ปัญหาในการปลูกอ้อย พร้อมวิธีการที่ง่ายกว่าที่คิด - ICPLADDA

ปัญหาในการปลูกอ้อย พร้อมวิธีการที่ง่ายกว่าที่คิด

5852 จำนวนผู้เข้าชม

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย สามารถปลูกได้เกือบทั่วประเทศ ถ้าหากปลูกและดูแลอย่างถูกวิธี สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว

ขั้นตอนคร่าวๆในการปลูกอ้อย

  1. เตรียมแปลงปลูกอ้อยให้พร้อมเสียก่อน ทางที่ดีควรเป็นแปลงเพื่อการปลูกอ้อยโดยเฉพาะ ไม่แนะนำให้ปลูกปนกับพืชอย่างอื่น เตรียมดินให้พร้อมด้วยการไถดินให้ลึกในช่วงที่ดินยังพอมีความชื้นอยู่ แต่ในกรณีที่ปลูกอ้อยในช่วงปลายหน้าฝนหรือปลูกข้ามแล้ง ผู้ปลูกจะต้องไถหน้าดินให้ละเอียดก่อน ไม่อย่างนั้นดินจะสูญเสียความชื้นเร็ว
  2. ต่อมาต้องคัดเลือกต้องคัดพันธุ์อ้อยที่จะนำมาใช้ปลูก โดยเลือกที่มีมาตรฐานตรงตามสายพันธุ์ ตรวจสอบอย่างละเอียดว่าไม่มีโรคพืช หรือแมลงศัตรูพืช  และท่อนพันธุ์ที่จะนำมาใช้ ควรมีอายุประมาณ 6-8 เดือน
  3. ก่อนปลูกให้เอามีดมาตัดท่อนอ้อยส่วนที่ชิดโคนก่อน และตัดยอดที่อยู่ต่ำกว่าคอใบสุดท้ายออก ลอกกาบใบออก และตัดแบ่งอ้อยออกเป็น 3 ตาต่อท่อน จากนั้นให้นำไปปลูกในดิน โดยให้ปลูกเรียงเป็นแถวเดียว และแต่ละท่อนควรห่างกันประมาณ 50 ซม. เมื่อปลูกลงดินเสร็จแล้ว ให้กลบดินลงไปหนาประมาณไม่เกิน 5 ซม.

ปลูกอ้อยในช่วงไหนได้บ้าง?

เราสามารถปลูกอ้อยได้ใน 2 ช่วงหลักๆ คือ…

  1. ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน // สามารถปลูกได้ทั้งในเขตชลประทานและเขตที่อาศัยน้ำฝน โดยช่วงที่ปลูกจะเป็นเดือนก.พ.-เม.ย. สำหรับในเขตชลประทาน แต่ถ้าเป็นอีกเขต จะนิยมปลูกในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย.
  2. ปลูกในช่วงปลายฤดูฝน // หรือเรียกว่าปลูกอ้อยข้ามแล้ง วิธีนี้สามารถปลูกได้แค่บางส่วนของภาคอีสานและภาคตะวันออกเท่านั้น ซึ่งพื้นที่ที่สามารถปลูกได้จะต้องเป็นดินทราย หรือร่วนปนทราย และมีการคาดการณ์ว่ามีฝนกระจายตัวดีด้วย

ปัญหาในการปลูกอ้อย พร้อมวิธีแก้

ปัญหาอย่างแรกคือวัชพืช เพราะอ้อยมีวัชพืชเป็นศัตรูมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ผักบาง ผักเบี้ยหิน ผักโขม ผักปราบ หญ้าปากควาย ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจตราแปลงอ้อยอยู่เป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีวัชพืชจะมาแย่งสารอาหาร 

ปัญหาต่อมาคือปัญหาเรื่องดินที่ใช้ปลูก ที่มีลักษณะไม่ดี สารอาหารไม่เพียงพอ โดยปรกติแล้ว อ้อยต้องการแร่ธาตุทั้งหมด 16 แร่ธาตุ รวมทั้งน้ำและอากาศด้วย แต่ธาตุที่ต้องการมากที่สุดคือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม นอกจากนี้ อีกสิ่งสำคัญคือความเป็นกรดด่างในดิน ซึ่งค่า pH ที่เหมาะสมของดินที่ใช้ปลูกอ้อย ควรอยู่ที่ 6.0-7.5 เพราะจะช่วยให้อ้อยดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุด ถ้าหากพบปัญหานี้ เบื้องต้นให้แก้ด้วยการเทปูนลงในดิน โดยปูนที่สามารถใช้ได้คือปูนขาว หินปูน โดโลไมท์ และปูนไฮเดรท แต่ก็เป็นการแก้ที่ยุ่งยาก เพราะต้องนำตัวอย่างดินไปตรวจในห้องแล็บ เพื่อให้รู้ว่าควรเทปูนลงไปเท่าไหร่

ค่าความเป็นกรดด่างในดิน แบบไหนอันตราย แบบไหนกำลังดี?

