หน้าแ... > ความร... > บทควา... > ไม่ได... > ไม่ได้มีแค่คนที่ “เมา” ได้ แต่ “ข้าว” ก็ “เมา” ได้เช่นกัน 966 จำนวนผู้เข้าชม อาการข้าว เมาตอซัง (Akiochi) เป็นผลมาจากการย่อยสลายของตอซังที่ไม่สมบูรณ์เมื่อทำการปลูกข้าวลงไปในพื้นที่นั้น ทำให้ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินที่ใช้ธาตุไนโตรเจนในดินในการย่อยสลายตอซัง ปลดปล่อยกรดอินทรีย์ ก๊าซต่างๆ และความร้อน ทำให้ระบบรากข้าวที่ปลูกใหม่ถูกทำลายเสียหาย ต้นข้าวอ่อนแอ การเจริญเติบโตลดลง และส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตของข้าวในระยะออกรวง การป้องกันกําจัด 1) ระบายนํ้าเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนํานํ้าใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย2) หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ 3) ไม่ควรให้ระดับนํ้าในนาสูงมากเกินไปและมีการไหลเวียนของนํ้าอยู่เสมอ อ้างอิง https://newwebs2.ricethailand.go.th/webmain/rkb3/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%87.pdf.