5131 จำนวนผู้เข้าชม

โดยปกติปัญหาหนอนกัดกินพืชก็ไม่ใชเรื่องเล็กอยู่แล้ว เพราะทำให้ผลผลิตเสียหาย ส่งผลให้เกษตรสูญเสียรายได้อีกด้วย
หนอนทุเรียน เป็นศัตรูตัวร้ายของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้ว่ามันกำลังจู่โจมทุเรียนอยู่ รู้อีกทีผลผลิตก็เสียหาย เน่าเละไปหมดจนไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้เลย
เพราะฉะนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหนอนทุเรียนกัน ว่ามันคืออะไร มาจากไหน ทำลายผลทุเรียนได้อย่างไร และที่สำคัญ เราจะป้องกันและกำจัดมันได้อย่างไร
หนอนทุเรียนเป็นอย่างไร และมาจากไหน?

หนอนทุเรียน บางครั้งก็เรียกกันว่าหนอนใต้ หรือหนอนมาเลย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mudaria luteileprosa Holloway เริ่มโจมตีทุเรียนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกไปจนถึงระยะท้ายๆเลยทีเดียวโดยจะเข้ากัดกินเมล็ดทุเรียนจนเสียหาย
หนอนทุเรียนมีวงจรชีวิตเหมือนหนอนทั่วๆไป นั่นคือสามารถเติบโตเป็นผีเสื้อได้ โดยมันสามารถวางไข่ได้มากถึง 200 ฟองเลยทีเดียว และแน่นอนว่ามันเลือกวางไข่บนผลทุเรียนที่ยังอ่อนๆอยู่ ทันทีที่ตัวอ่อนฟักออกมาได้แล้ว มันก็จะเริ่มกัดกินเมล็ดทุเรียนทันที ซึ่งถ้าเกษตรกรนิ่งนอนใจ ไม่หมั่นเฝ้าระวัง รู้ตัวอีกทีก็อาจเห็นทุเรียนถูกทำลายจนผลพรุนไปหมดแล้วก็ได้ เพราะในระยะแรกของการทำลายนั้นจะมองเผินๆแทบไม่ออก เพราะตัวอ่อนของหนอนมีขนาดเล็กมาก และเยื่อบนเปลือกทุเรียนก็สามารถมาบังรูเจาะของหนอนได้
จากนั้นหนอนจะใช้ชีวิตอยู่ในผลทุเรียนและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ช่วงชีวิตของการเป็นหนอนจะอยู่ที่ประมาณเดือนกว่าๆ จนกระทั่งเมื่อหนอนโตแล้ว ก็จะเข้าไปเป็นดักแด้ในดิน ซึ่งระยะเวลาทั้งหมดของช่วงชีวิตดักแด้จะอยู่ที่ 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ และสูงสุดราวๆ 9 เดือน เมื่อโตแล้วก็จะกลายเป็นผีเสื้อ และยังสามารถกัดกินทุเรียนได้อยู่ ลักษณะของผีเสื้อหนอนทุเรียนจะเป็นสีน้ำตาลหรือสีเหลืองเข้ม มีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่ว
หนอนทุเรียนว่ากันว่ากำเนิดมาจากมาเลเซียก่อนจะระบาดมาในไทย การระบาดครั้งแรกเริ่มขึ้นที่จังหวัดระยองเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน โดยสามารถพบได้ในการปลูกทุเรียนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกที่เป็นศูนย์กลางการปลูกทุเรียน
จะรู้ได้อย่างไรว่าทุเรียนโดนหนอนชนิดนี้ทำลายไปแล้ว?
ในระยะแรกจะสังเกตแทบไม่เห็นเลย เพราะรูที่หนอนเจาะมีขนาดเล็กมาก จะรู้ก็ต่อเมื่อหนอนเริ่มโตแล้วและไซเปลือกทุเรียนออกมาจนเป็นรู แต่ไม่อยู่ข้างในแล้ว

