ผลกระทบของสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงต่อข้าว - ICPLADDA

ผลกระทบของสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงต่อข้าว

3070 จำนวนผู้เข้าชม

ผลกระทบของสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงต่อข้าว
     เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเรากำลังประสบปัญหาโลกร้อน ที่ทำให้สภาพอากาศมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปกติจากเดิม ซึ่งทำให้ฤดูร้อนมีสภาพอากาศที่ร้อนยิ่งขึ้นร่วมกับฤดูกาลที่มีสภาพแล้งฝนทิ้งช่วงจะมีผลกระทบอย่างมากต่อการปลูกข้าวที่อุณหภูมิตั้งแต่ 35°C จะเป็นช่วงวิกฤตของข้าวในระยะเจริญพันธุ์ (Reproductive Stage) คือระยะข้าวตั้งแต่ ระยะตั้งท้อง ระยะออกรวง ระยะดอกบาน และระยะการสะสมอาหารในเมล็ด โดยระยะที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ ระยะดอกบาน จะมีผลทำให้การผสมเกสรลดลง เมล็ดลีบเพิ่มขึ้น การพัฒนาของเมล็ดเกิดขึ้นช้า และทำให้ผลผลิตลดลง ข้าวแต่ละพันธุ์จะมีความทนต่อสภาพอากาศร้อนไม่เท่ากัน โดยในพันธุ์ที่ไม่ทนต่ออากาศร้อนก็จะมีผลผลิตลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ยังส่งผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวอีกด้วย
ภาพผลกระทบของสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงต่อข้าว
        จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสภาพอากาศร้อนจะมีผลกระทบอย่างมากต่อข้าวในระยะดอกบาน ดังนั้น ชาวนาที่จะทำการปลูกข้าวจะต้องวางแผนการปลูกให้ข้าวที่ปลูกเมื่อถึงระยะดอกบานจะไม่กระทบกับสภาพอากาศร้อน และควรเลือกพันธุ์ข้าวที่มีความทนต่อสภาพอากาศร้อน เช่น กข31 สุพรรณบุรี 1 ปทุมธานี 1 กข57 เป็นต้น หลีกเลี่ยงพันธุ์ที่ไม่ทนต่ออากาศร้อน เช่น พิษณุโลก 2 กข29 กข41 กข47 เป็นต้น รวมถึงการจัดเตรียมแหล่งน้ำให้เพียงพอตลอดการเพาะปลูกเพื่อลดผลกระทบ
บอมส์ ไฮโดรไลซ์
       ไอซีพี ลัดดา ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ บอมส์ ไฮโดรไลซ์ ที่ประกอบด้วย กรดอะมิโน ที่สกัดจากโปรตีนพืชด้วยกระบวนการใช้เอนไซม์ ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ช่วยให้ข้าวแตกกอดี รวงข้าวเต็ม น้ำหนักดี ที่สำคัญทำให้ต้นข้าวต้านทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนได้ดี โดยใช้อัตรา 120 ซีซี/ไร่ พ่น 2 ครั้ง ในช่วงแตกกอ ข้าวอายุ 30-40 วัน และช่วงตั้งท้อง ข้าวอายุ 60-70 วัน สามารถผสมและพ่นร่วมกับสารกำจัดแมลงหรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราได้
อ้างอิง
ปฏิทินล้นเกวียน คุณนิทัศน์ เจริญธรรมรักษา นายกสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว
Satake, T., and S. Yoshida. 1978. High temperature induces sterility in indica rice at flowering. Jpn. J. Crop Sci. 47: 6-17.
Matsui, T., K. Omasa, and T. Horie. 2000. High temperatures at flowering inhibit swelling of pollen grains, a driving force for thecae dehiscence in rice    (Oryza sativa L.). Plant Prod. Sci. 3: 430–434.
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า