5 แมลงศัตรูข้าวระยะต้นกล้า - ICPLADDA

5 แมลงศัตรูข้าวระยะต้นกล้า

7733 จำนวนผู้เข้าชม

    “ข้าว” พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่แมลงศัตรูพืชก็ไม่น้อยเช่นกัน ทำความเสียหายได้ทุกระยะของข้าว

วันนี้ ไอ ซี พี ลัดดา มีความรู้เรื่องแมลงศัตรูข้าวในระยะต้นกล้ามาฝากกันครับ เห็นแมลงพวกนี้ในนาข้าวแล้ว อย่าได้มองผ่านเลย

เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อนตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน

ลักษณะการทำลายและการระบาด

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศั ยอยู่ตามซอกใบระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

    มวนง่าม Tetroda denticulifera (Berg) มีวงจรชีวิตมี 3 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย ระยะไข่เฉลี่ย 6-8 วัน ระยะก่อนวางไข่เฉลี่ย 35-43 วัน วางไข่เฉลี่ย 8-11 ครั้ง เพศเมียวางไข่เป็นแถวตามแนว ใบข้าวเฉลี่ย 150-200 ฟอง ต่อตัว ฟักเป็นตัวอ่อนเฉลี่ย 89-94% ระยะตัวอ่อนนาน 60-66 วัน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศ เมียนาน 90-120 วัน และ 70-125 วัน

ลักษณะรูปร่าง

มวนง่ามมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบง่าย ตัวอ่อนวัยแรกมีลักษณะลำตัว กลมป้อม ส่วนบนนูนโค้งคล้ายด้วงเต่า  มีลวดลายเป็นจุดสีดำ 4 จุด ลำตัวสีเหลืองอ่อน หนวด ตา และขาสีดำเมื่อเข้าสู่วัยที่ 2, 3, 4 และ 5 รูปร่างจะเปลี่ยนเป็นแบนราบ  ขอบรอบลำตัวมีลักษณะปลายแหลมหยักซิกแซก และมีหนามแหลมเป็นง่ามยื่นออกมาที่ส่วนหัว และอกปล้องแรก สีของลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีครีม ขนาดของลำตัวจะพัฒนาขึ้นตาม จำนวนการลอกคราบ และเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้า ยเป็นตัวเต็มวัย เพศผู้มีลักษณะลำตัวแบนสีเทาดำ ศีรษะยื่นออกไปเป็นง่ามปลาย แหลม 2 ง่าม อกปล้องแรกมีง่ามแหลมยื่นออกไปทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ขา หนวดและตาสีดำ แผ่นปิดด้านบนส่วนอก (Scutellum) สีเทาดำ ปีกเป็นสีเดียวกับลำตัว ปลายปีกสีขาว ขอบด้านข้างลำตัวส่วนท้องเป็นสีส้ม ลำตัวยาวประมาณ 1.6 เซนติเมตร กว้าง 0.7 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่าง เหมือนเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่ายาวประมาณ 2 เซนติเมตร กว้าง 0.9 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียใหม่ๆ ลำตัว และ Scutellum เป็นสีเหลือง หลังจากนั้นประมาณ 5-10 วัน สีของลำตัวจะเข้มขึ้นเป็นสี น้ำตาลปนเทา ปีกสีเดียวกับลำตัว ตัวเต็มวัยมีต่อมกลิ่น (Scent gland) ทำให้แมลงมีกลิ่นเหม็น

พฤติกรรมของมวนง่ามเคลื่อนที่ช้าและชอบเกาะนิ่งอยู่ตาม ส่วนต่างๆของต้นข้าวทำลายข้าวโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากลำต้นและใบ ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการเหลืองเหี่ยวเฉาและแห้งตาย ตัวเต็มวัยของมวนง่ามมีขนาด ใหญ่ เมื่อมีแมลงจำนวนมากเกาะตาม ลำต้นและใบข้าวทำให้ใบและลำต้นหักพับ เกิดความเสียหายมากในระยะกล้าและหลังปักดำใหม่

