โรคใบหงิก หรือโรคจู๋ของข้าว (Rice Ragged Stunt Disease) - ICPLADDA

โรคใบหงิก หรือโรคจู๋ของข้าว (Rice Ragged Stunt Disease)

2150 จำนวนผู้เข้าชม

โรคจู๋ในข้าว
   โรคนี้มักพบในพื้นที่ที่ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องไม่พักนา ทำให้มีการสะสมและระบาดของแมลงที่เป็นพาหะคือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล brown planthopper (Nilaparvata lugens) เมื่อข้าวเป็นโรคใบหงิกจะส่งผลให้ข้าวมีผลผลิตลดลง โดยมีรายงานว่าทำให้ผลผลิตเสียหายได้ถึง 70%
อาการโรค
สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV)
อาการ พบเกิดโรคกับต้นข้าวได้ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ และตั้งท้อง อาการที่พบต้นข้าวจะเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นมีสีเขียวเข้ม ใบหงิกบิดเป็นเกลียว ข้าวที่เป็นโรคนี้จะออกรวงช้า รวงไม่สมบูรณ์ เมล็ดลีบ ผลผลิตลดลง 30 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นโรคในระยะกล้าต้นข้าวอาจตายได้
การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสสาเหตุโรคแพร่ระบาดโดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเชื้อไวรัสสามารถอาศัยอยู่ในหญ้าบางชนิดได้
โรคใบหงิก หรือโรคจู๋
   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะของโรคใบหงิก และเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของข้าว  แมลงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวถ้าระบาดมากจะสามารถทำให้ข้าวแห้งตายได้ แต่ถ้าไม่รุนแรงจะเป็นพาหะของโรคใบหงิก
การป้องกันกำจัด
  • ควรมีช่วงเวลาการพักการปลูกข้าวหรือปลูกพืชอื่นสลับ เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงพาหะ
  • ทำการกำจัดวัชพืชในและรอบแปลงไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะ
  • โรคใบหงิกไม่มีสารป้องกันกำจัดเชื้อ  แต่ป้องกันโดยการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ เช่น ไดโนทีฟูเรน หรือ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ เป็นต้น  ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทริน เนื่องจากสารกลุ่มนี้ไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ จะทำให้เกิดการระบาดรุนแรงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า