ระวัง! 8 โรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ICPladda

ระวัง! 8 โรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย

79112 จำนวนผู้เข้าชม

เชื้อราและเชื้อแบคทีเรียไม่ได้ก่อให้เกิดโรคในคนเพียงอย่างเดียว แต่ยังก่อให้เกิดโรคในพืชได้อีกด้วย ซึ่งแต่ละโรคก็ร้ายแรงไม่แพ้กัน สามารถทำให้ได้ผลผลิตออกมาน้อย ไม่สวย หรืออาจทำให้พืชตายโดยสมบูรณ์เลยก็ได้

ดังนั้น วันนี้เราจะมาพูดถึงโรคพืชจากเชื้อราและแบคทีเรีย 10 โรคที่พบได้บ่อยที่สุด มาดูกันว่าแต่ละโรคเกิดจากเชื้อชนิดไหน มีอาการอย่างไร และจะหยุดโรคได้อย่างไร

1.โรคแอนแทรคโนส

โรคนี้เกิดมาจากเชื้อราชื่อ Colletotrichum sp อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ง่ายๆ คือพืชจะมีจุดช้ำสีน้ำตาล และจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยมักเกิดบนผลของพืช แต่หลายครั้งก็เกิดขึ้นบนใบได้ ทำให้ใบมีลักษณะเดียวกัน เพิ่มเติมคือจะหงิกงอและฉีกขาดด้วย บางครั้งก็เกิดขึ้นที่กิ่ง ทำให้กิ่งไหม้ได้ แอนแทรคโนสเกิดขึ้นได้กับพืชทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพริก มะม่วง องุ่น ฯลฯ และสามารถแพร่กระจายได้ง่ายด้วยลม ฝน ความชื้น และแมลง

2. โรคราแป้ง

สาเหตุคือเชื้อรา Oidium sp. จัดเป็นโรคอันตรายสำหรับถั่วเขียว เพราะสามารถแพร่กระจายได้ง่ายถ้าปลูกในภาวะอากาศเย็นหรือชื้น เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะอากาศเช่นนั้น นอกจากนี้ ถ้ามีลมแรง ลมก็จะพัดพาเอาเชื้อราไปได้ง่ายๆ และเมื่อเชื้อราไปสัมผัสถูกใบแล้ว ก็จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ผิวใบ จนใบแห้งหยาบๆเหมือนผงแป้ง และตายได้ในที่สุด

โดยอาการจะเริ่มตั้งแต่ช่วงด้านล่างของใบไปจนถึงด้านบน โรคนี้มักพบในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

3. โรคราน้ำค้าง

โรคนี้เกิดขึ้นได้กับพืชหลายชนิด และแต่ละชนิดก็จะจะมีเชื้อราที่เป็นสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น ในองุ่น โรคนี้จะเกิดมาจากเชื้อรา Plasmopara viticola ในแคนตาลูปจะเกิดมาจาก Pseudoperonospora cubensis ในข้าวโพดจะเกิดมาจาก Peronosclerospora sorghi เป็นต้น

อาการโดยรวมคือตามใบจะมีรอยจ้ำๆเป็นสีขาว ขอบสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่ว แต่บางครั้งก็เป็นสีเหลืองด่างๆ สีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นจุดขาวๆเล็กๆ ถ้าปล่อยไว้นานๆจะทำให้พืชอ่อนแอ สร้างผลผลิตที่ดีไม่ได้ และยังอาจทำให้ต้นอ่อนตายได้ด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคคือ การปลูกพืชในบริเวณที่มีความชื้นสูง

4. โรคใบสีส้ม

เกิดจากเชื้อไวรัส Yellow Orange Leaf Virus มีเพลี้ยจักจั่นสีเขียวเป็นพาหะนำโรค จัดเป็นโรคอันตรายสำหรับต้นข้าว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วง ตั้งแต่ตอนยังเป็นต้นอ่อนไปจนถึงตอนเริ่มแตกกอ โดยถ้าเกิดขึ้นในช่วงที่ยังเป็นต้นอ่อน เปอร์เซ็นต์ความเสียหายจะมีมากกว่า ถึงขั้นตายได้

อาการโดยรวมคือ ใบข้าวจะเป็นสีเหลืองปนเขียว ลุกลามจากปลายใบเข้าหาโคนใบ นอกจากนี้ต้นข้าวจะเตี้ย แคระแกรน ออกรวงช้าและไม่สวย

5. โรคเน่าดำ

เชื้อรา Phytophthora palmivora  คือสาเหตุของโรคนี้ เกิดขึ้นกับกล้วยไม้เกือบทุกชนิด ดังนั้น ใครที่ปลูกกล้วยไม้อยู่ควรเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนเพราะฤดูฝนอากาศจะชื้น เชื้อราจะยิ่งแพร่กระจายได้ง่าย