จะปราบหนอนเหล่านี้ได้อย่างไร?
เบื้องต้น เกษตรกรจะต้องระมัดระวังในการนำเมล็ดพันธุ์ทุเรียนเข้ามาปลูก เพราะอาจมีไข่หนอนปะปนมาได้ ไม่ควรใช้เมล็ดที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
นอกจากนี้ควรสำรวจแปลงปลูกทุเรียนทุกวัน วันละหลายรอบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเมื่อผลทุเรียนอายุได้ 6 สัปดาห์แล้ว ควรหาถุงพลาสติกมาห่อไว้เพื่อไม่ให้หนอนเข้าไปวางไข่และทำลายได้ แต่ในการห่ออย่าลืมเจาะรูที่ก้นถุงเพื่อเป็นที่ระบายน้ำ และถุงที่นำมาใช้ห่อต้องเป็นถุงที่สะอาด
แต่ถ้าหากห่อไม่ทัน เจอหนอนเป็นตัวๆแล้ว และเริ่มเห็นร่องรอยถูกทำลายแล้ว อย่ารอช้า ให้รีบจัดการด้วย “ไฮซีส” และ “แอสไปร์” ด่วน! ก่อนที่หนอนจะทำลายทุเรียนที่คุณปลูกมาอย่างยากลำบากจนหมดสิ้น
ทำไมต้องไฮซีสและแอสไปร์?
สำหรับใครที่ป้องกันหนอนไม่ให้เข้ามาย่ำกรายทุเรียนได้ทัน ไฮซีสและแอสไปร์คือคำตอบของคุณ มั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพสูงจาก ICP Ladda ที่จะช่วยทำให้ปัญหาทุเรียนถูกหนอนโจมตีนั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลุ้มใจอีกต่อไป
เริ่มที่ “ไฮซีส”
ไฮซีสจัดเป็นสารกลุ่ม Avermectin ที่ประกอบด้วย Emamectin benzoate 2.0% W/V ME ตัวยาทำงานแบบกินตายและถูกตัวตาย อีกทั้งยังเป็นสูตรยาเย็น อนุภาคผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็ก จึงทำให้ดูดซึมไว ออกฤทธิ์ทันทีที่ฉีดพ่น ถ้าหากมีหนอนอยู่ที่ทุเรียน หนอนจะหยุดกัดกินผลทุเรียนภายในเวลาไม่นาน และตายในชั่วอึดใจ
ซึ่งข้อดีของไฮซีสก็คือออกฤทธิ์นาน ทนทานต่อฝนด้วย ดังนั้นแม้จะเป็นฤดูฝน ก็ไม่ต้องกังวลว่าน้ำฝนจะชะล้างยาที่ฉีดไว้ออกไปหมด
ไฮซีสกำจัดหนอนชนิดไหนได้บ้าง? กำจัดได้หลายชนิด ไม่ว่าจะหนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้น หนอนเจาะผล และอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากใช้กับทุเรียนแล้ว ไฮซีสยังสามารถใช้ได้กับพืชอีกหลายชนิด เช่น มะม่วง หอมแดง คะน้า มะเขือ ส้ม ข้าวโพด
เมื่อผสมผลิตภัณฑ์ 10-20 ซีซีกับน้ำ 20 ลิตรแล้วก็สามารถนำไปฉีดพ่นใส่ทุเรียนที่เห็นว่ามีหนอนและร่องรอยการทำลายของหนอนได้ทันที
ต่อมาก็คือ “แอสไปร์” ตัวนี้ต่างจากไฮซีสอย่างไร?
แอสไปร์เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดหนอนเหมือนไฮซีส แตกต่างกันที่วิธีการทำงานเท่านั้น โดยแอสไปร์ไม่ได้ทำลายระบบในร่างกายของหนอนจนหนอนตาย แต่จะยับยั้งการลอกครอบของนอน ทำให้หนอนโตไม่ได้ ไม่สามารถทำลายทุเรียนต่อได้นั่นเอง
สามารถใช้กำจัดหนอนได้หลายชนิดนอกจากหนอนทุเรียน เช่น หนอนกะทู้ หนอนชอนใบ ฯลฯ กำจัดแบบปลอดภัย ไม่ทำให้ทุเรียนเสียหายอย่างแน่นอน
พร้อมใช้งานทันทีเมื่อผสมผลิตภัณฑ์ที่อัตราส่วน 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โดยให้พ่นตั้งแต่ช่วงที่ทุเรียนเริ่มแตกใบ และให้เว้นไปอีก 5 วัน แล้วค่อยพ่นใหม่
สนใจผลิตภัณฑ์สามารถติดต่อสอบถาม และสั่งซื้อได้ผ่านทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊กแฟนเพจของ ICP Ladda
ข้อแนะนำและคำเตือน
- ควรใช้สองผลิตภัณฑ์นี้คู่กันเพื่อประสิทธิภาพการกำจัดหนอนที่ดียิ่งขึ้น โดยไฮซีสสามารถพ่นหลังพบหนอนแล้วได้ แต่แอสไปร์จำเป็นต้องรอให้ทุเรียนแตกใบใหม่ก่อน แล้วค่อยพ่น เนื่องจากไม่ได้มีฤทธิ์เพียงแค่ทำให้หนอนลอกคราบไม่ได้เท่านั้น ดังนั้นถ้าใช้หลังจากที่หนอนโตแล้วจะไม่เกิดผลอะไร
- ใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวัง อ่านคำแนะนำบนฉลากให้เข้าใจ ปรึกษาผู้จำหน่ายก่อนใช้งาน และปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด
- สวมถุงมือและหน้ากากปิดใบหน้าให้มิดชิดในทุกขั้นตอนการใช้งาน ตั้งแต่การผสมไปจนถึงการฉีดพ่น เพื่อไม่ให้ละอองผลิตภัณฑ์เข้าตาหรือสัมผัสถูกผิวหนัง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ แต่ในกรณีที่ร่างกายไปสัมผัสถูกผลิตภัณฑ์แล้ว ให้รีบล้างออกและรีบไปพบแพทย์ทันทีถ้ามีความผิดปรกติใดๆ
- บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เสร็จแล้วควรรวบรวมไปทิ้งแยกประเภทไว้ให้ดี ห้ามทิ้งลงในแหล่งธรรมชาติเด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้
- เก็บในที่อุณหภูมิกลางๆ ไม่ร้อนไม่เย็น โดยควรเป็นจุดที่มิดชิด ที่เด็กและสัตว์เลี้ยงไม่สามารถเข้าถึงได้ และไม่ควรเก็บไว้ใกล้กับบริเวณที่ทานหรือประกอบอาหาร
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้ผลิตภัณฑ์เสร็จ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย แม้จะสวมถุงมืออยู่ตลอดเวลาก็ตาม
- ห้ามสูดดมผลิตภัณฑ์โดยเด็ดขาด