลิกกลับดินตากแดดหลายๆ ครั้งเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อในดิน เตรียมดินให้มีการระบายน้ำได้ดี ทำการอบดินฆ่าเชื้อด้วยการใช้ยูเรียกับปูนขาว อัตรา 80 กก. : 800 กก. ต่อไร่ หรือ การใช้พืชตระกูลกะหล่ำในการอบดินในอัตรา 5%ต่อน้ำหนักดิน การกำจัดแมลงศัตรูพืชและไส้เดือนฝอยรากปมในแปลงปลูก ซึ่งจะเป็นตัวการทำให้รากพืชเกิดบาดแผล ในแปลงที่เคยมีโรคระบาดมากไม่ควรปลูกซ้ำในพื้นที่เดิม ควรเลี่ยงไปปลูกพืชวงศ์อื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัยระยะหนึ่งก่อนพร้อมกับไถพลิกกลับดินตากแดดบ่อยๆ ในช่วงที่ว่างเว้นจากการปลูกพืช เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โรคเมล็ดด่างในนาข้าวโรคเมล็ดด่างเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้า… เฮียครับ เอา“ยาคุมไข่” ด้วยนะ เกษตรกรหลายๆท่านคงเคยได้ใช้คำพูดนี้กับเวลาที่ไปซื้อสารกำจัดแมลงตามร้านจำหน่ายส… ป้องกันและกำจัดเชื้อแอนแทรคโนส ตามแบบฉบับ ไอซีพี ลัดดา โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) เกิดจากอะไร โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคพืชที่ทําให้เกิ… หญ้าในนาไม่มีหลุด เก็บด้วยเลกาซี่ 20 + พานาสสภาพอากาศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เดี๋ยวก็แดดจัด เดี๋ยวก็ฝนตก ไม่รู้ว่าจะ…