หน้าแ... > ความร... > บทควา... > 5 โรค... > 5 โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส 6414 จำนวนผู้เข้าชม 5 โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจัดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญนอกเหนือไปจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือไส้เดือนฝอย ซึ่งปัจจุบันพบเป็นปัญหาในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด โดยพืชที่เป็นโรคจากเชื้อไวรัสจะมีอาการต่างๆ เช่น ต้นเตี้ยแคระแกร็น (stunting หรือ dwarfing) ใบด่าง (mosaic หรือ mottling) ใบซีดเหลือง (chlorosis) อาการจุดวงซ้อนกัน (ring spot) ใบหงิก (curling) หรือ ดอกสีไม่สม่ำเสมอ (color breaking) เป็นต้น การถ่ายของเชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดผ่านทางต่างๆ เช่น ส่วนขยายพันธุ์พืช การถ่ายทอดโดยวิธีกล (mechanical transmission) ผ่านทางเข้าไปทางบาดแผล เช่น การสัมผัสต้นเป็นโรค หรือ อุกรณ์ที่ใช้ตัดแต่ง เป็นต้น การถ่ายทอดผ่านแมลงพาหะต่างๆ ซึ่งโรคไวรัสแต่ละชนิดจะมีแมลงพาหะที่จำเพาะเจาะจง ในการการควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสจะเน้นไปที่การใช้พันธุ์ที่ไม่ติดเชื้อ การใช้พันธุ์ต้านทาน และการป้องกันกำจัดแมลงพาหะ 1.โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disease) สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ในประเทศไทยพบรายงานเกิดจากไวรัส Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) อาการของโรคทำให้ใบแสดงอาการด่างเขียวหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง ส่วนต้นมันสำปะหลังจะมีลักษณะแคระแกร็นหรือต้นจะเตี้ยกว่ามันสำปะหลังปกติ และทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก การแพร่ระบาด เชื้อติดไปกับท่อนพันธุ์ และมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci) เป็นแมลงพาหะถ่ายทอดโรคในสภาพแปลงปลูก การจัดการโรคเลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด มาจากแปลงที่ไม่มีการระบาดของโรคการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะของโรค เช่น ไดโนทีฟูเรน (dinotefuran) หรือ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) เป็นต้น 2. โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ (Papaya ringspot disease) สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus (PRSV) อาการของโรคเชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตโดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะอาการเกิดได้กับทุกส่วนของต้น แต่เห็นชัดในใบและผล โดยใบมีอาการด่างเหลืองบิดเบี้ยว หงิกงอเหมือนหางหนู ถ้าเป็นโรครุนแรงจะเหลือแต่เส้นใบเหมือนเส้นด้ายบริเวณก้านมีจุดฉํ่านํ้าและเส้นประ ส่วนผลจะสังเกตเห็นวงเล็ก ๆ ทั่วทั้งผล เป็นอาการที่เรียกว่า “วงแหวน” บริเวณที่เป็นจุดมีลักษณะเป็นไตแข็ง ผิวขรุขระยิ่งผลใกล้สุกยิ่งเห็นชัดเจน ความเสียหายจากการระบาดของโรคอาจถึงขั้นทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และต้นตายในที่สุด การแพร่ระบาดเชื้อแพร่ระบาดโดยวิธีกล จากการสัมผัสต้นที่เป็นโรคแล้วไปสัมผัสกับต้นที่ไม่เป็นโรค และแมลงพาหะคือ เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii) และเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis craccivora) การจัดการโรคขุดทำลายต้นที่เป็นโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของเพลี้ยอ่อนด้วยสารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ไดโนทีฟูเรน (dinotefuran) หรือ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid)เป็นต้น 3.