1521 จำนวนผู้เข้าชม
โรคพืชที่โจมตีระบบรากทุเรียน
ในการปลูกทุเรียน เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบรากนั้นมีความสำคัญที่จะต้องดูแลรักษาให้มีสุขภาพที่ดีและมีความแข็งแรง เพราะจะมีผลต่อผลผลิตทุเรียนโดยตรงแล้วยังมีผลต่อการเข้าทำลายของโรคอีกด้วย โดยโรคทุเรียนที่สำคัญที่เข้าทำลายระบบรากได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี อาการที่รากเริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง รากใต้กิ่งที่มีอาการจะเน่าถอดปลอกและเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล เมื่อโรครุนแรงขึ้นอาการเน่าจะลามไปยังระบบรากแขนง โคนต้น ลำต้น และกิ่ง ทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรม ใบร่วงและยืนต้นตายในที่สุด นอกจากโรครากเน่าโคนเน่าและยังมีโรคที่เข้าทำลายรากทุเรียนของจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชต่างๆ เช่น Pratylenchus sp. ด้วย ซึ่งอาการของโรคส่วนใหญ่ทำให้ทุเรียนมีอาการต้นโทรม
จากปัญหาโรคที่เข้าทำลายระบบรากทุเรียนต่างๆ ข้างต้น เกษตรกรที่กำลังจะปลูกทุเรียนควรมีการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสม ถ้าในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวหรือในพื้นที่ที่มีฝนชุกจะนิยมปลูกทุเรียนแบบนั่งแท่นหรือยกโคกเพื่อช่วยให้มีการระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขังระบบราก ซึ่งถ้าน้ำท่วมขังระบบรากนานจะส่งผลให้ต้นทุเรียนเป็นโรครากเน่าโคนเน่าได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องระมัดระวังการใช้สารกำจัดวัชพืชโดยเฉพาะในบริเวณในทรงพุ่มของทุเรียนที่จะมีผลกระทบโดยตรงกับระบบรากทำให้รากเน่าเสียหาย ส่งผลให้เกิดการเข้าทำลายของโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนตามมาอีกด้วย ในการกำจัดวัชพืชภายในทรงพุ่มควรใช้การตัดแต่งแทนจะดีกว่าการใช้สารกำจัดวัชพืชพ่นภายในทรงพุ่มโดยตรง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
เฮียครับ เอา“ยาคุมไข่” ด้วยนะ
เกษตรกรหลายๆท่านคงเคยได้ใช้คำพูดนี้กับเวลาที่ไปซื้อสารกำจัดแมลงตามร้านจำหน่ายส…
-
โรคเมล็ดด่างในนาข้าว
โรคเมล็ดด่างเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้า…
-
เทคนิคเช็กโรคใบจุดสีน้ำตาลในช่วงข้าวเล็ก
ในช่วงสภาพอากาศร้อนนี้เกษตรกรอาจสังเกตุพบโรคใบจุดสีน้ำตาลเกิดขึ้นกับข้าวได้ตั้งแ…
-
จะเป็นอย่างไรเมื่อมีการใช้สารเคมีควบคุมเชื้อ ฟิวซาเรี่ยม สาเหตุโรคกิ่งแห้งในทุเรียน จะเอาอยู่หรือไม่
โรคกิ่งแห้งที่เกิดจากเชื้อ Fusarium sp. เชื้อจะทำให้เกิดอาการกิ่งแห้ง ทำกิ่งเปรา…