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

มวนง่ามมีปากแบบเจาะดูด มี Stylet พับอยู่ใต้ส่วนหัว มวนง่ามทุกวัยสามารถทำลายข้าวโดยใช้ Stylet เจาะลงไปในใบและลำต้นข้าวแล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้นข้าว ทำให้ลำต้นและใบเหี่ยวเฉา นอกจากนี้ตัวเต็มวัยซึ่งมีข นาดใหญ่ เมื่อไปเกาะตามลำต้นและใบเป็นจำนวนมาก สามารถทำให้ลำต้น และใบในระยะกล้าและหลังปักดำใหม่หักพับเสียหายมาก

มวนง่ามทำลายข้าวโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นและใบ ทำให้ต้นข้าวแห้งตาย พบการระบาดทำลายในฤดูนาปรัง รุนแรงกว่าในฤดูนาปี และความเสียหายจะพบมากในระยะกล้าและหลังปักดำใหม่

    หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว Hydrellia spp. ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันชนิดหนึ่งลำตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีสีเทาอ่อน เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บนใบข้าว เฉลี่ย 100 ฟอง ในข่วงเวลา 3-7 วัน ไข่มีลักษณะเรียว ยาว สีขาว ระยะไข่นาน 2-6 วัน ตัวหนอนหลังฟักจากไข่ใหม่ๆ มีลักษณะใสหรือสีครีมอ่อน เมื่อโตขึ้นมีสีเหลืองไม่มีขา ระยะหนอนนาน 10-12 วัน ระยะดักแด้นาน 7-10 วัน ตัวเต็มวัยมีความว่องไวในตอ นกลางวัน บินเข้าหาแปลงข้าวที่ปลูกใหม่และมีน้ำขังโดยอาศัยแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากผิวน้ำและจะเกาะพักอยู่ที่ใบข้าวใกล้ผิวน้ำ หลังจากที่ใบข้าวแผ่ปกคลุมทั่วแปลงแล้วจะไม่พบตัวเต็มวัย

ลักษณะการทำลายและการระบาด

ตัวหนอนกัดกินภายในใบข้าวที่ยังอ่อนและใบม้วนอยู่ใบที่ถูกทำลายเมื่อเจริญต่อมาจะเห็นเป็นรอยฉีกขาดคล้าย ถูกกัด ขอบใบข้าวที่ถูกทำลายมีสีขาวซีดสภาพที่ระบาดรุนแรงต้นข้าวที่ถูกทำลายจะแคระแกร็นแตกกอน้อย มักพบทำลายในพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะในสภาพที่มีน้ำขัง

   ผีเสื้อหนอนกระทู้กล้า Spodoptera mauritia (Boisduval) เป็นผีเสื้อกลางคืนปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล ความกว้างของปีกกลางออกประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ปีกคู่หลังสีขาว บินเก่งสามารถอพยพได้ไกลเป็นระยะทางหลายสิบ หรือหลายร้อยกิโลเมตร วางไข่เป็นกลุ่มบริเวณยอดอ่อนของข้าว ตัวหนอนมีสีเทาถึงเขียวแกมดำ ด้านหลังมีลายตามความยาวของ ลำตัวจากหัวจรดท้าย แต่ละปล้องมีจุดสีดำ ตัวหนอนฟักจากไข่ช่วงเช้าตรู่และรวมกลุ่มกันกัดกินส่วนปลายใบข้าว กลางวันจะหลบอยู่ในดินใต้เศษใบพืชในพื้นนาที่แห้ง บางส่วนอยู่บนต้นข้าวส่วนที่อยู่เหนือน้ำในนาที่ลุ่ม ชอบเข้าดักแด้ในดินหรือบนต้นหญ้าตามขอบแปลง ตัวหนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร กว้าง 5-6 มิลลิเมตร ชีพจักรจะแตกต่างกันตามพื้นที่ระบาด