โรคใบด่างเหลืองถั่วฝักยาว (Yellow mosaic disease) สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Cowpea aphid-borne mosaic virus (CAMV) อาการของโรคใบด่างเป็นแถบหรือจุดประสีเหลือง เห็นชัดเจนบนใบอ่อน ส่วนใบแก่มักพบอาการด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม อาการด่างมีได้หลายลักษณะ ไม่มีรูปแบบแน่ชัด ถ้าเป็นมากใบจะบิดม้วนงอและเสียรูป ใบมีขนาดเล็กลง ต้นแคระแกร็นผลผลิตลดลง อาการบนถั่วพุ่มคล้ายกับอาการบนถั่วฝักยาว การแพร่ระบาดเชื้อสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ และแมลงพาหะคือ เพลี้ยอ่อน Aphis craccivora , A. fabae , A. medicaginis , A. gossypii , Macrosiphum euphorbiae และ Myzus persicae การจัดการโรคเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรคถอนต้นเป็นโรคทิ้งเพื่อลดแหล่งของเชื้อตั้งต้นและควบคุมการแพร่ระบาดของเพลี้ยอ่อน 4.โรคใบหงิกเหลืองของมะเขือเทศ (Tomato yellow leaf curl disease) สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Tomato yellow leaf curl virus (TYLCV) อาการของโรคเมื่อพืชได้รับเชื้อไวรัสจะแสดงอาการที่ใบอ่อน โดยใบที่แตกใหม่มีขนาดเล็กหงิกงอ สีเหลือง ใบด้านล่างทรงพุ่มจะมีขอบใบม้วนงอ อาจม้วนขึ้นหรือลงก็ได้ผิวใบย่นไม่เรียบ ใบหดเล็กมีสีเหลือง ยอดแตกเป็นพุ่มแตไ่ม่เจริญเติบโตแคระแกร็น การแพร่ระบาดเชื้อแพร่ระบาดโดยถ่ายทอดด้วยแมลงหวี่ขาว (Bemisia tabaci) และวิธีการทาบกิ่ง (graft transmission) การจัดการโรคทำลายต้นเป็นโรคโดยเผาหรือฝังดินไม่ให้เหลือในบริเวณที่ปลูกพืชควบคุมการระบาดของแมลงหวี่ขาวด้วยการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะของโรค เช่น ไดโนทีฟูเรน (dinotefuran) หรือ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) เป็นต้นหรือวางแผนปลูกให้พืชเติบโตและแข็งแรงก่อนฤดูแพร่ระบาดของแมลงหวี่ขาว 5.โรคใบด่างแตงกวา (Cucumber mosaic disease) สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Cucumber mosaic virus (CMV) อาการของโรคอาการโรคจะเริ่มแสดงที่ใบอ่อน เส้นใบมีสีใส ใบหงิก ผิวเป็นคลื่น ขอบใบม้วนลง อาการจุดสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองกระจายทั่วใบ จากนั้นเปลี่ยนเป็นอาการใบด่างเป็นหย่อม สีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองสลับสีเขียวเข้ม ใบบิดเบี้ยว และอาการที่ผลจะมีอาการด่างลาย เขียวซีด หรือขาวสลับกับสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระ และอาจทำให้มีรสขม ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ต้นแคระแกร็น ผลผลิตลดลง โรคสามารถถ่ายทอดเชื้อได้โดยการสัมผัส เมล็ด และแมลงพาหะ ในกลุ่มเพลี้ยอ่อน การจัดการโรคการกำจัดต้นเป็นโรคและวัชพืชต่างๆในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดเชื้อไวรัสการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน การปลูกพืชหมุนเวียน เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ลักษณะเนื้อยาแต่ละสูตรของสารกำจัดศัตรูพืชลักษณะเนื้อยาแต่ละสูตรของสารกำจัดศัตรูพืช โรคไหม้ (Blast Disease)โรคไหม้เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae ซึ่งสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะตั้งแต่เริ… โรคราดําของลำไยเชื้อราไม่ได้ทําลายต้นลำไยโดยตรงแต่จะไปขัดขวางการสังเคราะห์แสงของใบ ทำให้ชะงักกา… โรคแส้ดำในอ้อยสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อโรครานี้ อาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของต…