โรคใบติดของทุเรียน - ICPLADDA

โรคใบติดของทุเรียน

19308 จำนวนผู้เข้าชม

โรคใบติดทุเรียน
โรคใบติดของทุเรียน 
สาเหตุเกิดจาก
     เชื้อรา Rhizoctonia solani

ลักษณะอาการโรค
      ใบที่เป็นโรคจะมีจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเป็นสีน้ำตาลอ่อน และแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้น อาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบ กลางใบหรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดติดอยู่เป็นกระจุก และเส้นใยของเชื้อราสามารถลุกลามทำลายใบและกิ่งที่อยู่ติดกันได้

การแพร่ระบาด  
      เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากกิ่ง ก้าน ใบทุเรียนที่อยู่ในแปลง และแพร่ระบาดเข้าทำลายช่วงระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงในตกชุกหรือมีความชื้นสูง
โรคใบติด-02
เชื้อสาเหตุของโรคใบติดทุเรียน
การป้องกันกำจัด 
  1. ตัดแต่งใบแก่ด้านล่างทรงพุ่มไม่ให้ทึบ และรวมทั้งแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดสามารถส่องทะลุลงมาในทรงพุ่มได้บ้าง
  2. หมั่นสำรวจโรคในช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการระบาด  เมื่อพบอาการของโรคระยะเริ่มต้น ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเก็บออกไปเผาทำลาย
  3. เก็บรวบรวมกิ่ง ใบที่เป็นโรคบริเวณโคนต้นออกไปเผาทำลายนอกแปลง
  4. เมื่อพบการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอย
  5. การพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด วาลิดามัยซิน 3 % เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 10 วัน
อ้างอิง: https://www.doa.go.th/hort/?p=148
””

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า