แท้จริงแล้ว สารสีฟ้าในต้นหอมอันตรายหรือไม่? - ICPLADDA

แท้จริงแล้ว สารสีฟ้าในต้นหอมอันตรายหรือไม่?

5539 จำนวนผู้เข้าชม

สารสีฟ้าในต้นหอม
จากกรณีพบคราบสารป้องกันกำจัดโรคในต้นหอมที่เป็นข่าว พบว่าสารที่ตกค้างไม่มีอันตรายร้ายแรงต่อผู้บริโภคแต่ควรล้างทำความสะอาดก่อนรับประทาน
   จากข่าวที่พบคราบสารเคมีตกค้างในต้นหอมนั้น  ซึ่งต่อมาหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำตัวอย่างมาตรวจสอบระบุว่าเป็นสารแมนโคเซบ (mancozeb)   ซึ่งเป็นสารกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดโรคพืชแบบสัมผัส contact (protectant) fungicides  ไม่ดูดซึมในต้นพืช  เรามาทำความรู้จักสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกษตรกรใช้
สารป้องกันกำจัดโรคพืชแบ่งความสามารถในการเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ 2 กลุ่ม
      1.สารกำจัดโรคพืชแบบสัมผัส contact (protectant) fungicides เป็นสารที่มีฤทธิ์แบบป้องกันการติดเชื้อ สารไม่เคลื่อนย้าย (ไม่ดูดซึม) ในต้นพืช  มีกลไกการเข้าทำลายเชื้อโรคได้หลายตำแหน่ง และมีฤทธิ์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคได้หลายชนิด ถูกชะล้างได้ง่ายโดยน้ำฝนทำให้มีการตกค้างบนระยะเวลาสั้น และเสื่อมสลายได้ง่ายจากปัจจัยต่างๆ เช่น รังสียูวี ความร้อน หรือกิจกรรมของจุลินทรีย์ เป็นต้น ตัวอย่างสาร ได้แก่ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ กำมะถัน แมนโคเซบ แคปแทน หรือ คลอโรทาโลนิล เป็นต้น 
การตกค้างของสารป้องกันกำจัดโรคในต้นหอม
      2.สารกำจัดโรคพืชแบบดูดซึม systemic fungicides เป็นสารที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (ดูดซึม) ในต้นพืช ซึ่งสารต่างๆจะมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายได้แตกต่างกัน มีเพียงแค่บางสารที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสมบูรณ์ทั่วทั้งต้นพืช มีฤทธิ์ในการรักษาโรคเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้ว มีความจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อสาเหตุโรค ตัวอย่างสาร ได้แก่ ไทอะเบนดาโซล ไอโพรไดโอน โพรพิโคนาโซล เมทาแลกซิล หรือ อะซอกซีสโตรบิน เป็นต้น  สารกลุ่มนี้ทนการชะล้างได้ดีกว่าสารกำจัดโรคพืชแบบสัมผัส
การล้างทำความสะอาดต้นหอม
      เนื่องจากแมนโคเซบเป็นสารกำจัดโรคพืชแบบสัมผัส  จะตกค้างผิวพืชไม่ดูดซึมเข้าไปในเซลล์ของต้นหอม เกษตรกรควรล้างทำความสะอาดผลผลิตให้สารที่ตกค้างออกจนหมดก่อนนำไปจำหน่าย นอกจากนั้นเกษตรกรต้องวางแผนการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยต้องทำการงดการฉีดพ่นอย่างน้อย 15 วัน ก่อนทำการเก็บเกี่ยว กรณีใช้สารกำจัดโรคพืชแบบดูดซึมให้ทำการงดการฉีดพ่นตามที่ฉลากของสารทำการระบุไว้  จะทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับผลกระทบและมีความปลอดภัย

อ้างอิง: https://www.opsmoac.go.th/pathumthani-news-preview-451891792128
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า