โรคใบจุดสีน้ำตาล - ICPLADDA

โรคใบจุดสีน้ำตาล

14000 จำนวนผู้เข้าชม

 

ผศ.ดร.อุดมศักดิ์  เลิศสุชาตวนิช

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

 

จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งของประเทศไทย ทำให้ปริมาณน้ำที่จะเข้ามาใช้ในการทำเกษตรกรรมและการปลูกข้าวมีปริมาณไม่เพียงพอ ชาวนาหลายรายประสบปัญหาต้นข้าวขาดน้ำตายหรือทำให้ข้าวชะงักเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และนอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อการระบาดของโรคข้าวบางชนิดด้วย เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล ที่เกิดจากเชื้อรา Bipolaris oryzae สาเหตุเนื่องมาจากการทำนาแบบต่อเนื่องของเกษตรกร ที่ไม่มีการพักดิน หรือไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ในดินลดลง อีกทั้งเกษตรกรมีการหว่านข้าวอย่างหนาแน่นประกอบกับข้าวได้รับความเครียดจากการขาดน้ำ ทำให้ข้าวอ่อนแอต่อโรคมากขึ้น ทำให้เกิดการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาลได้และจะทำให้ข้าวเกิดโรคเมล็ดด่างตามมา ผลผลิตเสียหายอย่างมาก ดังนั้นพี่น้องชาวนาควรวางแผนการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีในพื้นที่และในแต่ละฤดูกาล เพราะปัจจุบันเกษตรกรเพิ่มพื้นที่และความถี่ในการปลูกข้าวมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงปริมาณน้ำที่มี ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในการปลูกข้าวและการทำการเกษตรอื่นๆ

 

สาเหตุของโรคใบจุดสีน้ำตาล :  เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haa)

การแพร่ระบาด  :  สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อราสร้างสปอร์ปลิวไปตามลม และเชื้อสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์

      

โรคใบจุดสีน้ำตาลพบมากในดินที่ขาดธาตุอาหาร ซิลิคอน โพแทสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม และในสภาพที่ข้าวเมาตอซัง เป็นอาการของข้าวที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการย่อยสลายของฟางหรือตอซังเก่าที่ยังไม่สมบูรณ์  จะเกิดก็าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าวเกิดอาการรากเน่าดำ ไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ทำให้ข้าวอ่อนแอต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล เชื้อรานี้เข้าทำลายข้าวได้ดีที่อุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส  โดยเฉพาะเมื่อข้าวเกิดความเครียดจากการขาดน้ำ การพัฒนาของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ดีเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เชื้อราสามารถอยู่อาศัยได้ในพืชอื่นๆนอกจากข้าว ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด หญ้าแพรก หญ้าตีนกา และหญ้าไซ เป็นต้น

 

 

การป้องกันกำจัด

 

1.ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 กข29 และ กข31 เป็นต้น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง กข33 และหางยี 71 เป็นต้น

2.ควรไถกลบและหมักตอซังย่อยสลายให้สมบูรณ์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดิน ไม่รีบทำนาเพื่อไม่ให้ข้าวเกิดอาการเมาตอซัง

3.คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ หรือคาร์เบนดาซิมผสมกับแมนโคเซบ อัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

4.ถ้าพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาลในระยะข้าวแตกกอหรืออาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธงในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง และสภาพอากาศมีฝนตกต่อเนื่อง หรือมีความชื้นสูง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคเมล็ดด่างได้ ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม แมนโคเซบ คาร์เบนดาซิมผสมกับแมนโคเซบ หรือ โพรพิโคนาโซล เป็นต้น ตามอัตราที่ระบุ

5.การใส่ปุ๋ยที่มีธาตุซิลิกอนลงไปในดินที่ขาดแคลานจะช่วยลดความรุนแรงของโรคจุดสีน้ำตาลและเพิ่มผลิตข้าวได้

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า