จะเป็นอย่างไรเมื่อมีการใช้สารเคมีควบคุมเชื้อ ฟิวซาเรี่ยม สาเหตุโรคกิ่งแห้งในทุเรียน จะเอาอยู่หรือไม่ - ICPLADDA

จะเป็นอย่างไรเมื่อมีการใช้สารเคมีควบคุมเชื้อ ฟิวซาเรี่ยม สาเหตุโรคกิ่งแห้งในทุเรียน จะเอาอยู่หรือไม่

42076 จำนวนผู้เข้าชม

ฟิวซาเรี่ยม
    ปัจจุบันในการปลูกทุเรียนนอกจากปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora แล้วนั้น ยังมีโรคกิ่งแห้งที่เกิดจากเชื้อ Fusarium sp. ที่มักพบเข้าทำลายก่อให้เกิดความเสียหายร่วมกับโรครากเน่าโคนเน่าเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มมากขึ้น
    โดยเชื้อจะทำให้เกิดอาการกิ่งแห้ง ทำกิ่งเปราะ หักง่าย หรือยอดแห้งตาย ใบเหลืองหลุดร่วง สามารถพบส่วนของเชื้อราเจริญบนกิ่งที่มีอาการโรคมีสีขาว ขาวอมส้มถึงชมพู เนื้อเยื่อด้านในมีสีน้าตาลเข้ม  ดูคล้ายโรคราสีชมพูที่เกิดจากเชื้อ Erythrichium salmonicolor  โดยโรคกิ่งแห้งสามารถพบโรคได้กับทุเรียนในทุกระยะการเจริญเติบโต  
    เชื้อ Fusarium sp. เป็นเชื้อราอาศัยในดิน เมื่อไม่มีพืชอาศัยสามารถพักตัวในดินได้นานหลายปี  สามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด  โดยเชื้อเข้าสู่ต้นพืชได้หลายทาง เช่น ราก กิ่งก้าน ใบ ปลายยอด ผล นอกจากนี้เชื้อสามารถเจริญและเข้าทำลายท่อลำเลียงของพืชได้
ภาพเชื้อรา Fusarium sp.
อาการของโรคกิ่งแห้งในทุเรียน
ภาพของการเข้าทำลายของมอดร่วมกับโรคกิ่งแห้ง
การป้องกันกำจัดโรค
  • ทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ไม่ให้รกทึบ 
  • ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำออกจากสวน
  • ทำการควบคุมแมลงที่เจาะทำลายกิ่ง ก้าน หรือลำต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคกิ่งแห้งมากขึ้น 
  • การพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา โดยสารที่แนะนำ เช่น  procloraz, tebuconazole difenoconazole+propiconazole หรือ cymoxanil+mancozeb เป็นต้น ซึ่งมีผลการทดลองในห้องปฏิบัติการเบื้องต้นว่าสามารถควบคุมเชื้อ Fusarium sp. ไอโซเลทที่แยกจากตัวอย่างโรคจาก จ.ชุมพร ได้ 100% ซึ่งสารส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Frac 3 ยกเว้น cymoxanil+mancozeb อยู่ในกลุ่ม Frac 27 และ M3 ซึ่งสามารถนำไปสลับสารในกลุ่มข้างต้น เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้
Fusarium sp.
ชื่อสามัญ                                                                    อัตราการใช้      ไอโซเลท

1.procloraz 45%EW                                                     20cc/20L         Frac 3
2.propamocarb HCl 72.2% SL                                   20cc/20L         Frac 28
3.dimethomorph 50%WG                                           20g/20L           Frac 40
4.cymoxanil+mancozeb (8%+64%) WP                   20g/20L           Frac 27+M3
5.tebuconazole 43%SC                                              20cc/20L         Frac 3
6.difenoconazole+propiconazole 15+15%EC         20cc/20L         Frac 3+3
7.carbendazim 50%SC                                               20cc/20L         Frac 1
8.fosethyl-Al 80%WG                                                  20g/20L           Frac P7
9.copper hydroxide 77%WP                                       30g/20L           Frac M1
10.kresozim-methyl 50%SC                                      20cc/20L          Frac 11
11.control
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า