ลักษณะการทำลายและการระบาด 

โดยทั่วไปหนอนจะทำลายข้าวใน เวลากลางคืนหนอนระยะแรกจะกัดกินผิวข้าวเมื่อโตขึ้นจะกัดกินกัดกินทั้งใบ และต้นข้าวเหลือไว้แต่ก้านใบตัวหนอนจะกัดกินต้นกล้าระด ับพื้นดินนาข้าวจะถูกทำลายแ หว่งเป็นหย่อมๆและอาจเสียหายได้ภายใน 1-2 วัน ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หนอนมีการเคลื่อนย้ายเป็นกลุ่มคล้ายกองทัพจากการขยายพันธุ์หลายๆรุ่นบนวัชพืชพวกหญ้าและเคลื่อนเข้าสู่แปลงกล้าและนาข้าวจากแปลงหนึ่งไปยังอีกแปลงหนึ่ง มักพบระบาดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะหลังจากผ่านช่วงแล้งที่ยาวนาน แล้วตามด้วยฝนตกหนักการระบาดจะรุนแรงเป็นบางปีบางพื้นที่

   เพลี้ยกระโดดหลังขาว Sogatella furcifera (Horvath) เป็นแมลงจำพวกปากดูดตัวเต็มวัยคล้ายกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ปีกมีจุดดำที่กลางและปลายปีก และมีแถบสีขาวตรงส่วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ลำตัวสีเหลือง มีแถบสีขาวเห็นชัดอยู่ตรงส่ วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง มีทั้งชนิดปีกสั้นและปีกยาว  เพศผู้พบเฉพาะชนิดปีกยาวลำตัวยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร เพศเมียยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร วางไข่ในใบและกาบใบข้าวโดยจะวางไข่อย ู่เหนือกว่าระดับที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลวางไข่ เพศเมียสามารถวางไข่ได้ 300-500 ฟองในชั่วชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ไข่มีลักษณะและขนาดเหมือนกับไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่มีเปลือกหุ้มไข่ยาวกว่า ตัวอ่อนมีจุดดำและขาวที่ส่วนท้องด้านบนต่างจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บริเวณกอข้าวเช่นเดียวกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแต่ตัวเต็มวัยชอบอาศัยอยู่บริเวณกลางต้นข้าวเหนือระดับที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่

ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยกระโดดหลังขาวตัวเต็ม วัยเข้ามาในแปลงข้าวช่วง 30 วันแรกหลังจากเป็นต้นกล้า โดยจะอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าว ใน 1 ฤดูปลูกสามารถเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้น้อยชั่วอายุกว่าเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาล และชอบดูดกินน้ำเลี้ยงบนข้าวต้นอ่อน และขยายพันธุ์เป็นพวกปีกยาว  จากนั้นจะอพยพออกจากแปลงข้าวก่อนที่ข้าวจะออกดอกกับดักแสงไฟสามารถดักจับตัว เต็มวัยได้เป็นจำนวนมาก เพลี้ยกระโดดหลังขาวพบเป็นแมลงประจำท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค เหนือตอนบนมากกว่าภาคกลาง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดหลังขาวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากโคนกอข้าวต้นข้าวที่ถูกทำลายใบมีสีเหลืองส้มซึ่งต่างจากต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายจะแสดงอาการใบสีน้ำตาลแห้ง เมื่อมีปริมาณแมลงมาก ต้นข้าวอาจจะถูกทำลายจนเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การระบาดค่อนข้างกระจายสม่ำเสมอเป็นพื้นที่กว้าง ซึ่งแตกต่างจากเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาลที่การระบาดทำลายข้าวจะเป็นหย่อมๆ พบระบาดตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะออกรวง ยังไม่มีรายงานว่าเป็นแมลงพาหะนำโรคไวรัสมาสู่ต้นข้าว

ต้นกล้า ศัตรูพืช แมลง แมลงศัตรูพืช

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า