บอกลาความยุ่งยาก! ให้ปัญหาทั้งเรื่องดินและวัชพืชเป็นเรื่องง่าย แค่เลือก “ราเซอร์” และ “ซอยบอม”

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาวัชพืชก่อกวนในไร่อ้อย หรือปัญหาดินไม่ดี ก็จัดการอยู่หมัดได้ด้วยคู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก ICP Ladda

ปัญหาวัชพืชในไร่อ้อย ไว้ใจใช้ “ราเซอร์”!

ราเซอร์เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืช โดยใช้ได้กับอ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เป็นสารกลุ่ม Chloroacetamides  ประกอบด้วย Acetochlor 50% EC ออกฤทธิ์แบบเลือกทำลายและดูดซึมเข้าทางยอด จะไปรบกวนการงอกของวัชพืช ตั้งแต่รากไปจนถึงลำต้น พร้อมทั้งยับยั้งการแบ่งเซลล์ที่ปลายยอด

สามารถใช้กำจัดวัชพืชได้หลายชนิด เช่น หญ้าปากควาย หญ้าตีนติด หญ้าดอกขาว ปอวัชพืช ฯลฯ 
เพียงแค่ผสมผลิตภัณฑ์ 800 มล. กับน้ำประมาณ 60-80 ลิตร จากนั้นนำไปพ่นภายในพื้นที่ 1 ไร่ได้เลย

ดินไม่ดี สารอาหารไม่พร้อม ให้ “ซอยบอม” จัดการ!

ผลิตภัณฑ์เพื่อการปรับปรุงดินเพาะปลูกโดยเฉพาะ ประกอบด้วย Ammo nium Laureth Sulfate มีคุณสมบัติดังนี้…

-ทำให้ดินมีความร่วนมากขึ้น พร้อมลดการชะล้างหน้าของหน้าดิน

-ปรับสมดุลความเป็นกรด-ด่าง และทำให้ดินกระจายน้ำได้ง่ายขึ้น ซึมลงลึกขึ้น หมดปัญหาน้ำท่วมขัง

-ทลายดินเพดาน สร้างระบบรากลึกและแผ่กระจายรากออกไปมากขึ้น ทำให้ดูดซึมสารอาหารได้ดีกว่าเดิม

-ป้องกันโรคพืชได้ เช่น รากเน่า เน่าคอดิน ฯลฯ

ส่วนวิธีการใช้งาน มี 2 ดังนี้…

-สำหรับสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น สวนผัก พืชไร่ ไม้ดอก และไม้ประดับขนาด 1 ไร่ ให้ผสมซอยบอม 70-140 ซีซีกับน้ำประมาณ 80-100 ลิตร จากนั้นนำไปฉีดพ่นให้ทั่ว

-สำหรับไม้กระถาง ให้ใช้เพียงแค่ 2-4 หยดกับน้ำ 1 ลิตร โดยอัตราส่วนนี้เหมาะสำหรับกระถางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6-8 นิ้ว และเมื่อผสมผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว จะใช้วิธีฉีดพ่นหรือใช้บัวรดน้ำก็ได้

…อย่าลืมใช้ราเซอร์และซอยบอมคู่กัน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด…

ข้อแนะนำในการใช้ราเซอร์และซอยบอม

  1. สำหรับซอยบอม ควรใช้กับดินที่มีความชื้น และห้ามใช้ร่วมกับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อพืชเด็ดขาด
  2. สวมถุงมือและหน้ากากป้องกันอย่างมิดชิดทุกครั้งขณะใช้งาน ไม่ว่าอยู่ในขั้นตอนใด
  3. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้ผลิตภัณฑ์เสร็จ
  4. เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว หาถังขยะทิ้งให้เรียบร้อย ห้ามทิ้งบรรจุภัณฑ์ลงแหล่งน้ำหรือตามพื้นตามธรรมชาติเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายได้
  5. เก็บผลิตภัณฑ์ให้ห่างไกลจากอาหาร สัตว์เลี้ยง และเด็ก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า