อาการของโรคที่สามารถสังเกตได้ คือ จะมีจุดใสๆเหลืองๆ ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือดำ สามารถขยายวงกว้างได้ นอกจากนี้จะมีกลิ่นเปรี้ยวๆด้วย

6. โรคราสนิมขาว

เกิดมาจากเชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada พบได้บ่อยในพืชผักทั่วไป พืชที่ติดโรคนี้จะมีจุดซีดๆสีขาวหรือเหลือง และปุ่มเล็กๆตั้งแต่ใบไปจนถึงลำต้น

ผู้ที่ปลูกพืชผักในแถบภาคเหนือควรต้องระวังให้มากๆ โดยโรคนี้จะระบาดได้ง่ายในช่วงอากาศหนาว เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิราว 4-24 องศา

7. โรคเน่าคอดิน

สาเหตุคือเชื้อรา Pythium sp.หรือ Phytophthora sp. โดยจะเกิดขึ้นกับต้นกล้า โดยเฉพาะในแปลงที่ต้นกล้าถูกปลูกไว้อัดแน่นกันจนเกินไป

อาการของโรคได้แก่ ส่วนโคนติดดินจะมีรอยเน่าช้ำและแห้ง ปล่อยไว้นานๆจะทำให้ต้นกล้าตายได้ ยิ่งในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน ผลกระทบจากโรคจะยิ่งร้ายแรงมากกว่าปรกติ

8. โรคเน่าเละ

สาเหตุของโรคมาจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Erwinia carotovora subsp. carotovora เป็นโรคร้ายสำหรับบรรดาพืชผัก อาการของโรคคือจะมีรอยช้ำจนกระทั่งเน่าไปทั่ว พืชจะเหี่ยวและตายในที่สุด

โรคนี้แพร่ระบาดได้แมลงพาหะ หรือเมือกจากรอยเน่ากระเด็นไปถูกพืชผักที่อยู่ใกล้ๆกัน

อย่ารอช้า! อย่าปล่อยให้พืชตายก่อนมากำจัดโรคพืชตัวร้ายทั้งหมดด้วย“ไบออนแบค”

ไบออนแบคคืออะไร?

ไบออนแบคอยู่ในกลุ่ม Bacterium และประกอบด้วยแบคทีเรียชนิดดีที่เรียกว่า Bacillus subtillsY1336 เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดโรคพืชตัวเด่นจาก ICP Ladda โดยถูกทำมาเพื่อปกป้องพืชจากเชื้อราและแบคทีเรียโดยเฉพาะ ถือเป็นไอเท็มสำคัญที่เกษตรกรทุกคนควรมีเลยก็ว่าได้ เพราะผลิตภัณฑ์ตัวนี้เพียงตัวเดียวก็สามารถกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียได้อย่างครอบคลุม ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

ไบออนแบคออกฤทธิ์อย่างไร?

ไบออนแบคจะเข้าทำลายเชื้อราและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค อีกทั้งยังสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ แย่งสารอาหารได้อย่างยอดเยี่ยม และสร้าง Toxic metabolite มาเป็นภูมิคุ้มกันให้กับพืชที่ปลูกได้อีกด้วย

ไบออนแบคสามารถใช้ได้ในทุกสภาพอากาศ เพราะผลิตภัณฑ์ออกฤทธิ์อย่างทนทาน

วิธีใช้งานไบออนแบค

ให้ผสมผลิตภัณฑ์ที่อัตราส่วน 30 กรัมกับน้ำ 20 ลิตรจนเข้ากันดี จากนั้นนำไปฉีดพ่นได้ทันที โดยให้ฉีดทุกสัปดาห์ แนะนำช่วงเช้าหรือเย็นจะดีที่สุด เพราะถ้าหากฉีดช่วงเที่ยงหรือบ่าย แสงแดดจะทำให้ฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์อ่อนลง จึงจะปกป้องพืชไม่ได้เต็มที่

คำเตือน

  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยมือเปล่า ให้สวมถุงมือและหน้ากากป้องกันทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ละอองผลิตภัณฑ์สัมผัสถูกผิวหนังและตา
  • ล้างมือให้สะอาดหลังใช้ผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วทุกครั้ง
  • เก็บผลิตภัณฑ์ให้ห่างไกลจากอาหาร เด็ก และสัตว์เลี้ยง
  • ห้ามทิ้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เสร็จแล้วตามแหล่งน้ำ หรือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใดๆก็ตามเด็ดขาด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า